เอกอัครราชทูต อันวารุล เค. เชาว์ธุรี อดีตรองเลขาธิการและผู้แทนระดับสูงของสหประชาชาติ และผู้ก่อตั้ง The Global Movement for The Culture of Peace กล่าวว่า "ไม่มีใครอีกแล้วที่ตอกย้ำบทบาทและความรับผิดชอบของสหประชาชาติอย่างต่อเนื่อง ไม่ลดละ และมากมายมาเป็นระยะเวลายาวนานอย่างที่ประธานอิเคดะทำ โดยตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ข้อเสนอเพื่อสันติภาพประจำปีของเขาประกอบด้วยแนวคิดและคำแนะนำอันหลักแหลมเพื่อประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ ผมรู้สึกมีกำลังใจที่เขาเน้นย้ำว่าการมอบพลังให้แก่ผู้คนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ"
ในประเด็นการตอบสนองของมนุษยชาติต่อสถานการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่นั้น อิเคดะได้เรียกร้องให้สร้างความสามัคคีโดยตระหนักถึงความเชื่อมโยงของมวลมนุษยชาติ และกล่าวว่า "ผมเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางของประวัติศาสตร์ไม่ใช่ไวรัส แต่เป็นมนุษย์อย่างพวกเรานั่นเอง"
เขาเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการแก้ปัญหาความไม่เสมอภาคอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โรคระบาด โดยระบุว่าความเสมอภาคทางเพศและการมอบพลังให้แก่สตรีคือกุญแจสำคัญในการก้าวข้ามวิกฤตและสร้างประชาคมโลกที่ยึดมั่นในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ส่วนในประเด็นสิ่งแวดล้อมนั้น อิเคดะได้เรียกร้องให้มีความพยายามร่วมกันมากขึ้นในการปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย โดยกล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการแปรสภาพเป็นทะเลทราย มีความเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง และทางออกของปัญหาเหล่านี้ก็เชื่อมโยงกันเช่นเดียวกัน"
นอกจากนี้ เขายังเสนอให้จัดตั้งสภาเยาวชน เพื่อให้ข้อเสนอแนะแก่สหประชาชาติในเรื่องของการอนุรักษ์ "ทรัพยากรส่วนรวม" อย่างครอบคลุม ซึ่งถือเป็นทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นสำหรับมวลมนุษยชาติ
อิเคดะมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะชะงักงันที่มีต่อการศึกษา จึงแนะนำให้การประชุม UN Transforming Education Summit ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนกันยายนนี้ มุ่งเน้นไปที่เรื่องของการศึกษาในสถานการณ์ฉุกเฉิน การศึกษาที่ทั่วถึง และการเรียนรู้เพื่อเป็นพลเมืองโลก
ก่อนที่จะถึงการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ หรือ UN Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons (TPNW) ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม อิเคดะได้เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนของการ "ลบล้าง" ความเชื่อที่ว่าการพึ่งพาอาวุธนิวเคลียร์จะทำให้มีความมั่นคงปลอดภัย พร้อมกับเรียกร้องอย่างจริงจังให้ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่พึ่งพาอาวุธนิวเคลียร์ และประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ เข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ โดยกล่าวว่า "หลายประเทศที่ตอนนี้ยังรู้สึกว่าไม่สามารถลงนามหรือให้สัตยาบันในสนธิสัญญา TPNW ได้ เริ่มรับรู้ในมุมมองบวกเกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญที่แท้จริงของสนธิสัญญาฉบับนี้ ผมมั่นใจว่าสิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดพลังและเจตจำนงทางการเมืองที่จำเป็นต่อการปิดฉากยุคของอาวุธนิวเคลียร์"
สมาคมสร้างคุณค่า (Soka Gakkai) คือเครือข่ายชุมชนชาวพุทธระดับโลกที่มุ่งส่งเสริมสันติภาพ วัฒนธรรม และการศึกษา ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีของชีวิต ส่วนสมาคมสร้างคุณค่าสากล (Soka Gakkai International: SGI) เป็นสมาคมระดับสากลและองค์กรนอกภาครัฐที่มีสถานะเป็นที่ปรึกษาของ UN ECOSOC ทั้งนี้ ไดซาขุ อิเคดะ ประธานสมาคมสร้างคุณค่าสากล ได้เผยแพร่ข้อเสนอเพื่อสันติภาพในวันที่ 26 มกราคมของทุกปี เนื่องในวาระครบรอบการก่อตั้งสมาคมสร้างคุณค่าสากลในปี 1975
ที่มา: สมาคมสร้างคุณค่า
ติดต่อ:
โจน แอนเดอร์สัน
ฝ่ายข้อมูลสาธารณะระหว่างประเทศ
สมาคมสร้างคุณค่า
โทร: +81-80-5957-4733
อีเมล: anderson[at]soka.jp
AsiaNet 94228