JGSEE จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และเผยแพร่ผลการศึกษา - พลวัตของการปล่อย PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง

จันทร์ ๓๑ มกราคม ๒๐๒๒ ๑๐:๓๘
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวต้อนรับในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และเผยแพร่ผลการศึกษาเพื่อรับฟังความคิดเห็น เรื่อง "พลวัตของการปล่อย PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง" ในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้โครงการ การจัดทำแนวทางการจัดการฝุ่น PM2.5 โดยการวิจัยการเกิดอนุภาคทุติยภูมิจากการใช้ระบบแบบจำลองการจัดการคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภาคกลาง จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สนับสนุนโครงการโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน
JGSEE จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และเผยแพร่ผลการศึกษา - พลวัตของการปล่อย PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง

รศ. ดร.สาวิตรี การีเวทย์ ประธานสายวิชาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มจธ. หัวหน้าคณะวิจัยโครงการนำเสนอผลงานการศึกษาด้าน "พลวัตของการปล่อย PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง" ที่ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาพลวัตของการระบายมลพิษทางอากาศ PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิมีบทบาทสำคัญ ในการจัดทำแนวทางและมาตรการในการลดปริมาณ PM2.5 ในบรรยากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ ในการศึกษาพลวัตดังกล่าว ระบบบัญชีการระบายมลพิษทางอากาศ (Emission Inventory) ที่มีความละเอียดสูง ในส่วนการกระจายตัวเชิงพื้นที่ (Spatial) และ เชิงช่วงเวลา (Temporal) การปล่อยจากแหล่งกำเนิด เป็นเครื่องมือและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่สุด โดยระบบฯ ที่คณะวิจัยได้พัฒนาขึ้นสำหรับการระบายมลพิษทางอากาศในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) ช่วยให้เข้าใจบทบาทของแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศในเขตกรุงเทพฯและภาคกลาง ที่มีต่อสถานการณ์วิกกฤตมลภาวะจาก PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ซึ่งจะช่วยให้การวางแผนและมาตรการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ระบบ Emission Inventory ดังกล่าว ยังสามารถนำมาใช้ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดเดียวกันกับมลพิษฝุ่น PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิ ช่วยให้สามารถประเมินผลประโยชน์ร่วมที่เกิดขึ้นของการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ และวางแผนและนโยบายที่นำประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปีค.ศ. 2050 และ Climate Neutrality ในปีค.ศ. 2065 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 170 คน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในภาครัฐและเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย นับเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนในประเด็นของ PM 2.5 ที่เป็นปัญหาของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี โดยองค์ความรู้ ผลการศึกษาจากงานวิจัย และทุกความเห็น จะถูกนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัย วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ฝุ่นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลในอนาคตได้อย่างตรงจุดต่อไป

ที่มา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

JGSEE จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และเผยแพร่ผลการศึกษา - พลวัตของการปล่อย PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ