"ยูนิเวอร์ซัล โรบอท" เผยรายได้ทั้งปีทุบสถิติใหม่กว่า 300 ล้านดอลลาร์

พุธ ๐๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๒ ๐๘:๐๐
ยูนิเวอร์ซัล โรบอท (Universal Robots) บริษัทสัญชาติเดนมาร์กผู้ผลิตหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอท) ประกาศทำรายได้ทั้งปีทุบสถิติใหม่ 311 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับปี 2563 และเพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบกับปี 2562 ก่อนเกิดโรคระบาด
ยูนิเวอร์ซัล โรบอท เผยรายได้ทั้งปีทุบสถิติใหม่กว่า 300 ล้านดอลลาร์

คุณคิม โพลเซ่น (Kim Povlsen) ประธานบริษัทยูนิเวอร์ซัล โรบอท กล่าวว่า

"ยูนิเวอร์ซัล โรบอท ผ่านพ้นปีที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี สำหรับบริษัทที่ผลิตฮาร์ดแวร์ล้ำสมัยที่มีมาตรฐานคุณภาพสูงเช่นเราแล้ว การเติบโตเช่นนี้จำเป็นต้องอาศัยความทุ่มเทอย่างมากจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทีมผลิตของเราในเดนมาร์กได้สร้างสถิติภายในขึ้นใหม่ในแง่ของจำนวนโคบอทที่ผลิตได้ โดยในไตรมาสสี่นั้นผลิตโคบอทได้ถึง 400 ตัวในสัปดาห์เดียว ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านซัพพลายเชนของเราก็ทำงานอย่างหนัก เพื่อให้ธุรกิจของเราดำเนินไปได้อย่างราบรื่นแม้มีปัญหาท้าทายด้านซัพพลายมากมายทั่วโลก"

รายได้ในไตรมาสสี่ก็ทำสถิติใหม่เช่นกัน โดยเพิ่มขึ้น 22% เมื่อเทียบกับไตรมาสสี่ของปี 2563 และเพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบกับไตรมาสสี่ของปี 2562 ซึ่งคุณคิม โพลเซ่น กล่าวเพิ่มเติมว่า "การเติบโตของเราได้รับแรงขับเคลื่อนจากเทรนด์ระยะยาวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนแรงงานและการที่ระบบอัตโนมัติเป็นที่ยอมรับมากขึ้นว่าช่วยเพิ่มผลิตภาพได้ โดยนอกเหนือจากการที่เราเข้าถึงลูกค้ารายใหม่ ๆ แล้ว ลูกค้าเดิมของเราก็กลับมาซื้อซ้ำ โดยลูกค้าเหล่านี้เป็นผู้ผลิตที่ต้องการเพิ่มจำนวนโคบอทหลังตระหนักถึงข้อดีที่เทคโนโลยีนี้มอบให้"

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท คาดการณ์ว่าบริษัทจะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2565 โดยคุณคิม โพลเซ่น กล่าวอธิบายว่า "โคบอทน่าจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น และอีโคซิสเต็มอันเป็นเอกลักษณ์ของเราก็ขยายตัวขึ้นตามด้วย นวัตกรรมโคบอทเป็นสิ่งที่จะทำให้เราเติบโตอย่างโดดเด่น เมื่อนวัตกรรมเหล่านี้ทำงานร่วมกับบริษัทอิสระกว่า 1,000 ราย ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน ชุดเครื่องมือ และแอปพลิเคชัน ไปจนถึงผู้วางระบบและผู้จัดจำหน่ายที่ได้รับการรับรอง"

เกี่ยวกับยูนิเวอร์ซัล โรบอท

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงวิธีทำงาน โดยใช้แพลตฟอร์มหุ่นยนต์ล้ำสมัยที่บริษัทได้พัฒนาขึ้น

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท ได้เปิดตัวหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอท) ที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปี 2551 และนับตั้งแต่นั้นทางบริษัทก็ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ต่อยอดขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น UR3e, UR5e, UR10e และ UR16e ซึ่งรองรับขอบข่ายงานและเพย์โหลดได้หลากหลาย โคบอทแต่ละรุ่นมีอุปกรณ์ปลายแขน ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์เสริม และชุดแอปพลิเคชันรองรับมากมายในอีโคซิสเต็ม UR+ เพื่อเปิดโอกาสให้นำโคบอทไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ และยังนำไปพัฒนาใหม่เพื่อใช้กับงานอื่น ๆ ได้ด้วย

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท เป็นบริษัทในเครือเทอราไดน์ อิงค์ (Teradyne Inc.) โดยมีสำนักงานใหญ่ในเมืองโอเดนเซ ประเทศเดนมาร์ก และมีสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี สาธารณรัฐเช็ก โรมาเนีย รัสเซีย ตุรกี จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเม็กซิโก

ยูนิเวอร์ซัล โรบอท ได้ติดตั้งโคบอทมาแล้วกว่า 50,000 ตัวทั่วโลก

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1740291/UR_President_Kim_Povlsen.jpg
คำบรรยายภาพ - คุณคิม โพลเซ่น ประธานบริษัทยูนิเวอร์ซัล โรบอท

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1740292/UR_2021_Machine_Tending_5.jpg
คำบรรยายภาพ - หุ่นยนต์หยิบจับจากยูนิเวอร์ซัล โรบอท



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ยูนิเวอร์ซัล โรบอท เผยรายได้ทั้งปีทุบสถิติใหม่กว่า 300 ล้านดอลลาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ