กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในระดับครัวเรือน พร้อมทั้งน้อมนำแนวพระราชดำริ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือนทั่วประเทศ เน้นการพึ่งตนเอง และความสามัคคีของคนในชุมชน เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รวมถึงได้มีการขยายผลสร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านให้ยั่งยืน อีกทั้งยังสร้างรายได้และเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีและความเกื้อกูล ของคนในชุมชนมีเป้าหมายดำเนินการทุกหมู่บ้านทุกครัวเรือน
เพื่อเป็นการต่อยอดและขยายผลการดำเนินงานโครงการฯ สำนักงานพัฒนาชุมชนจึงได้ขับเคลื่อนการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯสยามบรมราช สร้างความมั่นคงทางอาหาร สู่ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทาง รอบ 2 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ด้วยการดำเนินงาน 6 กระบวนงาน ได้แก่ 1)ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง 2)ผู้นำต้องทำก่อน 2)นักพัฒนา 3 ประสานกลไกการ ขับเคลื่อน 4)ทุกครัวเรือนคือคลังอาหาร ทุกหมู่บ้านคือศูนย์แบ่งปัน 5)ทักษะชีวิตวิถีใหม่ เยาวชนไทยสร้างอาหารเป็น 6)ถอดรหัสการ พัฒนา : ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองในการสร้างความมั่นคงทาง อาหารอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการต่อยอดและขยายผลการดำเนินงานโครงการปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับ หมู่บ้าน/ชุมชน ให้มีความยั่งยืน และเพื่อสร้างกระแสการปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวอย่าง แก่ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี มีครัวเรือนปลูกพืชผักประจำครัวเรือนทั้งสิ้น จำนวน 378,178 ครัวเรือน มีการสร้างชุมชนสีเขียวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ครัวเรือนจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน จำนวน 378,178 ครัวเรือน และมีการจัดตั้งศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์ จำนวน 224 ตำบล รวมทั้งยังก่อให้เกิดนวัตกรรมแห่งอาหาร อาทิ เมนูอาหารรักษ์สุขภาพ ตลาดนัดสีเขียว ผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นบ้านทำให้ชุมชน เกิดความสามัคคี มีวิถีพอเพียง เกื้อกูล สามารถดูแลช่วยเหลือ และแบ่งปันกัน
ที่มา: อิมเมจ โซลูชั่น