บพข. เผยงานวิจัยจากความร่วมมือของ 6 มหาวิทยาลัย เรื่องการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นครึ่งโดสสามารถกระตุ้นภูมิได้เท่ากับเต็มโดส

อังคาร ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๒ ๑๔:๐๗
ดร.สิรี ชัยเสรี ผอ.บพข. เผยงานวิจัยจากความร่วมมือของ 6 มหาวิทยาลัย เรื่องการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นครึ่งโดสสามารถกระตุ้นภูมิได้เท่ากับเต็มโดสและการสนับสนุนงานวิจัยสำคัญเพื่อแก้วิกฤตโควิดและการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการแพทย์และสุขภาพในหลายโครงการ
บพข. เผยงานวิจัยจากความร่วมมือของ 6 มหาวิทยาลัย เรื่องการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นครึ่งโดสสามารถกระตุ้นภูมิได้เท่ากับเต็มโดส

รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพข. กล่าวว่า บพข. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยด้านสุขภาพและการแพทย์ ซึ่งมีส่วนร่วมในการลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยสำคัญอย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด รวมถึงได้มีการสร้างความร่วมมือระหว่างแพทย์และนักวิจัยที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยและจากหลายสถาบันในหลายประเทศ อาทิ ประเทศบราซิล ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเนเธอแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เกิดการศึกษาวิจัยในโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการศึกษาวิจัยในเรื่องวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือ โครงการพัฒนาชุดตรวจโควิด-19 ในหลายโครงการ อาทิ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันและความปลอดภัยของการฉีดวัคซีนโดสที่สามด้วยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า และบริษัทไฟเซอร์ ในผู้ใหญ่คนไทยที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดเชื้อตายของบริษัทซิโนแวคมาแล้วจำนวนสองโดส โดยโครงการนี้ บพข. ได้ให้ทุนสนับสนุนและร่วมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และ 6 มหาวิทยาลัย ได้แก่ บริษัท คลินิเซอร์ จำกัด คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลและคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โครงการวิจัยนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างนักเศรษฐศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์สุขภาพและแพทย์ เพื่อศึกษาถึงหลักเศรษฐศาสตร์ ในการเข้าถึงวัคซีนของประชากรโลก โดยได้มีการประชุมร่วมกันในการประชุมเชิงปฏิบัติการ Testing Fractional Doses of COVID 19 Vaccines เพื่อหาคำตอบในการจัดการด้านวัคซีนสำหรับโรคโควิด- 19 เมื่อเดือนสิงหาคม 2564 โดยการนำของ Prof.Michael Kremer นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลปีคศ.2019 จึงเป็นที่มาของการวิจัยและประเมินการฉีดวัคซีนกระตุ้นแบบเต็มโดสและครึ่งโดสในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนที่ โดย บพข. ได้สนับสนุนงบประมาณในการศึกษาวิจัยดังกล่าว และผลการวิจัยนี้จะช่วยสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ในการกำหนดการให้วัคซีนกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานที่เหมาะสม เพื่อป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนมากขึ้นในภาวะที่มีทรัพยากรและจำนวนวัคซีนจำกัด

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงพรรณี ปิติสุทธิธรรม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยได้ให้ข้อมูลว่าการศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาการให้วัคซีนเข็มที่ 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนไฟเซอร์ในจำนวนทั้งหมด 1,230 คน ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคจำนวน 2 เข็ม โดยมีการทำการศึกษาการให้วัคซีนในขนาดครึ่งโดสจำนวน 625 คน ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหรือวัคซีนไฟเซอร์ครึ่งโดส (315 คน) ว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันมีระดับที่ไม่ด้อยกว่าการให้วัคซีนในขนาดเต็มโดสหรือไม่ อีกทั้งเพื่อให้ทราบระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้วัคซีนเข็มที่ 3 หลังจากได้รับวัคซีนซิโนแวคจำนวน 2 เข็ม ในช่วงเวลา 2-3 เดือน, 3-4 เดือน และมากกว่า 4-6 เดือน รวมถึงการประเมินความปลอดภัยของการรับวัคซีนเข็มที่ 3 แบบเต็มโดสและครึ่งโดส เพื่อให้มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือและเป็นไปตามมาตรฐานสากล อีกทั้งช่วยให้มีข้อมูลในการบริหารจัดการในการให้วัคซีนแก่ประชาชนได้อย่างเหมาะสม ซึ่งผลการศึกษาวิจัยจากการวิเคราะห์กึ่งกลางดูภูมิ 28 วันหลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 พบว่าการให้วัคซีนเข็มที่ 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหรือวัคซีนไฟเซอร์ขนาดเต็มโดส สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานได้สูงถึงประมาณ 170-300 เท่า ขึ้นอยู่กับชนิดวัคซีน และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนขนาดครึ่งโดสมีภูมิคุ้มกันไม่ด้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนขนาดเต็มโดส ไม่ว่าจะได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าหรือวัคซีนไฟเซอร์ และพบว่าการให้เข็ม 3 กระตุ้นห่างจากเข็ม 2 ของวัคซีนซิโนแวค ยิ่งห่างยิ่งดี โดยกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็ม 3 ห่างกันเท่ากับ 4 เดือน ขึ้นไปถึง 6 เดือน จะสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับการให้เข็ม 3 หลัง 2-3 เดือน หรือ 3-4 เดือน อย่างมีนัยสำคัญ วัคซีนทั้ง 2 ตัวมีความปลอดภัยสูง

ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ได้ให้รายละเอียดถึงโครงการพัฒนาชุดตรวจโควิด-19 โดยเริ่มตั้งแต่มีการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ระบาดในปลายปี 2562 จนถึงต้นปี 2563 ได้เกิดความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในการวิจัยและพัฒนา Realtime -PCR แบบ Multiplex โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และบริษัท สยามบโอไซเอนซ์ จำกัด ร่วมกันพัฒนาชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 รวมถึงการปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จนสามารถผลิตชุดตรวจ Realtime-PCR แบบ Multiplex ฝีมือคนไทยที่ได้ขึ้นทะเบียน อย. และวางจำหน่ายในท้องตลาดได้ นอกจากนี้ บพข. ยังได้ให้ทุนสนับสนุน บริษัท เซโนสติกส์ จำกัด สตาร์ทอัพไทยที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดตรวจแลมป์เปลี่ยนสีสำหรับการตรวจคัดกรองโควิด-19 (Lamp Test Kit )โดยใช้ชุดน้ำยาที่พัฒนาขึ้นเองไม่ต้องพึ่งพาน้ำยาจากต่างประเทศมีต้นทุนต่ำ เป็นชุดตรวจที่รู้ผลแบบเร็วภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งมีส่วนช่วยให้การคัดกรองโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยชุดตรวจ Lamp Test Kit ดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. เรียบร้อยแล้ว Lamp Test Kit เหมาะกับการคัดกรองคนจำนวนมาก ซึ่งถูกใช้ในการระบาดระลอกที่ จ.สมุทรสาคร ที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี และที่ อ.เมือง จังหวัดสงขลา ศ.ดร.ศันสนีย์ ยังได้ให้ข้อมูลงานวิจัยเรื่องชุดตรวจโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยี CRISPR-Cas12a ซึ่งเป็นโครงการพัฒนากระบวนการผลิตในระดับใหญ่ของชุดตรวจโควิด-19 โดย บพข. ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้แก่ คณะผู้วิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพัฒนาต่อยอดต้นแบบชุดตรวจดังกล่าวเป็นการผลิตในระดับใหญ่ภายในโรงงานที่ได้มาตรฐานอีกด้วย

นอกจากนี้ แผนงานสุขภาพและการแพทย์ บพข. ยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มทักษะ (Skills) และความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยพัฒนา และผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องมือแพทย์ (Medical Devices) โดยจับมือกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพการแพทย์ จัดอบรม ISO9001 ISO170215 ISO13485 ISO14971 การเตรียมแบบคำขออนุญาตผลิตเครื่องมือแพทย์ (Common Submission Dossier Template - CSDT) ISO62304 และ ISO60601 เพื่อให้นักวิจัยพัฒนาได้มีการดำเนินการด้านการผลิตให้ได้มาตรฐานสากล และสามารถเตรียมเอกสารสำหรับขึ้นทำเบียนกับ อย. ได้

ที่มา: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

บพข. เผยงานวิจัยจากความร่วมมือของ 6 มหาวิทยาลัย เรื่องการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นครึ่งโดสสามารถกระตุ้นภูมิได้เท่ากับเต็มโดส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ