ผลสำรวจของฮันนี่เวลล์ชี้ พนักงานออฟฟิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 100% ให้ความสำคัญกับการได้รับรู้ข้อมูลการคุณภาพอากาศของอาคารที่ตั้งสำนักงาน

พุธ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๒ ๑๓:๓๐
ในตลาดทั้งหมดที่มีการสำรวจ ผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่าสุขภาพร่างกายโดยรวมที่ดีขึ้น (69%) เป็นประโยชน์อันดับสูงสุดของคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ปลอดภัย
ผลสำรวจของฮันนี่เวลล์ชี้ พนักงานออฟฟิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 100% ให้ความสำคัญกับการได้รับรู้ข้อมูลการคุณภาพอากาศของอาคารที่ตั้งสำนักงาน

ในการสำรวจความเห็นพนักงานออฟฟิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ตอบแบบสำรวจที่ทำงานในอาคารสำนักงานทั้งหมด (100%) ระบุว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ว่าจ้างของพวกเขาหรือผู้จัดการอาคารควรต้องแจ้งคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality - IAQ) ของอาคารที่ตั้งสำนักงาน โดยเป็นข้อค้นพบจากรายงานที่ฮันนี่เวลล์ (Honeywell) (Nasdaq: HON) เผยแพร่ในวันนี้ รายงานดังกล่าวนี้มีชื่อว่า "คุณภาพอากาศในที่ทำงาน: ข้อกังวลระดับโลก" ("Workplace Air Quality: A Global Concern Emerges") เป็นการนำเสนอข้อค้นพบจากการสำรวจอาคารสุขภาพดี (Healthy Building Survey) ประจำปีครั้งที่สองของฮันนี่เวลล์ ซึ่งได้สำรวจความเห็นของพนักงานจำนวน 3,000 คนที่ทำงานในอาคารที่มีพนักงาน 500 คนขึ้นไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เยอรมนี, อินเดีย, ตะวันออกกลาง, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

92% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำงานภายในอาคารพาร์ทไทม์ขึ้นไป เกือบครึ่งหนึ่ง (48%) กล่าวว่าพวกเขาทราบข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ตนทำงานอยู่เป็นอย่างดี และ 59% ระบุว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ตนทำงานอยู่ได้ด้วยตัวเอง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (58%) ระบุว่ามีการตรวจวัดคุณภาพอากาศในอาคารที่พวกเขาทำงานอยู่บ่อยครั้งหรืออย่างต่อเนื่อง แต่ถึงแม้จะทราบเช่นนั้น 69% ของผู้ตอบแบบสอบถามยังรู้สึกค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในอาคาร

แม้ว่าจะมีความรับรู้และมีการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศภายในอาคารในระดับที่ดี พนักงานออฟฟิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตอบแบบสอบถามยังจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความรู้น้อยที่สุดเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศภายในอาคาร สองในสาม (66%) ไม่สามารถระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศภายในอาคารได้อย่างถูกต้อง อย่างเช่นอุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสูงเกินค่าเฉลี่ยของโลกที่อยู่ที่ 59% ข้อค้นพบดังกล่าวนี้บ่งชี้ว่ายังมีจุดที่ผู้ว่าจ้างสามารถปรับปรุงการสื่อสารเกณฑ์การวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ตอบแบบสอบถาม 68% ระบุว่าพร้อมที่จะลาออกจากงานหากผู้ว่าจ้างไม่มีการดำเนินการเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น

พนักงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตอบแบบสอบถามได้รับการประเมินว่ามีความตระหนักรู้ถึงผลกระทบของคุณภาพอากาศภายในอาคารต่อสุขภาพและสุขภาวะของพวกเขาในระดับที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น โดย 79% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าคุณภาพของอากาศที่พวกเขาหายใจมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและสุขภาวะของพวกเขา ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก (89%) อยู่ 10% ทั้งนี้ผลประโยชน์ด้านสุขภาพที่พวกเขาให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ประกอบด้วย

- สุขภาพร่างกายโดยรวมที่ดีขึ้น (69%)
- อาการของโรคภูมิแพ้ที่น้อยลง ซึ่งส่งผลให้จามและไอน้อยลง (66%)
- สุขภาพจิตโดยรวมที่ดีขึ้น (58%)
- การสัมผัสกับสารปนเปื้อนในอากาศที่น้อยลง (56%)
- ผลิตภาพในการทำงานและการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น (46%)

ข้อค้นพบอื่น ๆ ที่สำคัญประกอบด้วย

- ด้วยการเพิ่มขึ้นของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ พนักงานออฟฟิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ (90%) มีความกังวลมากขึ้นกว่าก่อนหน้านี้เกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ตนทำงานอยู่
- เกือบสองในสาม (64%) ของพนักงานออฟฟิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อว่าการหายใจอากาศภายในอาคารส่งผลดีต่อสุขภาพน้อยกว่าอากาศภายนอกอาคาร

"การที่พนักงานส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำงานในสำนักงานอย่างน้อยพาร์ทไทม์ และแม้ว่าหลายคนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในอาคารของสำนักงานที่ตนทำงานอยู่ แต่พนักงานก็ยังต้องการข้อมูลมากกว่านี้ โดยตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของวิกฤตโรคโควิด-19 ฮันนี่เวลล์ได้ช่วยให้ลูกค้าในภูมิภาคแห่งนี้ทราบถึงแนวทางในการทำให้พนักงานกลับมาทำงานในอาคารได้อย่างปลอดภัย และในการติดตั้งเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมเพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานว่าพื้นที่ทำงานมีลักษณะที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น" นอร์ม จิลส์ดอร์ฟ (Norm Gilsdorf) ประธานบริษัทฮันนี่เวลล์ประจำภูมิภาคอาเซียนกล่าว

"ข้อค้นพบเหล่านี้บ่งชี้ว่าการสื่อสารเกณฑ์การวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารกับพนักงานควรเป็นเรื่องสำคัญระดับต้นๆสำหรับผู้ว่าจ้าง ในตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูง การแสดงถึงความพยายามในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า สามารถเป็นข้อได้เปรียบในการดึงดูดและรักษาพนักงาน ทุกการลงทุนในการยกระดับคุณภาพอากาศภายในสถานที่ทำงาน การติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศภายในอาคาร และการสื่อสารข้อมูลดังกล่าวกับพนักงานจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในเชิงกลยุทธ์" ชาราด ยาดาฟ (Sharad Yadav) ผู้จัดการทั่วไปของฮันนี่เวลล์ บิลดิ้ง เทคโนโลยีส์ (Honeywell Building Technologies) ประจำภูมิภาคอาเซียนกล่าว

โซลูชันอาคารสุขภาพดี (Healthy Buildings) ของฮันนี่เวลล์ได้มีการรวบรวมเทคโนโลยีด้านคุณภาพอากาศ ความปลอดภัย และความมั่นคงของอาคาร เข้ากับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อช่วยเจ้าของอาคารปรับปรุงปัจจัยด้านสุขภาพ การจัดการอาคารตามแนวปฏิบัติใหม่ ๆอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้อาคาร พอร์ตฟอลิโอด้านคุณภาพอากาศภายในอาคารของฮันนี่เวลล์สามารถช่วยยกระดับสุขภาวะของผู้ใช้อาคาร อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงาน และที่สำคัญคือนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การใช้งานอาคารต่างๆให้ดียิ่งขึ้น

ท่านสามารถอ่านรายงาน "คุณภาพอากาศในที่ทำงาน: ข้อกังวลระดับโลก" ฉบับเต็มได้ที่ https://buildings.honeywell.com/us/en/solutions/healthy-buildings/healthy-buildings-occupant-survey-2022?utm_source=pressrelease&utm_medium=pr&utm_campaign=healthy_buildings&utm_content=feb-occupant_survey-report 

วิธีการสำรวจข้อมูล

การสำรวจข้อมูลของฮันนี่เวลล์ดำเนินการโดยเวคฟีลด์รีเสิร์ช (Wakefield Research) (www.wakefieldresearch.com) โดยทำการสำรวจกับพนักงานจำนวน 3,000 คนที่ทำงานภายในอาคารที่มีพนักงาน 500 คนขึ้นไปใน 6 ตลาด ประกอบด้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เยอรมนี, อินเดีย, ตะวันออกกลาง, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ถึง 11 มกราคม 2565 โดยใช้คำเชิญทางอีเมลและแบบสอบถามออนไลน์

ผลของกลุ่มตัวอย่างขึ้นอยู่กับการกระจายในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ระดับการกระจายสามารถวัดได้และมีการคำนวณโดยคำนึงถึงจำนวนการสัมภาษณ์และเปอร์เซ็นต์ที่แสดงในผลลัพธ์สำหรับการสัมภาษณ์ในการศึกษาครั้งนี้โดยเฉพาะ มีโอกาส 95% ที่ผลการสำรวจจะไม่มีความคลาดเคลื่อนทั้งบวกหรือลบมากกว่า 4.4% จากผลลัพธ์ที่จะได้หากทำการสัมภาษณ์ประชากรทั้งหมดในโลกที่แทนโดยกลุ่มตัวอย่าง

เกี่ยวกับฮันนี่เวลล์ บิลดิ้ง เทคโนโลยีส์ (Honeywell Building Technologies)

ฮันนี่เวลล์ บิลดิ้ง เทคโนโลยีส์ (Honeywell Building Technologies หรือ HBT) เปลี่ยนแปลงการบริหารอาคารต่าง ๆ เพิ่อปรับปรุงคุณภาพความเป็นอยู่ของบุคลากรทุกๆคนในอาคาร เราคือบริษัทควบคุมอาคารชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจในกว่า 75 ประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายพันธมิตรทั่วโลก เจ้าของและฝ่ายจัดการอาคารพาณิชย์ต่างเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบวิเคราะห์ข้อมูลของเราในการสร้างอาคารที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพและส่งเสริมผลิตภาพในการทำงาน โซลูชันและบริการของเรามีการใช้กันในอาคารกว่า 10 ล้านแห่งทั่วโลก

ฮันนี่เวลล์ (Honeywell (www.honeywell.com)) เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำทิ่อยู่ใน Fortune 100 บริษัทมอบโซลูชันเฉพาะทางให้แก่อุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ เทคโนโลยีควบคุมสำหรับอาคารและอุตสาหกรรม และวัสดุประสิทธิภาพสูงทั่วโลก เทคโนโลยีของเราช่วยให้เครื่องบิน, อาคาร, โรงงานผลิต, ซัพพลายเชน และคนงาน สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้น เพื่อทำให้โลกของเราอัจฉริยะขึ้น, ปลอดภัยขึ้น และยั่งยืนขึ้น อ่านข่าวและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮันนี่เวลล์ได้ที่ www.honeywell.com/newsroom

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1752382/IAQ_black_screen1.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version