การศึกษาล่าสุดเผย 3 เหตุผลที่ผู้นำด้านไอซีทีขององค์กรเลือกใช้โซลูชัน POL ของหัวเว่ย

พฤหัส ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๒ ๐๙:๕๕
หัวเว่ย (Huawei) ได้มอบหมายให้ฟอร์เรสเตอร์คอนซัลติง (Forrester Consulting) ดำเนินการศึกษาวิจัยในหัวข้อผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมจากเครือข่ายแลนออปติคอลแบบพาสซีฟของหัวเว่ย (The Total Economic Impact(TM) Of Huawei Passive Optical LAN) ในงานวิจัยนี้ ฟอร์เรสเตอร์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ในการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่โซลูชัน Passive Optical LAN (POL) หรือข่ายงานเชิงแสงบริเวณเฉพาะที่แบบพาสซีฟของหัวเว่ยมีต่อองค์กรจากสามแง่มุม โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ลูกค้า

เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัล องค์กรต่าง ๆ ใช้เทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นคลาวด์คอมพิวติง บิ๊กดาต้า และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เนื่องจากการเชื่อมต่อของเครือข่ายเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับเทคโนโลยีเหล่านี้ จึงถือเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลในหลากหลายอุตสาหกรรม จากการสำรวจเชิงลึกเกี่ยวกับกรณีการประยุกต์ใช้งานในวงการอุดมศึกษา สุขภาพ อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมการผลิต การศึกษาของฟอร์เรสเตอร์พบว่าโซลูชัน POL ของหัวเว่ยได้สร้างเครือข่ายในพื้นที่ท้องถิ่นขึ้นใหม่ด้วยการเชื่อมต่อแบบใยแก้วนำแสงทั้งระบบ (full-fiber) การรองรับหลายบริการ และการนำส่งทางไกลแบบพาสซีฟ โซลูชันดังกล่าวนี้ช่วยลดการใช้พื้นที่แรงดันไฟฟ้าต่ำพิเศษ (ELV) เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการและบำรุงรักษา (O&M) และเลี่ยงการลงทุนในการก่อสร้างซ้ำ การวิเคราะห์ทางการเงินชี้ว่าสถานดำเนินงานขององค์กรที่มีจุดสารสนเทศ 6,000 จุดสามารถมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 9,596,000 เหรียญภายในห้าปี

ฟอร์เรสเตอร์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทในการวัดผลประโยชน์จากการลงทุนด้านเทคโนโลยีของกรณีศึกษา การศึกษาดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นผลประโยชน์ทางธุรกิจจากโซลูชัน POL ของหัวเว่ยสำหรับองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ที่วัดเป็นตัวเงิน ผลประโยชน์ที่ไม่ได้วัดเป็นตัวเงิน และความยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังมีการสร้างแบบจำลองทางการเงินของผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม (Total Economic Impact(TM) หรือ TEI) สำหรับองค์กรแบบผสมผสาน (composite organization) จากสถานดำเนินงานขององค์กรเพื่อวัดมูลค่าปัจจุบันสุทธิด้วย

ผลประโยชน์ที่วัดเป็นตัวเงิน:

  • การประหยัดต้นทุนในการปฏิบัติการและบำรุงรักษาเครือข่าย (O&M): การรวมระบบการบริหารจัดการอุปกรณ์ POL และการปฏิบัติการและบำรุงรักษาแบบทั้งเครือข่าย การนำส่งจากจุดหนึ่งไปยังหลายจุดผ่านอุปกรณ์แยกแสงแบบพาสซีฟ การลดจุดการบำรุงรักษา และการเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเครือข่าย 60% ให้มูลค่าปัจจุบันรวมกว่า 535,000 เหรียญภายในห้าปี
  • การประหยัดต้นทุนการขยายเครือข่าย: ประหยัดเงินลงทุนด้านการก่อสร้างได้ถึง 75% จากสถาปัตยกรรม POL ที่เรียบง่ายและเส้นใยนำแสงที่น้ำหนักเบาและยืดหยุ่น ให้มูลค่าปัจจุบันรวมกว่า 276,000 เหรียญภายในห้าปี
  • การประหยัดพื้นที่แรงดันไฟฟ้าต่ำพิเศษ: การแทนที่สวิทช์รวมชนิดแอคทีฟแบบดั้งเดิมด้วยอุปกรณ์แยกแสงแบบพาสซีฟ ให้มูลค่าปัจจุบันรวม 96,000 เหรียญภายในห้าปี

ผลประโยชน์ที่ไม่ได้วัดเป็นตัวเงิน: POL นำส่งแบบอัลตร้าบรอดแบนด์ด้วยเส้นใย โดยปรับปรุงประสบการณ์การใช้เครือข่ายในวงการการศึกษา สุขภาพ อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมการผลิต จึงช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลและการเติบโตของธุรกิจ

ความยืดหยุ่น: โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนของเส้นใย POL นั้นรักษาคุณสมบัติสำหรับการใช้งานได้นาน 30 ปี จึงช่วยหลีกเลี่ยงการลงทุนซ้ำ นอกจากนี้โซลูชัน POL ยังมีการรวมบริการในลักษณะที่มุ่งสู่อนาคต จึงช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

ในการศึกษานี้ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคและสมาชิกกรรมการบริหารของเครือรีสอร์ทท่องเที่ยวแห่งหนึ่งกล่าวว่า "หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้เครือข่าย POL ของหัวเว่ยคือ[เมื่อตอนที่เครือข่ายแบบดั้งเดิม]เกิดขัดข้องในวันเช็คเอาท์ที่มีปริมาณงานสูงสุด ซึ่ง[ได้สร้าง]ประสบการณ์ที่เลวร้ายเป็นอย่างมากให้แก่ลูกค้าของเรา"

ผู้จัดการด้านไอทีของบริษัทการผลิตแห่งหนึ่งกล่าวว่า "หน่วยเครือข่ายเชิงแสง (ONU) ของหัวเว่ยสามารถทำงานได้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส จึงรองรับสภาพแวดล้อมเชิงอุตสาหกรรมของเรา เรายังชอบใช้เครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ (PON) ด้วย"

โซลูชัน POL ของหัวเว่ยสามารถขยายเส้นใยไปยังห้องแต่ละห้อง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแต่ละเครื่อง และเครื่องจักรแต่ละเครื่องในพื้นที่การใช้งานในสภาวการณ์ต่าง ๆ ของหลากหลายอุตสาหกรรม จึงช่วยลดต้นทุนการเดินสายเคเบิล ช่วยให้มีแบนด์วิดธ์สูงและความหน่วงต่ำ และเอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับองค์กรต่าง ๆ

หมายเหตุ: ผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม (Total Economic Impact หรือ TEI) คือระเบียบวิธีวิจัยที่พัฒนาโดยฟอร์เรสเตอร์รีเสิร์ช (Forrester Research) ซึ่งช่วยบริษัทต่าง ๆ ในการสื่อสารคุณค่าที่ส่งมอบให้แก่ลูกค้า (value proposition) ของผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทกับลูกค้า นอกจากนี้ยังแสดง พิสูจน์ความถูกต้อง และสร้างผลประโยชน์ทางการเงินของโครงการไอซีทีให้แก่ผู้บริหารจัดการระดับสูงและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายหลักของธุรกิจ

งานโมบายล์เวิลด์คองเกรส บาร์เซโลนา ประจำปี 2565 (MWC Barcelona 2022) จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ถึง 3 มีนาคมในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ในงานดังกล่าว หัวเว่ยจะจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่บริเวณจัดแสดงหมายเลข 1H50 ในห้องจัดแสดงฟิร่า กรัน เวีย ฮอลล์ 1 (Fira Gran Via Hall 1) ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Huawei Enterprise at MWC 2022 | New Value Together



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version