ผศ.ดร. ธนพล วีราสา ประธานหลักสูตรไทย วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เปิดเผยว่า CMMU ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 3 ใน ASEAN จากรายงาน TOP1000: ISC World University Rankings 2021 โดย Islamic World Scientific Citation Center ด้วยการพิจารณาตัวชี้วัดคุณภาพ 5 ด้าน ดังนี้ 1) การเรียนการสอน (Teaching) การวิจัย (Research) การอ้างอิงงานวิจัย (Citations) ความเป็นนานาชาติ (International Outlook) และรายได้ทางอุตสาหกรรม (Industry Income) ขณะที่การเป็นสถาบันการศึกษาด้านการจัดการที่ได้รับรองจาก AACSB ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน 5% ของสถาบันการศึกษาทั่วโลกกว่า 17,000 แห่ง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ก็นับเป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จและความพยายามของคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ รวมถึงนักศึกษา CMMU ทุกๆ คน ที่มีสัญชาตญาณความไม่ยอมหยุดนิ่ง มุ่งมั่นพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ทันต่อโลกปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่วิทยาลัยฯ เดินหน้าลงแรงพัฒนาคือ การผลิต "ผู้เรียน" สู่ "ผู้เล่น MVP" ในด้านการจัดการสาขาต่างๆ ให้มีความเป็นสากล ตอบโจทย์ตลาด และมีความพร้อมด้านการแข่งขันในภาคธุรกิจจริง ผ่านหลักสูตรไทย ด้านการจัดการครอบคลุม 8 สาขาวิชา ได้แก่
- สาขาการจัดการธุรกิจ หลักสูตรเดียวที่จะทำให้ได้เรียนรู้และเข้าใจการบริหารธุรกิจครบทุกมิติ พร้อมเปิดโลกทัศน์ให้คนธรรมดา กลายเป็นผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารที่มีความสามารถที่ "แตกต่าง โดดเด่น และ เก่งรอบด้าน"ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรต้องปรับตัวเก่ง ผู้บริหารต้องรอบรู้ มีภาวะผู้นำ ปรับกลยุทธองค์กรเป็น จัดการความเปลี่ยนแปลง บริหารทรัพยากร ทั้งคน เงิน เวลา และเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากนักบริหารตัวจริงในองค์กรระดับแนวหน้า
- สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม เหมาะสำหรับใครที่ต้องการสร้างกิจการใหม่และอยากสืบทอดกิจการเก่าด้วยมุมมองใหม่ องค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบการคือผู้ที่ประกอบ "การณ์" ต่างๆ ขึ้นมาจนเป็นกิจการ ดังนั้นศาสตร์ความรู้ของการเป็นผู้ประกอบการนั้นจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เป็นสหวิชาการ (Multidisciplinary)
- สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร หลักสูตรออกแบบขึ้นเพื่อยกระดับบุคลากรในสายวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมและอาหารของประเทศไทยให้มีมาตรฐานและคุณค่าเพิ่ม ทั้งองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยร่วมกับพาร์ทเนอร์ 4 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข 3) สำนักงานมาตรฐานเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 4) Food Innopolis กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมศักยภาพการประกอบวิชาชีพ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
- สาขาทุนมนุษย์และการจัดการองค์กร หลักสูตรเน้นติดอาวุธให้ HR ไม่ว่าจะเป็น HR มืออาชีพ ผู้ฝึกอบรม ที่ปรึกษา หรือผู้บริหาร ด้วยความรู้แบบบูรณาการควบคู่กัน ทั้งทางธุรกิจ ความเข้าใจทางด้านการจัดการและการพัฒนาทุนมนุษย์ เพราะบุคลากรเป็นทรัพยากรและสินทรัพย์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ ดังนั้นการเรียนรู้การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ (change & disruption) จึงมีความสำคัญอย่างมาก
- สาขาการตลาด มุ่งเน้นการสร้างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สร้างทักษะในการคิดและวิเคราะห์ลูกค้า เรียนรู้กระบวนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทำตลาดค้าปลีก การแสวงหาช่องทางการตลาดใหม่ๆ การสร้าง
แบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์ การสื่อสารที่เข้าถึงตลาดและผู้บริโภค รวมถึงการนำเอาแนวคิดมาใช้ปฏิบัติในโลกการตลาดที่เป็นจริงได้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถตอบสนองกับความต้องการที่ไม่หยุดนิ่งของผู้บริโภค - สาขาการเงิน หลักสูตรเน้นการนำทฤษฎีจากระดับฐานจนถึงระดับสูงมาประยุกต์ใช้งานจริงทางธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น การบริหารทางการเงิน การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง การวิเคราะห์หลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ โดยมีการใช้แบบจำลองทางการเงิน (Financial Models) และซอฟแวร์ทางการเงินมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ทำให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รวมถึงยังครอบคลุมถึงเศรษฐมิติทางการเงินด้วย
- สาขาการจัดการและกลยุทธ์ หลักสูตรที่วางรากฐานให้แก่ผู้เรียนกำหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน เน้นที่การสร้างมูลค่าเพิ่ม การวิเคราะห์โครงสร้างธุรกิจและอุตสาหกรรม การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กร กลยุทธ์การควบรวมกิจการ กลยุทธ์การเข้าสู่ธุรกิจใหม่
กลยุทธ์การเข้าตลาดต่างประเทศ และกลยุทธ์การประสานประโยชน์ รวมไปถึงความเข้าใจในบทบาทและผลกระทบจากปัจจัยด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม - สาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ หลักสูตรการจัดการธุรกิจสุขภาพ ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและยกระดับผู้บริหารในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับสุขภาพทั้งหมดของประเทศไทยให้มีมาตรฐานและพร้อมกับการบริหารธุรกิจยุคดิจิทัล โดยร่วมมือพัฒนาหลักสูตรหลายจากภาคส่วน อาทิ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธบดี สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจะเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางธุรกิจสุขภาพ เทคนิคกับความรู้ด้านธุรกิจและการจัดการ ให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทัศนคติและทักษะที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จในธุรกิจที่กำลังเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมในโลกอนาคต
นอกจากนี้ หลักสูตรไทย (Thai Programs) ด้านการจัดการ ที่ CMMU ยังโดดเด่นด้วย 6 องค์ประกอบหลักที่จะเสริมศักยภาพให้ผู้เรียนเหนือกว่าคู่แข่งและพร้อมสู่สนามจริงอย่างเข้มข้น ดังนี้
- Practical Learning เชื่อมต่อโลกการแข่งขันด้วยการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ ผู้เรียนจะฝึกปฏิบัติจริงร่วมกับการเรียนรู้ในภาคทฤษฎีเพื่อนำไปใช้ในการทำงาน เพราะการวัดผลความสำเร็จในโลกอนาคตปัจจุบัน วัดกันที่ความสามารถในการนำเอาแนวคิดมาทำให้เกิดผลจริง
- Problem-Based Learning การเรียนรู้จากปัญหาก่อให้เกิดคำตอบที่สร้างสรรค์ ในทางธุรกิจไม่มีคำตอบสำเร็จรูปใดแก้ได้ทุกปัญหา จึงต้องบ่มเพาะให้ผู้เรียนทุกคนมีวิธีการเรียนรู้จากปัญหาและจากการทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อให้ได้คำตอบที่หลากหลายและสร้างสรรค์มากกว่าเคย
- Smart Discussion ศาสตร์และศิลป์แห่งการต่อยอดความรู้ ให้อิสระผู้เรียนในการแลกเปลี่ยนความเห็นที่ไม่ได้จำกัดอยู่ในเฉพาะชั้นเรียน แต่สามารถเรียนรู้ความคิดเห็นของคนอื่นเพิ่มได้ผ่านทางสื่อ e-Learning และศิลป์แห่งการต่อยอดความรู้อย่างไร้ข้อจำกัด เพราะการที่จะเข้าใจความเปลี่ยนไปโลกธุรกิจได้ดีคือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านการพูดคุย การโต้แย้ง เพื่อแบ่งปันในสิ่งที่เรารู้ และรับสิ่งที่ไม่เคยรู้เข้าสู่ตัวเรา
- Learning Flexibility รูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น CMMU มีวิธีการเรียนรู้หลากหลายให้แก่ผู้เรียนมากกว่าแค่เข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน แต่เป็นการผสานการเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรม การร่วมกันสร้างสรรค์ และการทำงานเป็นกลุ่มที่เอื้อให้ผู้ที่ได้เรียนเข้าใจในเนื้อหา โดยมีคณาจารย์เป็นผู้คอยสนับสนุนชี้แนะให้เกิดการเรียนรู้เพื่อทำให้เข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง
- Gurus Sharing จุดนัดพบของนักวิชาการและนักปฏิบัติ ตำราไม่เคยทำให้โลกนี้เปลี่ยนแปลงหากไม่ได้นำมาใช้จริง แต่ความรู้ที่ถูกนำไปปรับใช้ต่างหากที่ทำให้โลกของวันนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นคณาจารย์ CMMU จึงประกอบด้วยนักปฏิบัติที่ทำงานอยู่ในสภาพตลาดจริง รู้จริง และสามารถนำความรู้นั้นมาถ่ายทอดให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปใช้จริงได้
- Innovative Curriculum นวัตกรรมของหลักสูตรทางการจัดการ หลักสูตรที่เป็นนวัตกรรมไม่ได้หมายถึงหลักสูตรที่ครอบคลุมทุกอย่าง แต่เป็นหลักสูตรที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองการทำงานได้อย่างแท้จริง หลายรายวิชาของ CMMU ที่เปิดสอนจึงเป็นความรู้ที่ตลาดแรงงานต้องการแต่ยังไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในเนื้อหาของหลักสูตรของการจัดการทั่วไป เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดปัจจุบันจนถึงอนาคต
สำหรับผู้สนใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) หลักสูตรไทย และหลักสูตรนานาชาติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-206-2000 หรือทางเพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/CMMUMAHIDOL
ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์