โรงงานร่วมทุนของ "ชไนเท็ค x ชินท์" ในกัมพูชาเริ่มดำเนินการแล้ว พร้อมช่วยเหลือการพัฒนาพลังงานสีเขียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จันทร์ ๐๗ มีนาคม ๒๐๒๒ ๑๐:๔๐
ชไนเท็ค (SchneiTec) จับมือ ชินท์ (CHINT) เปิดโรงงานร่วมทุนในกัมพูชาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ โรงงานแห่งนี้จะดำเนินการปรับผลิตภัณฑ์ของชินท์ให้เข้ากับท้องถิ่นตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงการจัดส่ง พร้อมช่วยปรับปรุงเค้าโครงของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกของชินท์และขยายกำลังการผลิต ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานในกัมพูชา
โรงงานร่วมทุนของ ชไนเท็ค x ชินท์ ในกัมพูชาเริ่มดำเนินการแล้ว พร้อมช่วยเหลือการพัฒนาพลังงานสีเขียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โรงงานร่วมทุนของชไนเท็คและชินท์เป็นโรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันปานกลางแบบครอบคลุมรายแรกในจังหวัดโพธิสัตว์ของกัมพูชา โรงงานร่วมทุนแห่งนี้มีพื้นที่ 20,000 ตารางเมตรและมีการลงทุนรวม 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ มีการเสนอโครงการนี้เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 และเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน โดยใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปีในการก่อสร้างแล้วเสร็จจนเริ่มดำเนินการ จึงนับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการที่รวดเร็วของชินท์ ขณะนี้โรงงานได้เริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการ โดยส่วนใหญ่ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายขนาด 22 กิโลโวลต์, สวิตช์เกียร์, สวิตช์เกียร์เครือข่ายวงแหวนอัจฉริยะ, ตู้ตัวเก็บประจุ และผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าอื่น ๆ

ชินท์ส่งเสริมกลยุทธ์ "ปรับให้เข้ากับท้องถิ่นทั่วโลก" มาอย่างต่อเนื่อง คุณหนาน ชุนฮุย (Nan Cunhui) กรรมการผู้จัดการของ ชินท์ กรุ๊ป (CHINT Group) กล่าวว่า ชินท์ยึดมั่นในแนวทางการพัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อมเชิงลึกแบบปลายเปิดเสมอมา จึงช่วยให้บริษัทสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนได้

การถ่ายโอนการผลิตและการทำงานด้านอื่น ๆ ไปยังตลาดต่างประเทศนั้น เป็นมาตรการสำคัญในการเร่งการปรับตัวเข้าหาท้องถิ่นของชินท์ ลิลี่ จาง (Lily Zhang) กรรมการผู้จัดการและประธานบริหารของชินท์ อิเล็กทริก (CHINT Electric) และประธานระดับโลกของชินท์ กล่าวว่า "เราจะสนับสนุนการพัฒนาโรงงานในกัมพูชาอย่างเต็มที่ และส่งเสริมอุตสาหกรรมพลังงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเน้นที่ 4 ด้านหลัก ได้แก่ การผลิตและการประกอบ ส่วนประกอบหลัก ห่วงโซ่อุปทาน และการจัดการดิจิทัล"

ในฐานะที่เป็นฐานระดับโลกสำหรับการผลิตอัจฉริยะของชินท์ โรงงานในกัมพูชาแห่งนี้อาศัยทรัพยากรที่แข็งแกร่งและความได้เปรียบทางเทคโนโลยีของชินท์ กรุ๊ป และมุ่งส่งเสริมการสร้างระบบไฟฟ้าในท้องถิ่นที่ทันสมัยร่วมกับชไนเท็คที่เป็นพาร์ตเนอร์ร่วมทุน นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นมา โรงงานในกัมพูชาได้มุ่งแก้ปัญหาการพัฒนาระบบไฟฟ้าในกัมพูชาที่ไม่ทั่วถึงในปัจจุบัน โดยปรับแต่งระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ในครัวเรือนแบบไม่ใช้โครงข่ายขนาดเล็กสำหรับพื้นที่ชนบทที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เพื่อสนับสนุนไฟฟ้าและส่งเสริมการพัฒนาพลังงานสีเขียว

ชไนเท็คก่อตั้งขึ้นในปี 2558 และประสบความสำเร็จจากการมีส่วนร่วมกับหลายโครงการด้านการพัฒนาพลังงาน ปัจจุบัน ชไนเท็คเป็นผู้นำในการจัดหาโซลูชันพลังงานหมุนเวียน โดยเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชั้นนำที่สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกและแห่งที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1760227/SchneiTec_x_CHINT_Joint_Venture_Cambodian_Factory.jpg
คำบรรยายภาพ: โรงงานร่วมทุนของ "ชไนเท็ค x ชินท์" ในกัมพูชา



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ ก.พ. รฟท. จัดรถไฟส่งผู้ชุมนุมขบวนคนจนเมืองเพื่อสิทธิที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัม 4 ภาค กลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ
๒๑ ก.พ. BCPG เผยผลการดำเนินงานปี 2567 กำไรสุทธิกว่า 1,800 ล้านบาท เติบโต 65% จากปีก่อน พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลครึ่งปีหลัง
๒๑ ก.พ. เกรท นำทีมศิษย์เก่า ฟอส-แบงค์ ฉลองครบรอบ 40 ปี ม.รังสิต เปิดตัว คริส หอวัง กับบทบาท ครูผู้ฮีลใจนักศึกษา แห่งสถาบัน
๒๑ ก.พ. ธนาคารกรุงเทพ ประกาศจ่ายเงินปันผล หุ้นละ 8.50 บาท สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2567
๒๑ ก.พ. GULF เคาะแล้ว! อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้อายุ 4-10 ปี ที่ 3.00 - 3.55% ต่อปี พร้อมเสนอขายประชาชนทั่วไป 27-28 ก.พ. และ 3 มี.ค.68 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 10
๒๑ ก.พ. Selena Gomez, benny blanco, Gracie Abrams ส่งเพลงสนุกๆ โดนใจ Gen-Z Call Me When You Break Up การรวมตัวของอเวนเจอร์วงการเพลงป็อปที่ทุกคนรอคอย!
๒๑ ก.พ. MBK Care อาสาทำดี ปันน้ำใจสู่สังคม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ ปีที่ 7 ส่งมอบความสุขเพื่อผู้พิการทางสายตา พร้อมสิ่งของอุปโภคบริโภค
๒๑ ก.พ. บางจากฯ ปรับโครงสร้างธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของกลุ่มบริษัทบางจาก
๒๑ ก.พ. สวยทุกลุค ชมพู่ - อารยา ถ่ายทอดไลฟ์สไตล์ของสาว GUESS ในแคมเปญคอลเลกชัน Spring Summer 2025 สีสันแห่งฤดูกาลใหม่
๒๑ ก.พ. วช. เปิดศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตร ต้นแบบการยกระดับประสิทธิภาพภาคการเกษตรของจังหวัดกาฬสินธุ์ ณ