ทั้งนี้ กิจกรรมที่จัดขึ้นประกอบไปด้วย การเสวนาเพื่อแก้ปัญหาช้าง ในหัวข้อ "ปฏิญญาจรรยาบรรณควาญช้างไทย : อีกทางรอดของช้างไทยในอนาคต ร่วมเสวนาโดยตัวแทนจากหน่วยงานรัฐ เอกชน และควาญช้างอาวุโส และ การเสวนาเพื่อสุขภาพช้างไทย ในหัวข้อ "เทคโนโลยีช่วยช้างชราจากโรคได้อย่างไร ?" โดยมีอาจารย์สัตวแพทย์จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เข้าร่วมเสวนาให้ความรู้ในครั้งนี้ ปัจจุบันเทคโนโลยีอัลตร้าซาวด์ ถือเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่สามารถเข้าถึงได้ทั่วทุกพื้นที่ และมีความจำเป็นอย่างสูงในการรักษาสัตว์ ในด้านการรักษาช้างจึงเริ่มมีการนำอัลตราซาวด์เข้ามาเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยรวมถึงการทำงานวิจัย เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ ภายในร่างกายช้าง เพื่อให้ตรวจพบสาเหตุของการเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็วและสามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยหากผลวิจัยมีแนวโน้มที่ดีก็จะเป็นประโยชน์ เพื่อให้สัตวแพทย์ทั่วโลกสามารถใช้การอัลตร้าซาวด์มาประกอบการตรวจสุขภาพช้างอย่างสม่ำเสมอในการเฝ้าระวังโรคเชิงรุกในช้างอีกด้วย
ที่มา: ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์