วศ.อว. เสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ ต่อยอดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม

พุธ ๑๖ มีนาคม ๒๐๒๒ ๐๙:๑๙
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิด การสัมมนา เรื่อง ความรู้ความเข้าใจ และการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ได้รับเกียรติจาก รศ.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วยที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้แก่ ดร.อรกนก พรรณรักษา และ ดร.ภัทริน เกียรติกมลกุล เป็นวิทยากร มีผู้สนใจเข้าร่วมรูปแบบออนไลน์ (ZOOM) และนักวิจัยรุ่นใหม่จาก 14 หน่วยงานของกระทรวง อว. เข้าร่วม ณ ห้องประชุมภูมิบดินทร์ ชั้น 6 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ
วศ.อว. เสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ ต่อยอดการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม

นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า การสัมมนาฯในครั้งนี้ เป็นประโยชน์สำหรับนักวิทยาศาสตร์ในทุกระดับ รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ที่เห็นความสำคัญของการใช้ประโยชน์ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมฯ ซึ่งที่ประชุมของรัฐสภาได้ร่วมพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว โดยการผลักดันของ สกสว. และ สอวช. ร่วมกับหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายที่สนับสนุนให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยที่ได้รับทุนจากหน่วยงานของรัฐได้ เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยมีกลไกการบริหารและติดตามผลงานวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งมาตรการบังคับสิทธิโดยรัฐ ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้เกิดความสมดุลระหว่างประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมรวมถึงประโยชน์ส่วนรวม

ทั้งนี้ วศ มุ่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่อง พ.ร.บ. ส่งเสริมฯ เพื่อสนับสนุนเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยระหว่างหน่วยงานให้ทุนกับผู้รับทุน ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ต่อยอดการวิจัยและพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม โดยเพิ่มแรงจูงใจให้นักวิจัย ผลิตผลงานที่มีคุณภาพยกระดับงานวิจัยในของหน่วยงาน ตอบโจทย์ความต้องการของภาคผลิตและบริการ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนของประเทศ กระตุ้นให้เกิดระบบเศรษฐกิจนวัตกรรม สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พร้อมแนะนำสมาคมนักวิจัยรุ่นใหม่ Thai Young Scientists Academy (TYSA) เพื่อสร้างศักยภาพให้นักวิจัยไทยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในการแก้ปัญหาระดับชาติและระดับนานาชาติ ที่เกิดผลกระทบต่อประเทศต่อไป

ที่มา: กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย