กกพ. สร้างสมดุลภาคพลังงาน ฝ่าวิกฤตราคาพลังงานโลก

พฤหัส ๑๗ มีนาคม ๒๐๒๒ ๑๐:๒๕
"กกพ." รับมือวิกฤตการณ์ราคาเชื้อเพลิง ทยอยปรับเพิ่มค่าเอฟทีงวด พ.ค.- ส.ค. 2565 ที่ 23.38 สตางค์ต่อหน่วย บริหารจัดการต้นทุนเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าลดสัดส่วนการใช้ LNG ในช่วงที่มีความผันผวนและมีราคาสูง อันเนื่องจากวิกฤตราคาพลังงานโลก
กกพ. สร้างสมดุลภาคพลังงาน ฝ่าวิกฤตราคาพลังงานโลก

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า จากการประชุม กกพ. เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 ได้มีมติให้ปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565 โดยให้เรียกเก็บที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 23.38 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 4.00 บาทต่อหน่วย

ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อค่าเอฟทีมาจากผลกระทบสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งส่งผลต่อวิกฤตราคาพลังงานโลกเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำให้ กกพ. ต้องปรับสมมุติฐานการประมาณการ ค่าเอฟทีใหม่ให้สะท้อนราคาเชื้อเพลิงในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมจากสถานการณ์ที่ก๊าซธรรมชาติ (LNG) ในอ่าวไทยลดลงในช่วงปลายสัมปทาน

"ประมาณการค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นส่งผลให้ประมาณการค่าเอฟที ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2565 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 129.91 สตางค์ต่อหน่วย และหากพิจารณาภายใต้หลักการการปรับขึ้นแบบขั้นบันได อาจทำให้ต้องขึ้นค่าเอฟที งวดละ 47.3 สตางค์ต่อหน่วย อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรการการบริหารจัดการต้นทุนเชื้อเพลิงให้ต่ำที่สุด ได้แก่ การรับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป. ลาว โครงการโรงไฟฟ้าน้ำเทินก่อนวันเริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มเติมจากกลุ่มโรงไฟฟ้าที่มีความพร้อมจ่ายไฟฟ้า การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาเพื่อทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าอยู่ในราคาที่เหมาะสมและมาตรการการบริหารการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา ร่วมกับมาตรการการนำ "Energy Pool Price" มาใช้ เพื่อเฉลี่ยต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้เกิดความเป็นธรรมสามารถทำให้ค่าเอฟทีลดลง เป็นผลให้ปรับขึ้นค่าเอฟที ในงวดนี้เพียง 23.38 สตางค์ต่อหน่วย ทั้งนี้ ตามแนวทางจากภาคนโยบาย กฟผ. จะแบกรับค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงในงวดที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดไว้ก่อน และจะทยอยเรียกคืนค่าเอฟทีเมื่อราคาเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง" นายคมกฤช กล่าว

สำหรับปัจจัยในการพิจารณาค่าเอฟทีในรอบเดือน พ.ค. - ส.ค. 2565 ตามข้อเสนอของ กฟผ. ประกอบด้วย

  1. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน พ.ค. - ส.ค. 2565 เท่ากับประมาณ 68,731 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากประมาณการงวดก่อนหน้า (เดือน ม.ค. - เม.ย. 2565) ที่คาดว่าจะมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 65,325 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.21
  2. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน พ.ค. - ส.ค. 2565 ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ร้อยละ 55.11 ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด นอกจากนี้เป็นการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ (ลาวและมาเลเซีย) รวมร้อยละ 19.46 และ ลิกไนต์ของ กฟผ. ร้อยละ 8.32 เชื้อเพลิงถ่านหินนำเข้าโรงไฟฟ้าเอกชน ร้อยละ 8.08 พลังน้ำของ กฟผ. ร้อยละ 2.58 น้ำมันเตา (กฟผ. และ IPP) ร้อยละ 0.01% น้ำมันดีเซล (กฟผ. และ IPP) ร้อยละ 0.19% และอื่นๆ อีก ร้อยละ 6.25
  3. ราคาเชื้อเพลิงเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณค่าเอฟทีเดือน พ.ค. - ส.ค. 2565 เปลี่ยนแปลงจากการประมาณการในเดือน ม.ค.- เม.ย. 2565 โดยราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า และราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นมากจากประมาณในรอบเดือน ม.ค.- เม.ย. 2565 โดย
    ที่เชื้อเพลิงอื่นๆ มีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยและคงที่ ดังที่แสดงในตาราง
ประเภทเชื้อเพลิงหน่วยม.ค. - เม.ย. 65 (ประมาณการ) [1]พ.ค. - ส.ค. 65 (ประมาณการ) [2]เปลี่ยนแปลง [2]-[1]- ราคาก๊าซธรรมชาติ ทุกแหล่ง*บาท/ล้านบีทียู376.46422.36+45.90- ราคาน้ำมันเตา บาท/ลิตร18.2019.08+0.88- ราคาน้ำมันดีเซลบาท/ลิตร22.1725.80+3.63- ราคาลิกไนต์ (กฟผ.)บาท/ตัน693.00693.000.00- ราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ย (IPPs)บาท/ตัน2,877.693,678.74+801.05

หมายเหตุ: *ราคาก๊าซฯ รวมค่าผ่านท่อและค่าดำเนินการของโรงไฟฟ้า กฟผ. และโรงไฟฟ้าเอกชน IPPs

  1. อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ใช้ในการประมาณการ (1 - 31 มกราคม 2565) เท่ากับ 33.20 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าเล็กน้อยจากประมาณการในงวดเดือนมกราคม - เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ที่ประมาณการไว้ที่ 33.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

นายคมกฤช กล่าวว่า ในช่วงวิกฤตราคาพลังงานขาขึ้น สำนักงาน กกพ. ขอเชิญชวน พี่น้องประชาชนผู้ใช้ไฟ ร่วมกันประหยัดการใช้พลังงาน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า 4 ป. ได้แก่ ปลด หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อใช้งานเสร็จ , ปิด หรือดับไฟเมื่อเลิกใช้งาน , ปรับ อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ที่ 26 องศา และ เปลี่ยน มาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จะสามารถช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงราคาแพง ซึ่งจะเป็นการลดภาระค่าครองชีพสำหรับตัวท่านเอง และยังจะเป็นการร่วมแรงร่วมใจกันลดภาระโดยรวมให้กับประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย

ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟทีสำหรับการเรียกเก็บในรอบเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565 ทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 17 - 27 มีนาคม 2565 ก่อนที่จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๘ เม.ย. กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก