เอ็นไอเอ เดินนโยบายเชิงรุก ปลุกการลงทุนสตาร์ทอัพนานาชาติในไทย ชู 3 โกลบอลสตาร์ทอัพฮับรองรับหลากธุรกิจเทคฯ ปั้นไทยสู่ "สตาร์ทอัพแลนด์" เชื่อมตลาดเอเชีย

อังคาร ๒๒ มีนาคม ๒๐๒๒ ๑๔:๐๕
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขานรับนโยบายรัฐบาลในการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติและผลักดันประเทศไทยให้เป็นพื้นที่สำหรับสตาร์ทอัพจากทั่วโลกเพื่อเข้าสู่ตลาดเอเชีย โดยปักหมุด 3 พื้นที่สำคัญที่มีความพร้อมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การอยู่อาศัย และเครือข่ายต่าง ๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ให้เป็นศูนย์กลางสตาร์ทอัพระดับโลก (Global Startup Hub) นอกจากนี้ ยังได้ทำความร่วมมือกับร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI ผลักดันโปรแกรม Smart Visa เพื่อดึงดูดสตาร์ทอัพและนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสตาร์ทอัพทั้งไทยและต่างชาติ ให้ความสนใจเข้าขอใช้บริการขอคำปรึกษาอย่างต่อเนื่องแล้วกว่า 356 ราย และจัดตั้งบริษัทได้แล้วจำนวน 38 บริษัท
เอ็นไอเอ เดินนโยบายเชิงรุก ปลุกการลงทุนสตาร์ทอัพนานาชาติในไทย ชู 3 โกลบอลสตาร์ทอัพฮับรองรับหลากธุรกิจเทคฯ ปั้นไทยสู่ สตาร์ทอัพแลนด์ เชื่อมตลาดเอเชีย

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า NIA ในฐานะหน่วยงานหลักที่ส่งเสริมและสนับสนุนสตาร์ทอัพได้เดินหน้านโยบายดึงดูดการลงทุนในประเทศไทย โดยกำหนดตำแหน่งประเทศไทยให้เป็นพื้นที่สำหรับสตาร์ทอัพจากทั่วโลกเพื่อเข้าสู่ตลาดเอเชีย และมีการจัดตั้งศูนย์กลางสตาร์ทอัพระดับโลก (Global Startup Hub) และศูนย์การให้บริการภาครัฐแบบครบวงจร ณ จุดเดียวสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (One-Stop Service: OSS) เพื่อให้สตาร์ทอัพจากทั้งไทยและต่างชาติสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกิจกรรมและการให้บริการ ได้แก่ การบ่มเพาะเร่งการเติบโตของธุรกิจ การให้คำปรึกษาด้านการทำธุรกิจ การตลาด กฎหมาย และทรัพย์สินทางปัญญา การสร้างเครือข่ายของกลุ่มสตาร์ทอัพและกลุ่มนักลงทุน เวทีพบปะนักลงทุนและเจรจาต่อยอดธุรกิจ และกิจกรรมให้ความรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นธุรกิจ พร้อมเครือข่ายการเชื่อมโยงไปสู่ตลาดที่ตรงกับรูปแบบของสินค้า / บริการ เพื่อให้เกิดทั้งความร่วมมือและการขยายตัวในประเทศไทย

ทั้งนี้ ยังได้กำหนดยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ 3 แห่ง โดยพิจารณาจากบริบทที่สำคัญทั้งการอยู่อาศัย การมีเครือข่ายอุตสาหกรรมรองรับ พื้นที่ที่เอื้อต่อการตั้งสำนักงาน - การสร้างสรรค์งาน รวมถึงปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพสำหรับการสร้างนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อให้เป็นแหล่งเติบโตของสตาร์ทอัพทั้งสตาร์ทอัพในประเทศ และต่างชาติ ซึ่งประกอบด้วย

  • กรุงเทพมหานคร เมืองที่ได้รับการจัดอันดับจาก StartupBlink ให้เป็นเมืองที่เอื้อต่อการทำสตาร์ทอัพอันดับที่ 71 ของโลก และเคยเป็นเมืองอันดับที่ 1 ของเอเชียที่บรรดาสตาร์ทอัพแต่ละประเทศให้ความสนใจในการเข้ามาทำธุรกิจ โดย NIA จะสนับสนุนการผลักดันย่านปุณณวิถี และย่านอารีย์ให้เป็นต้นแบบย่านนวัตกรรมดิจิทัลและมีระบบนิเวศสำหรับสตาร์ทอัพที่สมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อดึงดูดบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างชาติให้เข้ามาประกอบธุรกิจภายในย่าน รวมถึงพื้นที่ย่านนวัตกรรมโยธี ซึ่งปัจจุบันได้รับการประกาศให้เป็นเขตส่งเสริมการลงทุนนวัตกรรมและการวิจัยทางการแพทย์โดยเฉพาะเทคโนโลยีเชิงลึก (deep tech) โดยมีศูนย์กลางการดำเนินงานอยู่ที่ NIA (ซอยโยธี) นอกจากนี้ ยังมีความพร้อมของเครือข่าย และนโยบายจากภาครัฐที่พร้อมสนับสนุนการลงทุน และการจัดตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพในสาขาอื่น เช่น การจัดนิทรรศการและการประชุม หรือ MICE นวัตกรรมอาหารหรือ Foodtech ภายใต้การดำเนินงานของโครงการ Space-F ที่จะผลักดันกรุงเทพให้เป็น Foodtech Silicon Valley รวมถึงอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ AI และมีกิจกรรมการจัดแสดงผลงานของสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในพื้นที่กรุงเทพฯ ตลอดปีมากกว่า 20 ครั้ง
  • เชียงใหม่ พื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ โดยเฉพาะในการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพทั้ง เนื่องจากเป็นเมืองที่มีจุดเด่นในหลากหลายด้านทั้งความเป็นเมืองสร้างสรรค์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยที่เข้มแข็ง ความน่าอยู่อาศัยของเมือง กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญในระดับโลก ฯลฯ ทั้งนี้ NIA ได้จัดตั้งสำนักงานภูมิภาคแห่งแรกขึ้น ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคทั้ง 11 จังหวัดพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งได้ทำความร่วมมือกับเทศบาลเมืองเชียงใหม่ในการส่งเสริมย่านใจกลางเมืองให้เป็นพื้นที่ทดลองใช้นวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมชุมชนเมือง (City Lab) การพัฒนาย่านการแพทย์สวนดอก (Suandok Medical Innovation District: SMID) เพื่อให้เป็นพื้นที่การเติบโตของธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ และเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพของภูมิภาค อีกทั้งยังมีย่านนวัตกรรมการเกษตรและอาหาร ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว
  • เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อีกหนึ่งพื้นที่ยุทธศาสตร์ในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งมีความพร้อมด้านปัจจัยพื้นฐานทั้งสถาบันการศึกษาชั้นนำ หน่วยรวิจัย ระบบโลจิสติกส์ การอยู่อาศัยที่มีทั้งความเป็นเมืองและชุมชน แรงงานที่มีความสามารถหลากหลายด้าน รวมถึงอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ตลอดจนความพร้อมของการท่องเที่ยว การเกษตร อาหาร ฯลฯ จึงเปรียบเหมือนเป็นแซนด์บอกซ์ที่สามารถรองรับสตาร์ทอัพที่จะนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และแนวคิดการแก้ไขปัญหา หรือการดำเนินธุรกิจที่จะตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับพื้นที่โดยเฉพาะใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัฉริยะ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ การป้องกันประเทศ ดิจิทัล ฯลฯ ทั้งนี้ ในการส่งเสริมสตาร์ทอัพบนพื้นที่ดังกล่าว NIA ได้ผลักดันให้ดีพเทคสตาร์ทอัพในสาขา ARI ( Artificial Intelligent , Robotics , Immersive & IoT) ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่แล้วกว่า 10 ราย และคาดว่าในปี 2564-2566 จะเกิดการลงทุนในสตาร์ทอัพระดับ Pre-series A อย่างน้อยประมาณรายละ 30 ล้านบาท โดยมีศูนย์กลางการดำเนินงานอยู่ที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา

ปัจจุบันมีสตาร์ทอัพไทยและต่างชาติ และผู้สนใจ เข้ามาร่วมกิจกรรมหรือใช้บริการขอคำปรึกษาผ่านศูนย์โกลบอลสตาร์ทอัพฮับอย่างต่อเนื่องแล้วกว่า 3,700 ราย นอกจากนี้ NIA ยังได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในการผลักดันโปรแกรม Smart Visa ซึ่งเป็นวีซ่าประเภทพิเศษเพื่อดึงดูดบุคลากรต่างชาติทักษะสูงและนักลงทุนต่างชาติให้สนใจเข้ามาทำงานหรือลงทุนในประเทศไทย โดยปัจจุบันมีจำนวนสตาร์ทอัพต่างชาติให้ความสนใจสมัครเข้ามาแล้วกว่า 356 ราย และมีการจัดตั้งบริษัทได้แล้วจำนวน 38 บริษัท ทั้งนี้ สตาร์ทอัพ นักลงทุน และผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมและบริการของศูนย์โกลบอลสตาร์ทอัพได้ที่ https://globalhub.startupthailand.org/ หรือ เฟสบุ๊ค Global Startup Hub Thailand

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

เอ็นไอเอ เดินนโยบายเชิงรุก ปลุกการลงทุนสตาร์ทอัพนานาชาติในไทย ชู 3 โกลบอลสตาร์ทอัพฮับรองรับหลากธุรกิจเทคฯ ปั้นไทยสู่ สตาร์ทอัพแลนด์ เชื่อมตลาดเอเชีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version