นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบัน Metaverse เทคโนโลยีที่ทำให้ผู้คนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ผ่านโลกเสมือน กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง และมีการคาดการณ์ว่า เทคโนโลยีนี้จะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในชีวิตประจำวันของเราในอนาคตDigital Twin ก็เป็นโลกเสมือนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นการจำลองโลกจริงในด้านกายภาพ เช่น ด้านขนาด รูปร่างของตึก อาคาร สิ่งปลูกสร้าง และสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น แสงแดด เงา และสภาพอากาศ เป็นต้น เมื่อนำมาผสานร่วมกับเทคโนโลยี Geospatial จึงทำให้สามารถวิเคราะห์และคาดการณ์ผลลัพธ์หรือภาพรวมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ตัวอย่างเช่น ในงานวิศวกรรมก่อสร้างและสถาปัตยกรรม เราสามารถจำลองวัตถุหรือสิ่งก่อสร้างที่มีความซับซ้อนและมีมูลค่าสูงได้ในโลกเสมือนจริง เพื่อวิเคราะห์คาดการณ์และหาความเป็นไปได้ว่า หากสิ่งเหล่านี้ไปอยู่บนพื้นที่จริง จะเป็นอย่างไร สร้างผลกระทบหรือไม่ ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาด อีกทั้งยังยกระดับการบริหารจัดการข้อมูลสินทรัพย์ในโครงการ นำไปสู่การพัฒนา Smart City เพื่อการดำรงชีวิตที่ดีของทุกคนอีกทางหนึ่ง
"เทคโนโลยี Geospatial หรือเทคโนโลยีด้านข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด Digital Twin ประกอบด้วย 4 เทคโนโลยีเริ่มต้นหลัก คือ 1.Global Navigation Satellite System (GNSS) ระบบนำทางด้วยดาวเทียม และ GPS ด้านพิกัดและโลเคชัน 2. Earth Observation การได้มาซึ่งข้อมูลภาพ เช่น ภาพดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศจากโดรน เพื่อ Monitor สถานะการก่อสร้างหรือข้อมูลภูมิประเทศ 3. LiDAR การเก็บข้อมูล 3 มิติ โดยใช้เลเซอร์ 4. GIS และ BIM ซึ่งการสร้างโลกของ Digital Twin จะมีประสิทธิภาพได้ต้องขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี AI, IoT, Big Data หรือ Cloud มาสนับสนุนจึงจะสามารถใช้ประโยชน์จาก Digital Twin ได้อย่างเต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพสูงต่อไป" นางสาวธนพรกล่าวเสริม
สำหรับการประยุกต์ใช้ GIS เพื่อเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานโครงการด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมก่อสร้าง คือการนำเทคโนโลยี Geo-Enabled BIM หรือการนำ GIS มาทำงานร่วมกับ BIM หรือ Building Information Modeling ผ่านโซลูชัน ArcGIS GeoBIM โดยการใช้แบบจำลอง 3 มิติ มาประมวลผลร่วมกับข้อมูลด้าน GIS เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของโครงการกับบริบทของพื้นที่ และเพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสร้างโครงการหรือผลกระทบภายนอกต่อโครงการ เป็นประโยชน์ในการก่อสร้างและบริหารจัดการโครงการในภาพรวม (Construction/Project Management) นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็น Data Center ในการบูรณาการข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ด้วยการผนวกชั้นข้อมูล GIS และข้อมูลอาคาร BIM ไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกันในรูปแบบ Cloud to cloud integrations รวมทั้งรองรับการเชื่อมต่อกับข้อมูล Real-time จาก IoT Sensors ต่างๆ ซึ่งความสามารถนี้จะเป็นประโยชน์ด้านการสื่อสารทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการ ลดปัญหาความผิดพลาด และช่วยให้เห็นภาพรวมของโครงการได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เรียกได้ว่า ArcGIS GeoBIM เป็นอีกหนึ่งโซลูชันในการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างเต็มรูปแบบ ภายใต้หลักการของ Digital Twin
การพัฒนา ArcGIS GeoBIM เป็นสิ่งที่ Esri มุ่งเน้นที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของฟันเฟืองในการบริหารจัดการด้านวิศวกรรมก่อสร้างและสถาปัตยกรรมเพื่อนำไปสู่ Digital Twin อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยความเชี่ยวชาญด้าน GIS มายาวนานกว่า 35 ปีในประเทศไทย บริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลในทุกมิติ และมีประสิทธิภาพสูงสุดอีกทางหนึ่ง นางสาวธนพรกล่าวปิดท้าย
ค้นพบศักยภาพของเทคโนโลยี ArcGIS เต็มรูปแบบได้ที่ www.esrith.com
ที่มา: กลุ่มบริษัทซีดีจี