กรมประมง ร่วมลงนามความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หนุนพัฒนาความยั่งยืนของสัตว์ทะเล ตอบโจทย์ธุรกิจการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อีอีซี

อังคาร ๒๙ มีนาคม ๒๐๒๒ ๐๙:๔๗
เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม 2565 ณ ระยอง รีสอร์ท จังหวัดระยอง กรมประมง ร่วมจับมือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "การพัฒนาความยั่งยืนของสัตว์ทะเลในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก" เสริมศักยภาพการเพาะพันธุ์ลูกสัตว์ทะเล เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และฟื้นฟูทรัพยากรประมง พร้อมรองรับธุรกิจการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อีอีซี
กรมประมง ร่วมลงนามความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หนุนพัฒนาความยั่งยืนของสัตว์ทะเล ตอบโจทย์ธุรกิจการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อีอีซี

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ทรัพยากรสัตว์ทะเล มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก ทั้งในด้านอุตสาหกรรมการประมง และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเขตภาคตะวันออกของไทยที่มีศักยภาพและความพร้อมทั้งเชิงในพื้นที่และทรัพยากร ซึ่งรัฐบาลได้มีการขับเคลื่อนเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์นโยบาย 'ไทยแลนด์ 4.0' ในหลายมิติ

สำหรับโครงการ "นักท่องเที่ยวช่วยสร้างความยั่งยืน : สัตว์ทะเล" (Tourists For Sustainable Development : Sea Creature) เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรมประมง และเพื่อเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ทั้ง 4 หน่วยงานจึงได้จับมือกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "การพัฒนาความยั่งยืนของสัตว์ทะเลในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก" เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเพาะพันธุ์ลูกสัตว์ทะเล ด้วยการสนับสนุนให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งระยอง

กรมประมง ซึ่งมีภารกิจหลักในด้านการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์และมีความยั่งยืน ทำการผลิตพันธุ์สัตว์ทะเลเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติให้มีปริมาณมากเพียงต่อนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีกว่า 20 ล้านคนต่อปี ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสมบูรณ์และฟื้นฟูทรัพยากรประมง เพื่อรองรับและส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ EEC ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การกระจายรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการการท่องเที่ยว นับเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลที่สอดรับกันอย่างลงตัว

อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีงบประมาณ 2565 กรมประมง โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งระยอง พร้อมเร่งผลิตลูกพันธ์สัตว์ทะเล ซึ่งเป็นพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นของจังหวัดระยอง ประกอบด้วย กุ้งทะเล ปลากะพงขาว ปลาการ์ตูนอินเดียแดง ปลาการ์ตูนอานม้า และหอยหวาน ให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยว วิสาหกิจชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้นำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้โครงการนักท่องเที่ยวช่วยสร้างความยั่งยืน : สัตว์ทะเล ต่อไป

ที่มา: กรมประมง

กรมประมง ร่วมลงนามความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หนุนพัฒนาความยั่งยืนของสัตว์ทะเล ตอบโจทย์ธุรกิจการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อีอีซี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ