Family talk เวทีประชุมวิชาการ เรื่องครอบครัวพลังบวก ครอบครัวไทยไร้ความรุนแรงครั้งที่ 3

ศุกร์ ๐๑ เมษายน ๒๐๒๒ ๐๙:๔๓
ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์คอนเวนชั่น ถนนแจ้งวัฒนะ ศาสตราจารย์ นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการศูนย์คุณธรรม ได้กล่าวในพิธีเปิดเวทีวิชาการครอบครัวไทยไร้ความรุนแรงครั้งที่ 3 ว่า โครงการวิจัยชุดนี้ มีจุดเด่นของงานการวิจัย 3 เรื่อง สำคัญ คือ 1) มีองค์ความรู้และชุดประสบการณ์ของผู้วิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะทางด้านเด็กและเยาวชน ที่ได้นำลงไปสู่การใช้จริงในพื้นที่ปฏิบัติการ เช่น ทุนชีวิต (Life assets) ของคุณหมอสุริยเดว ทรีปาตี การป้องกันเด็กติดเกม ของคุณหมอชาญวิทย์ พรนภดล ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและสิทธิเด็ก ของท่านอัยการ โกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีศาลแขวง 2) มีการเปิดเวทีให้ความรู้เรื่องกฎหมายครอบครัวและสิทธิเด็ก เพื่อนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะแต่ละเวที มายื่นเสนอแก้ไขกฎหมายด้านครอบครัวและสิทธิเด็กที่บังคับใช้ในปัจจุบันให้ทันสมัย เอื้อประโยชน์ต่อครอบครัว เด็กและเยาวชนได้จริง 3) มีเป้าหมายเกิดระบบพี่เลี้ยงในชุมชน ที่ประกอบด้วย คนที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานครอบครัว ส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ในชุมชน และการแก้ปัญหาเด็กเยาวชนและครอบครัวในพื้นที่วิจัย
Family talk เวทีประชุมวิชาการ เรื่องครอบครัวพลังบวก ครอบครัวไทยไร้ความรุนแรงครั้งที่ 3

โครงการวิจัยเรื่อง ชุดแผนงานครอบครัวไทยไร้ความรุนแรง ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จาก สำนักงาน   การวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีภาคีเครือข่าย นำโดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์   ศิริราชพยาบาล สำนักงานอัยการสูงสุด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย    กระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม และยังมีหน่วยงาน ที่เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญในพื้นที่

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ภาคใต้ ซึ่งผลที่ทำให้เกิด #ระบบพี่เลี้ยงในชุมชนต้นแบบของประเทศ ที่มี ระบบ coaching โดย จิตวิทยาพลังบวก จากอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ต่างๆ สู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยผ่านทางทั้ง 3 โครงการย่อย โครงการครอบครัวพลังบวก โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กติดเกมโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน โครงการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งจะขยายผล เชื่อมกลไกท้องถิ่น และร่วมกันขับเคลื่อน ครอบครัว  พลังบวก ในสังคมไทยให้ยั่งยืนต่อไป 

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ในฐานะที่เป็นหัวหน้าชุดแผนงานโครงการครอบครัวไทยไร้ความรุนแรง ได้สรุปผลสำเร็จของโครงการฯ ในเวทีวิชาการครั้งที่ 3 นี้ ซึ่งเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

  • ระบบพี่เลี้ยงในชุมชน เกิดแกนนำ/ครอบครัวพลังบวก 38 พื้นที่ จาก 13 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดอุดรธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็น 4 จังหวัดนำร่อง และ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพังงา จัวหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 1,360 คน โดยแบ่งเป็น โครงการย่อยที่ 1 ครอบครัวพลังบวก จำนวน 16 พื้นที่ จำนวน150 คน โครงการย่อยที่ 2 Healthy Gamer 8 พื้นที่ จำนวน591 คน และ โครงการย่อยที่ 3 แกนนำพี่เลี้ยงชุมชนพลังบวก 14 พื้นที่ จำนวน 565 คน  
  • ด้านองค์ความรู้/เครื่องมือ มีการสำรวจสถานการณ์ครอบครัว ในจังหวัดนำร่อง 4 จังหวัด ในหัวข้อต้นทุนชีวิต การเลี้ยงดูเชิงบวก แบบวัดโรคติดเกมอินเตอร์เน็ต(ฉบับย่อ) และแบบประเมินการสร้างวินัยเชิงลบ พร้อมทั้งเกิด
  • หลักสูตรฝึกอบรม E-learning ค่ายครอบครัวพลังบวก (Scenario Based)
  • หลักสูตรการอบรมผู้ปกครองเพื่อปรับพฤติกรรมเด็ก (Online group process)
  • แบบวัดโรคติดเกมอินเทอร์เน็ต ฉบับย่อ (IGDS9-SF)
  • แบบประเมินการสร้างวินัยเชิงลบ
  • Line official account (HG Unit) ให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาติดเกม
  • การเผยแพร่สู่สาธารณะ เกิดเวทีวิชาการ ครอบครัวไทยไร้ความรุนแรง 2 เวทีที่ผ่านมา มีการเสวนาประเด็นด้านเด็ก ครอบครัว ในการรายการ ครอบครัวพลังบวก Live จำนวน 4 ครั้ง  มีการประกวดสื่อสร้างสรรค์ ยุติปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และได้ทำการรวบรวมข้อมูลโครงการเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ ตามสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น

https://moralcenter.or.th/family/ ,  www.healthygamer.net , https://favp.net ,  

Page Facebook  ครอบครัวพลังบวกด้วยพี่เลี้ยงชุมชน   

ดร.บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี ผู้ก่อตั้งและประธานองค์กรทำดี หนึ่งในวิทยากร Family talk กล่าวบนเวทีว่า ส่วนตัว ดร.บุ๋ม ได้ลงพื้นบ่อยๆ  ได้ศึกษา ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สามารถบอกได้ว่า การทำงานของครอบครัวพลังบวกมีความสำคัญอย่างมาก เพราะว่าครอบครัวในแต่พื้นที่ มีสังคมที่หลายรูปแบบ ในเมืองกับในต่างจังหวัดก็ไม่เหมือนกัน การดูแลเลี้ยงลูกด้วยรูปแบบที่ไม่เหมือนกันของคุณพ่อคุณแม่คุณตาคุณยายในแต่ละพื้นที่ ก็แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการทำเครือข่ายครอบครัวพลังบวกแบบนี้ จะช่วยทำให้เกิดพลังความร่วมมือดีๆ มีแบบอย่าง             มีรูปแบบ ที่จะทำให้ครอบครัวแต่ละพื้นที่สร้างพื้นฐานของสังคมที่ดีขึ้นได้

นางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าวบนเวทีว่า กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินงานเรื่องป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ได้เห็นพลังบวกจากพลังของเครือข่าย และมีความหวังกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ว่าเรามีทางออก เรื่องในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัว ไม่ใช่เรื่องของครอบครัว แต่เป็นเรื่องของทุกคนในสังคม

สามารถติดตามโครงการได้ที่เวปไซด์ศูนย์คุณธรรม www.moralcenter.or.th โครงการวิจัยเรื่อง ชุดแผนงานครอบครัวไทยไร้ความรุนแรง และสามารถชมเวทีวิชาการครอบครัวไทยไร้ความรุนแรงครั้งที่ 3 ย้อนหลังได้ ทาง facebook ศูนย์คุณธรรม

ที่มา: Move Pr

Family talk เวทีประชุมวิชาการ เรื่องครอบครัวพลังบวก ครอบครัวไทยไร้ความรุนแรงครั้งที่ 3

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ