ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ เปิดตัวผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์ BIPV และ HJT ชูจุดเด่นคาร์บอนต่ำพิเศษ

อังคาร ๐๕ เมษายน ๒๐๒๒ ๐๘:๐๕
บริษัท ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (Risen Energy Co., Ltd.) ผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชั้นนำในประเทศจีน จัดงานแถลงข่าวที่อำเภอหนิงไห่ มณฑลเจ้อเจียง เพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ล่าสุดในกลุ่มเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผนวกเข้ากับวัสดุก่อสร้างหรือตกแต่งอาคาร (Building-Integrated Photovoltaic : BIPV) ได้แก่ ซูเปอร์ ท็อป (Super Top) และ ซูเปอร์ ไทล์ (Super Tile) ตลอดจนไฮเปอร์-ไอออน (Hyper-ion) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดในกลุ่มเทคโนโลยี Heterojunction (HJT) โดยผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้ช่วยลดการใช้คาร์บอน ขณะที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นการขยายโอกาสสำหรับการพัฒนาและการใช้งานผลิตภัณฑ์ BIPV และ HJT ต่อไป

Super BIPV เป็นผู้นำในการส่งมอบหลังคา "สีเขียว"

ทุกอุตสาหกรรมในจีนต่างก้าวทะยานสู่เกณฑ์การลดคาร์บอน ตามที่รัฐบาลจีนได้ตั้งเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสูงสุดก่อนที่จะลดลงจนบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยในปี 2564 รัฐบาลได้ออกชุดนโยบายการลดคาร์บอนที่พุ่งเป้าไปที่ภาคอาคารและการก่อสร้างโดยเฉพาะ เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างอาคารคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเพื่อเตรียมภาคอุตสาหกรรมนี้ให้พร้อมรับการมาถึงของยุคการปล่อยคาร์บอนสูงสุดก่อนที่จะลดลงจนบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองต่อนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล บริษัท ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ซึ่งมีบทบาทเป็นผู้นำและผู้บุกเบิกด้านเซลล์แสงอาทิตย์ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์หลักสองรายการ ได้แก่ ซูเปอร์ ท็อป สำหรับหลังคาโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์ และซูเปอร์ ไทล์ สำหรับหลังคาที่อยู่อาศัย ผลิตภัณฑ์ทั้งสองบรรลุผลสำเร็จในแง่ของการผลักดันการสร้างบ้านในประเทศจีนให้เป็นมิตรและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย เชื่อถือได้ ประหยัด ใช้งานได้หลากหลาย ติดตั้งง่าย และมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม

คุณลักษณะเด่นของซูเปอร์ ท็อป คือวิธีการประกอบแบบใหม่สำหรับแผ่นเหล็กและแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อให้แผงเซลล์กลมกลืนกับสีที่เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กได้อย่างแนบเนียนไร้รอยต่อ และสามารถผนวกรวมเข้ากับกระบวนการก่อสร้างได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่ต้องมาติดตั้งเพิ่มในภายหลัง ซูเปอร์ ท็อป เป็นแผงเซลล์แบบไร้โครง มาพร้อมกระจกสองชั้น และแผ่นเวเฟอร์ขนาด 210 มม. โดยกระจกสองชั้นขนาด 210+ มม. ช่วยให้มั่นใจได้ถึงกำลังการผลิตพลังงานที่ระดับสูง ขณะที่โครงไร้ขอบช่วยป้องกันการสะสมของฝุ่นที่ด้านบนของแผง โดยเซลล์ 210+HJT ให้อัตราการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 7% ขณะที่แผงเซลล์ผลิตกำลังไฟ 740 วัตต์ และมาพร้อมกับระบบล็อกแบบตั้งตรง 360 องศา กันน้ำได้ และไม่มีเงาบัง ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นอีก 1.5%

ในแง่ของความสวยงาม ซูเปอร์ ท็อป มีให้เลือกแบบแผ่นเหล็กเคลือบอลูมิเนียม-สังกะสี-แมกนีเซียมหรือแผ่นเหล็กเคลือบสี และแบบเลือกสีได้เองตามความชอบของผู้ใช้งาน ด้านการติดตั้งก็ทำได้ง่ายและรวดเร็ว และสามารถติดตั้งได้เองคนเดียว ในขณะที่ลดภาระในการดำเนินการและบำรุงรักษาหลังการติดตั้ง นอกจากนี้ การออกแบบให้ผลิตภัณฑ์มีความทนทานต่อการกัดกร่อน รวมทั้งต้านทานลมและไฟได้อย่างยอดเยี่ยมนั้น ยังทำให้สามารถเว้นระยะห่างในการตรวจสอบและการบำรุงรักษาแต่ละครั้งได้นานขึ้น จึงมอบประสบการณ์การใช้งานที่ปลอดภัยและไร้กังวล

ด้านซูเปอร์ ไทล์ มาในขนาด 1817 มม. x 420 มม. พร้อมสีและรูปทรงหลากหลายที่เข้ากับระบบหลังคาบ้านได้อย่างสมบูรณ์แบบ แผงเซลล์มาพร้อมกำลังไฟสูงสุด 120 วัตต์ และการออกแบบแบบไร้ฝุ่น ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้อีก 5% ซูเปอร์ ไทล์ ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว และสามารถติดตั้งได้โดยคนคนเดียวเหมือนกับซูเปอร์ ท็อป ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนการก่อสร้างได้ถึง 30%

ซูเปอร์ ไทล์ มีให้เลือกสองรูปแบบ ได้แก่ แบบ "ซ้อนกัน" และ "เรียงกัน" เพื่อตอบสนองความชื่นชอบที่หลากหลายของผู้ใช้งาน ต้นทุนค่าใช้จ่ายโดยทั่วไปเทียบเท่ากับระบบที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไป และกระเบื้องมุงหลังคาที่ใช้พื้นที่เท่ากัน ด้วยต้นทุนที่ไม่แตกต่างเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นก่อน ๆ ซูเปอร์ ไทล์ ที่มีคาร์บอนต่ำ จึงตอบสนองความต้องการของตลาดในปัจจุบันได้ดีกว่า

ไฮเปอร์-ไอออน เพิ่มมูลค่าสีเขียวให้กับผลิตภัณฑ์ HJT

การควบคุมต้นทุนเป็นปัญหาที่ท้าทายมาแต่ไหนแต่ไร และจนถึงปัจจุบันก็ยังคงเป็นปัจจัยที่ขัดขวางเทคโนโลยี HJT ในการก้าวขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์กระแสหลัก ทั้งนี้ ด้วยเทคโนโลยีชั้นนำในด้านเซมิคอนดักเตอร์ฟิสิกส์ เซมิคอนดักเตอร์แพ็กเกจจิ้ง วัสดุพื้นฐาน และการออกแบบอุปกรณ์ หลังจากการทำซ้ำหลายพันครั้ง ในที่สุด ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ ก็ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่น่าภาคภูมิใจ นั่นคือ ไฮเปอร์-ไอออน ซึ่งใช้เซลล์ HJT ขนาด 210 มม. แบบแบ่งครึ่งเซลล์ 120 ไมครอน และเทคโนโลยีไมโครคริสตัลไลน์ ทำให้บรรลุประสิทธิภาพที่สูงเกิน 25.2% และจากการคำนวณโครงการขนาด 100 เมกะวัตต์ในมณฑลไห่หนาน การผลิตพลังงานระยะยาวด้วยโซลูชัน HJT มีข้อได้เปรียบในการลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยปรับเฉลี่ย (LCOE) ลงมากกว่า 10% และอาจมากกว่านั้นเมื่อเปรียบเทียบทั้งต้นทุนการลงทุนแบบครั้งเดียว และค่าใช้จ่ายต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดั้งเดิม

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Passivation ผลิตภัณฑ์นี้จึงมาพร้อมกับความต่างศักย์ไฟฟ้าวงจรเปิดที่สูงกว่า 750 มิลลิโวลต์ และแผ่นเวเฟอร์บางเฉียบที่มีความหนาน้อยกว่าเซลล์ TOPCon และ PERC เล็กน้อย รวมถึงเซลล์ HJT แบบบางยังมีค่าคาร์บอนต่ำกว่า PERC เกือบ 30% ทั้งนี้ การใช้โครงเหล็กอัลลอยด์ที่มีความแข็งแรงสูง ทำให้ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของไฮเปอร์-ไอออน ลดลงจากมากกว่า 570 ต่อกิโลวัตต์ เหลือไม่ถึง 400 โดยไม่ต้องใช้วัสดุซิลิคอนพิเศษ และลดลงได้ถึงเกือบ 300 เมื่อใช้วัสดุซิลิคอนพิเศษ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นที่เป็นที่ต้องการอย่างมากในกลุ่มผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำพิเศษ

แผงเซลล์ HJT ของไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ มีประสิทธิภาพเป็น 5 เท่าของค่ามาตรฐานที่กำหนดโดย IEC ในขณะที่ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่รับรองโดยหน่วยงานตรวจสอบอิสระอยู่ที่น้อยกว่า 400 ทั้งนี้ เมื่อใช้แนวทางคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ไฮเปอร์-ไอออนอาจมีค่าพรีเมียมที่ 0.01 หยวนต่อวัตต์ ขึ้นอยู่กับราคาปัจจุบันของสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของยุโรปที่ประมาณ 80 ยูโรต่อตัน

ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ มีแผนที่จะมุ่งเน้นไปที่การวิจัยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มคาร์บอนต่ำเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงการวิจัยและพัฒนาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ BIPV, โครงเหล็ก และเทคโนโลยี HJT โดยมีเป้าหมายที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำมากขึ้น และสร้าง "จักรวาลคาร์บอนต่ำ" ของเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน พร้อมเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคคาร์บอนเป็นศูนย์



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ