มกอช. หารืออาเซียนเสริมความเข้มแข็งระบบ ARASFF

อังคาร ๐๕ เมษายน ๒๐๒๒ ๑๖:๔๖
มกอช. หารืออาเซียนเสริมความเข้มแข็งระบบ ARASFF พร้อมชงประเทศสมาชิก ใช้ระบบ QR Trace พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับของอาเซียน  
มกอช. หารืออาเซียนเสริมความเข้มแข็งระบบ ARASFF

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช. ได้มอบหมายให้นางสาวรวินันท์ ฉ่ำเฉลิม ผู้อำนวยการกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หัวหน้าคณะฝ่ายไทย ในการประชุม ARASFF National Focal Points ครั้งที่ 9 พร้อมด้วยนายสัญชัย ตันตยาภรณ์ ที่ปรึกษา มกอช. หัวหน้าคณะฝ่ายไทย ในการประชุม ARASFF Steering Committee ครั้งที่ 7 เข้าร่วมการประชุมหารือ the 9th ARASFF NCP & the 7th ARASFF SC Meetings ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 เมษายน 2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหารและอาหารสัตว์ 

นายพิศาล กล่าวว่า การประชุมดังกล่าว ประเทศไทยในฐานะผู้ดูแลระบบ (ARASFF Admin) รายงานผลการใช้งานระบบการแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหารและอาหารสัตว์ของอาเซียน (ARASFF) ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งระบบในปี 2551 จนถึงปัจจุบัน โดยมีรายการแจ้งเตือนทั้งหมดในระบบจำนวน 352 รายการ จากประเทศมาเลเซีย 232 รายการ ประเทศไทย 55 รายการ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 33 รายการ สิงคโปร์ 4 รายการ และฟิลิปปินส์ 1 รายการ

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ขอให้สมาชิกอาเซียนเพิ่มการแจ้งเตือนข้อมูลความปลอดภัยด้านอาหารและอาหารสัตว์ในระบบ ARASFF รวมทั้งร่วมกันผลักดันให้การแจ้งเตือนด้านความปลอดภัยอาหารของอาเซียนเป็นภาคบังคับ ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้รับทราบข้อมูล และจัดการความเสี่ยงได้อย่างรวดเร็ว และเป็นไปตามหลักความโปร่งใสของ WTO/SPS

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือความคืบหน้าของแผนปฏิบัติงานภายใต้ ARASFF ซึ่งประเทศไทยในฐานะผู้ดูแลระบบ (ARASFF Admin) ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบแจ้งเตือนระดับประเทศกับระบบแจ้งเตือนของอาเซียน เพื่อช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนและลดข้อผิดพลาดในการใส่ข้อมูล โดยปัจจุบัน มกอช. อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบเพื่อเชื่อมต่อระบบของไทยกับระบบของอาเซียน คาดว่าจะแล้วเสร็จและทดลองเชื่อมต่อได้ภายในปี 2566 ซึ่งสมาชิกอาเซียนหลายประเทศได้แสดงความสนใจต่อแนวทางการเชื่อมต่อที่ไทยเสนอ โดยเมื่อไทยทดลองเชื่อมต่อระบบได้สำเร็จแล้ว ผู้ดูแลระบบจะดำเนินการให้ประเทศผู้สนใจสามารถทดลองเชื่อมต่อระบบได้ต่อไป

ทั้งนี้ หลังจากที่อาเซียนได้พัฒนาเอกสาร ASEAN guideline on the establishment of food traceability system เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับ โดยเอกสารดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียน ครั้งที่ 43 เมื่อเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ในการประชุมครั้งนี้ ไทยได้เสนอให้มีการจัดฝึกอบรมด้านระบบตรวจสอบย้อนกลับสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยใช้เอกสารดังกล่าวเป็นพื้นฐาน เพื่อให้ความรู้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพและความน่าเชื่อถือของสินค้าเกษตรและอาหารของอาเซียนตลอดห่วงโซ่ โดยอาจขอรับการสนับสนุนด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญและงบประมาณจาก EU ARISE Plus โดย มกอช. จะแนะนำระบบ QR Trace ซึ่งเป็นระบบการตรวจสอบย้อนกลับของไทยที่พัฒนาโดย มกอช. สำหรับสินค้าที่ได้รับเครื่องหมาย Q ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทราบ และพิจารณาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับของอาเซียนต่อไป

"ระบบ ARASFF จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2552 โดยเป็นข้อเสนอของประเทศไทยในการพัฒนาระบบเพื่อยกระดับการแจ้งเตือนในสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ของอาเซียนให้มีความรวดเร็วและโปร่งใส โดยมี มกอช. เป็นผู้ดูแลระบบ"เลขาธิการ มกอช. กล่าว  

ที่มา: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ