คณะกรรมการอาหารและยาอนุมัติการขยายเวลาหมดอายุ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าในประเทศไทย

ศุกร์ ๐๘ เมษายน ๒๐๒๒ ๐๙:๕๙
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติการขยายเวลาหมดอายุวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) เป็น 9 เดือน โดยให้มีผลทันที
คณะกรรมการอาหารและยาอนุมัติการขยายเวลาหมดอายุ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าในประเทศไทย

เจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "การอนุมัติขยายเวลาหมดอายุวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเป็นข่าวที่น่ายินดี เนื่องจากจะเป็นประโยชน์และส่งผลดีต่อโครงการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถเก็บรักษาวัคซีนอย่างปลอดภัยได้นานขึ้นก่อนการใช้งาน และในขณะที่ประเทศไทยกำลังเร่งฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามแก่ประชาชน แอสตร้าเซนเนก้ายังคงเดินหน้าสนับสนุนรัฐบาลไทยในการส่งมอบวัคซีนเพื่อช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง"

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติการขยายเวลาหมดอายุวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า จาก 6 เดือนเป็น 9 เดือน ภายหลังจากการพิจารณาข้อมูลประกอบการวิเคราะห์อย่างละเอียด โดยการอนุมัติดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการโครงการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ให้กับประชาชนในประเทศไทย แอสตร้าเซนเนก้าและพันธมิตรทั่วโลก ได้ส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 กว่า 2.8 พันล้านโดสให้แก่กว่า 180 ประเทศ ทั่วโลก โดยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนวัคซีนดังกล่าวได้ถูกส่งมอบให้กับกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ

วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 กว่า 50 ล้านราย ป้องกันอาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 5 ล้านราย และได้ช่วยปกป้องชีวิตผู้คนกว่า 1 ล้านชีวิตจากโรคโควิด-19

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) เดิมเรียก AZD1222 ถูกคิดค้นโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 90 ประเทศ และจากการขึ้นทะเบียนสำหรับการใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกในครั้งนี้จะช่วยเร่งให้มีการเข้าถึงวัคซีนใน 144 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อบุคลากรทางการแพทย์ และ ผู้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.azcovid-19.com/asia/th/th.html

ที่มา: เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ