ครั้งแรกของไทย! "ซินโครตรอน"เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเครื่องเร่งอนุภาคระดับโลก IPAC'22

ศุกร์ ๐๘ เมษายน ๒๐๒๒ ๑๑:๒๗
ครั้งแรกของประเทศไทยในการจัดประชุมวิชาการระดับโลกด้านเครื่องเร่งอนุภาค โดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ในนามประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม IPAC'22 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 12-17 มิถุนายน 2565
ครั้งแรกของไทย! ซินโครตรอนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเครื่องเร่งอนุภาคระดับโลก IPAC'22

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ในนามประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านเครื่องเร่งอนุภาค 13th International Particle Accelerator Conference หรือ IPAC'22 ระหว่างวันที่ 12-17 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมระดับโลกทางด้านเครื่องเร่งอนุภาคนี้

ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ ประธานคณะกรรมการบริหารการจัดงาน IPAC'22 กล่าวว่า "IPAC เป็นการประชุมวิชาการด้านเครื่องเร่งอนุภาคที่มีความสำคัญและใหญ่ที่สุดของโลก และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยเวียนการเป็นเจ้าภาพใน 3 ทวีป คือ เอเชีย(รวมออสเตรเลีย) ยุโรป และอเมริกาเหนือ-อเมริกาใต้ สำหรับปีนี้เป็นวาระของทวีปเอเชีย และประเทศไทยโดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนแข่งขันและได้รับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพการจัดงานครั้งที่ 13 นี้ ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งนักวิชาการและผู้สนใจจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย วิศวกร และผู้ประกอบการด้านเครื่องเร่งอนุภาค"

ภายในงาน IPAC'22 จะมีการนำเสนอข้อมูลล่าสุดของการวิจัยและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาคทั่วโลก รวมทั้งการนำงานวิจัย เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้จริงในห้องปฏิบัติการ และในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนานักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย เยาวชนรุ่นใหม่ให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แสงซินโครตรอน เทคโนโลยีด้านเครื่องเร่งอนุภาค และตระหนักถึงการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ โดยมีผู้ส่งบทคัดย่องานวิจัยมากกว่า 1,900 เรื่อง และจะมีผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศประมาณ 1,200 คน

ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "การประชุมครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ทางด้านวิชาการและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักวิจัยทั่วโลก สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้สนใจด้านฟิสิกส์ เครื่องเร่งอนุภาค วิศวกรรม และนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและประชาสัมพันธ์ประเทศไทยได้อีกรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากการจัดงานจะมีผู้เข้าร่วมและติดตามจำนวนมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้เข้าประเทศในส่วนธุรกิจโรงแรม อาหาร และการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น จึงขอเชิญชาวไทยร่วมภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับโลกครั้งนี้"

พิเศษสำหรับผู้สมัครเข้าร่วมการประชุมภายในวันที่ 12 เมษายนนี้ จะได้รับส่วนลดค่าสมัครเข้าร่วมประชุม โดยจะปิดรับสมัครในวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ได้ที่ อีเมล [email protected] หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ipac22.org

ที่มา: สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

ครั้งแรกของไทย! ซินโครตรอนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเครื่องเร่งอนุภาคระดับโลก IPAC'22

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย