เอ็นไอเอ ร่วม 5 สถาบันอุดมฯ ปั้นโครงการเทรนเนอร์แล็บ ติดความรู้ 300 คุณครูผู้ปั้นนวัตกร พร้อมขยายฐานห้องเรียนเพิ่มทักษะนวัตกรรมเยาวชน 10,000 ราย

ศุกร์ ๐๘ เมษายน ๒๐๒๒ ๑๑:๔๓
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ 5 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดตัวโครงการ "STEAM4INNOVATOR Trainers' LAB การพัฒนาศักยภาพผู้สร้างนวัตกรอย่างเข้มข้น" เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างทักษะในกลุ่มบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเป้าพัฒนาผู้สร้างนวัตกรกว่า 300 คน เพื่อส่งต่อความรู้และทักษะสู่เยาวชนมากกว่า 2,000 คนในปี 2565 และยังมีแผนขยายผลความร่วมมือให้เข้าถึงเยาวชนได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 คน
เอ็นไอเอ ร่วม 5 สถาบันอุดมฯ ปั้นโครงการเทรนเนอร์แล็บ ติดความรู้ 300 คุณครูผู้ปั้นนวัตกร พร้อมขยายฐานห้องเรียนเพิ่มทักษะนวัตกรรมเยาวชน 10,000 ราย

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า 5 ปีที่ผ่านมา NIA มุ่งเป้าพัฒนานวัตกรเยาวชนให้กับประเทศ ภายใต้หลักสูตรพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรม STEAM4INNOVATOR ซึ่งเป็นแนวทางจัดการเรียนรู้สมัยใหม่ 4 ขั้นตอน ที่มุ่งเน้นกระบวนการให้เยาวชนสามารถสร้างสรรค์ผลงานเพื่อก้าวไปสู่การเป็น นวัตกรบนพื้นฐานของ STEAM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์) และมีมิติการนำแนวความคิดเชิงนวัตกรรมมาทำเป็นธุรกิจ โดยเริ่มปลูกฝังทั้งในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งส่งผลให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมได้อย่างโดดเด่น และสามารถนำไปต่อยอดสู่การพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม การเป็นนวัตกร สตาร์ทอัพ และอื่น ๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ เพื่อขยายผลโอกาสการเรียนรู้ในวงกว้างมากขึ้น NIA จึงได้ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือกับ 5 สถาบันการศึกษาที่ครอบคลุมทุกระดับทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ ราชภัฎ ราชมงคล และกลุ่มอาชีวศึกษา ในหลายพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งมีวิทยาเขตครอบคลุม 12 จังหวัด ในภาคเหนือ กลาง ใต้ และมีเครือข่ายศูนย์บ่มเพาะของวิทยาลัยอาชีวศึกษากระจายตัวทั่วประเทศ เพื่อพัฒนากำลังคนและเสริมสร้างปัจจัยที่สำคัญต่อการเกิดขึ้นของนวัตกร ได้แก่ 1 . Content เนื้อหา 2. Coaching การเป็นโค้ชนวัตกร 3. Connection เครือข่ายที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ และ 4. Cluster เครือข่ายเยาวชน เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมให้กับบุคลากรของสถาบันฯ และสามารถส่งต่อไปยังเยาวชนได้ ภายใต้โครงการ "STEAM4INNOVATOR Trainers' LAB การพัฒนาศักยภาพผู้สร้างนวัตกรอย่างเข้มข้น

ด้าน ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2565 นี้ การทำงานจะมุ่งสร้างความเข้มข้นของ 4C ด้วยการออกแบบแผนพัฒนาผู้สอนและพัฒนาศูนย์ส่งเสริมและถ่ายทอดกระบวนการคิดค้นนวัตกรรม เพื่อสร้างทักษะการเป็นนวัตกรให้กับเยาวชนอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่ 1. Content การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการ STEAM4INNOVATOR และการใช้เครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนร่วมกับผู้สอนหลักหรืออาจารย์แกนนำ สถาบันฯ ละ 6-12 คน 2. Coaching การปรับบทบาทและสร้างศักยภาพการเป็นโค้ชมืออาชีพให้กับครู อาจารย์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขยายผลจัดการอบรมพัฒนาให้กับนักศึกษาและนักเรียนเยาวชนในวงกว้าง ตั้งเป้าภาพรวม 5 สถาบันฯ จะสามารถสร้างโค้ชได้มากกว่า 300 คนภายในปีนี้ 3. Connection การเชื่อมโยงเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาเพื่อร่วมพัฒนาแนวคิดนวัตกรรมกับเยาวชน และร่วมจัดกิจกรรมนำร่องเพื่อขยายผลการพัฒนาเยาวชนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การทำค่าย การบรรจุลงเป็นรายวิชาในภาคการศึกษาของสถาบันฯ หรือการทำโครงการพิเศษเพื่ออบรมพัฒนาเยาวชน และ 4) Cluster การส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายนวัตกรเยาวชนเพื่อต่อยอดความคิดและประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งคาดว่าจะมากถึง 2,000 คนในปีนี้ ส่วนแผนการดำเนินการต่อเนื่องในปี 2566 ได้มีการหารือร่วมกันในการขยายผลในเชิงระบบซึ่งจะมีการสร้าง 4C ที่เข้มแข็งขึ้น จัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านนวัตกรรมในภูมิภาค เพื่อกระจายความรู้ไปยังเยาวชนและเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนในสถาบันฯ ซึ่งจะเข้าถึงเยาวชนได้มากกว่า 10,000 คนต่อปี"

ทางด้านผู้บริหารสถาบันฯ ผศ.นิศรา จันทร์เจริญสุข คณบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร. ล้านนา) กล่าวว่า "มทร.ล้านนามีพื้นที่จัดการเรียนการสอนครอบคลุม 6 พื้นที่ในเขตภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ตาก น่าน พิษณุโลก และเชียงราย เราจะมุ่งส่งเสริมบุคลากรของคณะ มหาวิทยาลัย รวมถึงโรงเรียนในเครือข่ายรวมทั้งสิ้น 104 คน เพื่อนำความรู้และทักษะไปพัฒนานักศึกษาที่จะจัดให้เข้ารับการอบรม STEAM4INNOVATOR จำนวน 180 คน ให้มีความพร้อมและมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม ภายใต้โจทย์แนวคิดธุรกิจ BCG ในปี 2565 นี้ และมุ่งเป้าจัดให้เป็นวิชาเรียนในคณะฯ ต่อไปในอนาคต"

ผศ.ดร.ชลกาญจน์ วงศ์ก่อทรัพย์ ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดเผยว่า "มจพ. มีแผนที่จะนำเครื่องมือการคิดค้นนวัตกรรมมาปรับใช้ในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดที่ช่วยให้นักศึกษาต่อยอดเป็นนวัตกรรมได้ และเชื่อมั่นว่า STEAM4INNOVATOR จะเป็นกระบวนการที่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้มองปัญหาเป็นโอกาสในการคิดสร้างสรรค์ และทำให้นักศึกษาสามารถสร้างนวัตกรรมจากช่องว่างที่ผู้อื่นอาจจะมองไม่เห็นได้ โดยในปี 2565 นี้จะเริ่มจัดสอนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวนไม่ต่ำกว่า 400 คนและเพิ่มจำนวนมากขึ้นในอนาคต"

รศ.ดร. ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) กล่าวว่า "มอ. จะพัฒนาอาจารย์แกนนำใน "หลักสูตรวิศวกรรมและการจัดการนวัตกรรม" หลักสูตรนานาชาติ เพื่อร่วมเป็นเครือข่ายในการพัฒนาผู้สร้างนวัตกรและถ่ายทอดกระบวนการ STEAM4INNOVATOR ในพื้นที่ภาคใต้ โดยวางแผนริเริ่มโครงการพิเศษ ต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อที่จะพัฒนาทักษะกระบวนการดังกล่าวให้กับเยาวชน นักศึกษา และขยายผลให้บริการแนะนำปรึกษาไปถึงกลุ่มอุตสาหกรรมและชุมชน เพื่อเป้าหมายในการสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมให้กับประเทศต่อไปในอนาคต พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้"

รศ.ดร.นันทรัตน์ นามบุรี คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (มรภ. ยะลา) ให้ข้อมูลว่า "ปัจจุบันมรภ. ยะลา ได้พัฒนาเยาวชนไปแล้วทั้งสิ้น 150 คนในช่วงนำร่องโครงการฯ ปี 2564 และครั้งนี้ได้มีการวางแผนดำเนินการพัฒนาเยาวชนทั้งสิ้น 345 คนในโครงการ GenZGenBiz ด้วยกระบวนการ STEAM4INNOVATOR โดยอาจารย์แกนนำและโค้ชนวัตกรของคณะวิทยาการจัดการเอง รวมถึงเครือข่ายอาจารย์จากคณะอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัยฯ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร พร้อมขยายงานไปยังสถาบันอุดมศึกษาเครือข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี นอกจากนี้ยังได้สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งภาคเอกชน ภาคสังคม และภาครัฐในพื้นที่ เพื่อร่วมสนับสนุนโครงการนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของน้อง ๆ เยาวชนด้วย"

ดร.นิติ นาชิต ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ รักษาการในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กล่าวว่า "สอศ. มีเป้าหมายในการนำหลักสูตร STEAM4INNOVATOR ขยายผลในการอบรมเสริมสร้างผู้ประกอบการ ภายใต้โครงการอาชีวะสร้างสรรค์แปรฝันสู่ธุรกิจ RRR AWARD โดยสร้างอาจารย์แกนนำและอาจารย์โค้ช รวมกว่า 150 คน เพื่อนำองค์ความรู้กระจายไปสู่ศูนย์บ่มเพาะทั่วประเทศ เป้าหมายสำคัญคือ สร้างทักษะให้แก่เยาวชนอาชีวศึกษาทั่วประเทศมากกว่า 4500 คนในแต่ละปี"

NIA และเครือข่ายสถาบันการศึกษาทั้ง 5 แห่ง มุ่งมั่นที่จะร่วมกันพัฒนา 4C ให้เข้มแข็ง เป็นต้นแบบในการขยายผลโครงการ "STEAM4INNOVATOR Trainers' LAB การพัฒนาศักยภาพผู้สร้างนวัตกรอย่างเข้มข้น" ต่อไปยังภาคีเครือข่ายในพื้นที่ต่าง ๆ ในอนาคต เพื่อสามารถเข้าถึงน้อง ๆ เยาวชนทั่วประเทศสอดรับกับแผนพัฒนานวัตกรรมภูมิภาคที่มุ่งยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมอย่างทั่วถึง

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

เอ็นไอเอ ร่วม 5 สถาบันอุดมฯ ปั้นโครงการเทรนเนอร์แล็บ ติดความรู้ 300 คุณครูผู้ปั้นนวัตกร พร้อมขยายฐานห้องเรียนเพิ่มทักษะนวัตกรรมเยาวชน 10,000 ราย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ