เมื่อ Digital Transformation คือจุดเปลี่ยนของธุรกิจอุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย

จันทร์ ๑๑ เมษายน ๒๐๒๒ ๑๕:๕๓
อุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย ต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 รายงานจากศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ระบุว่าครึ่งปีแรกของปี 2563 มีโรงงานผลิตสิ่งทอที่ได้รับผลกระทบและต้องปิดตัวไปถึง 32 ราย ผู้ประกอบการค้าปลีกและส่งต้องประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจจากการ lockdown ในขณะที่พฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนมาใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมาพิจารณาช่องทางออนไลน์
เมื่อ Digital Transformation คือจุดเปลี่ยนของธุรกิจอุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย

การปรับตัวด้วยการเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล หรือ Digital Transformation จึงเป็นโอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการ SMEs และสิ่งสำคัญของการปรับธุรกิจสู่ดิจิทัลคือองค์ความรู้ ล่าสุดธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ร่วมมือกับ The FinLab จัดงานสัมมนาภายใต้โครงการ Smart Business Transformation (SBTP) ในหัวข้อ "เมื่อ Digital Transformation คือจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าไทย" โดยเชิญ 3 ผู้ประกอบการที่อยู่ในโครงการ SBTP เจ้าของแบรนด์ที่ใครๆ ต่างรู้จัก ได้แก่ คุณวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล CEO บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด เจ้าของแบรนด์ "วอริกซ์" แบรนด์เสื้อผ้า รองเท้ากีฬาสัญชาติไทย ที่ท้าชนแบรนด์ระดับโลกด้วยกลยุทธ์ออนไลน์ คุณคุณากร ธนสารสมบัติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานไทยแลนด์ นิตติ้ง จำกัด เจ้าของแบรนด์เสื้อยืดตราห่านคู่ แบรนด์เสื้อยืดที่ อยู่คู่กับคนไทยมาหลายทศวรรษ และมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวชัดเจน และคุณศิพิมพ์ อุ่นวรวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด และอีคอมเมิร์ซ บริษัท วี.พี.อาร์.เอส. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นผู้ชาย DAVIE JONES แบรนด์ไทยที่กำลังเป็นที่นิยมมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ องค์ความรู้รวมถึงมุมมองที่มีต่อการทำ Digital Transformation ที่ทำให้ทั้ง 3 แบรนด์ยังเติบโตได้ท่ามกลางความท้าทายที่เกิดขึ้น

ความท้าทายของธุรกิจอุตสาหกรรมเสื้อผ้า

เทคโนโลยีดิจิทัลและแพลตฟอร์มออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญทำให้ผู้คนสามารถปลดล็อกการใช้ชีวิตแบบเดิม ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าได้โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังร้านค้า และพฤติกรรมดังกล่าวก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ระบุว่า มูลค่าของ e-commerce ไทยในช่วงปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาดนั้นมีมูลค่าสูงถึง 3.78 ล้านบาทและยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอีก นั่นจึงทำให้ผู้ประกอบการที่มองเห็นโอกาสตัดสินใจหันมาปรับตัวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล

คุณวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล CEO บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด กล่าวว่า "เราตัดสินใจก้าวเข้าสู่ดิจิทัล ตั้งแต่ที่เราชนะงานประมูลชุดกีฬาทีมไทยได้ในช่วงปี 2560 ตั้งแต่ก่อนโควิด-19 จะเริ่มระบาด โดยฝ่ายบริหารของเรามองเห็นความท้าทายและตัดสินใจที่จะเปิดใจรับคำท้าทายนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลที่กำลังเข้ามามีผลต่อการดำเนินธุรกิจ โดยตัวผมได้เข้าฝึกอบรมหลักสูตรในด้าน customer journey และอีกหลายๆ อย่าง ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์ และสร้างวิสัยทัศน์ที่ช่วยเร่งความเร็วของการปรับปรุงส่วนต่างๆ ถ้าเราไม่ตัดสินใจลงทุนในเรื่องของ Digital Transformation ตั้งแต่ปี 2560 เราคงไม่ได้มาอยู่ตรงจุดนี้"

ขณะที่ คุณคุณากร ธนสารสมบัติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานไทยแลนด์ นิตติ้ง จำกัด กล่าวว่า "แบรนด์ห่านคู่มีการปรับตัวตามยุคสมัยและเข้ากับเทรนด์ตามช่วงเวลามาโดยตลอด เรามองว่าช่องทางออนไลน์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นมากถ้าหากเราตั้งเป้าจะอยู่ดำเนินธุรกิจให้คงอยู่ได้ถึง 100 ปี เราต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม และการได้เข้าร่วมโครงการ SBTP ถือเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยเราได้มาก"

ด้านคุณศิพิมพ์ อุ่นวรวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด และอีคอมเมิร์ซ บริษัท วี.พี.อาร์.เอส. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า "เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างชัดเจน ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน เราต้องการที่จะรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด เพื่อรู้จักลูกค้าและความต้องการของพวกเขา เพราะความท้าทายของแบรนด์ DAVIE JONES คือการเกิดของแบรนด์เสื้อผ้ารายใหม่ที่เข้ามาแข่งขันชิงพื้นที่ในตลาดกับเรา ดังนั้นเราจึงต้องสร้างตัวตนที่ชัดเจนและมีคุณภาพของสินค้าที่ดี เมื่อเรา transform มาสู่แพลตฟอร์มออนไลน์แล้ว เราสามารถรู้จักลูกค้าของเราได้รวดเร็วขึ้น แพลตฟอร์มการขายทางออนไลน์ช่วยให้เรามียอดขายพุ่งทะยานได้ ขณะที่ยอดขายจากออฟไลน์มีประมาณ 20% เท่านั้น"

ก้าวแรกที่มั่นคงสู่ความเป็นดิจิทัล

ธุรกิจจะยั่งยืนด้วยก้าวแรกที่มั่นคง การปรับเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลก็เช่นเดียวกัน SMEs ต้องมีกลยุทธ์และแนวทางที่ชัดเจนในการเลือกแนวทางและเทคโนโลยีที่จะใช้ในการปรับตัวเองให้เข้าสู่ความเป็นดิจิทัลและมีศักยภาพในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยทั้ง 3 แบรนด์ วอริกซ์ ห่านคู่ และ DAVIE JONES ต่างก็มีแนวทางที่น่าสนใจสำหรับก้าวแรกในการติดอาวุธสู่ความเป็นดิจิทัล

คุณวิศัลย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า "เราเริ่มต้นจากจุดปลายทางที่ช่องทาง e-commerce เป็นอันดับแรก และเราเห็นความสำคัญของการทำ Data Management การลงทุนกับเว็บไซต์ การมี AI เราเพิ่มการลงทุนทางด้านเว็บไซต์มากขึ้น เพราะเราตระหนักเป็นอย่างดีว่าช่องทางนี้มีความสำคัญ สำหรับระบบบริหารจัดการส่วนกลางเราได้เชื่อมระบบซัพพลายต่างๆ และใช้ SAP B1 ในส่วนของระบบการทำงานหลังบ้านให้สามารถดำเนินงานได้เรียบร้อย เชื่อมต่อได้ดีขึ้น จากนั้น เราจึงกลับมาลงทุนในส่วนของการปรับปรุงหน้าร้านให้ดีขึ้น ซึ่งเรามองว่าจะสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง"

"เรายังมองไปถึง Metaverse เพียงแต่ยังเป็นเรื่องใหม่ เราต้องอัปเดตองค์ความรู้อยู่เสมอเพราะการเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น ทุกวันนี้มีเครื่องมือทางการตลาดออกมาใหม่มากมาย ในขณะที่ธนาคารยูโอบีก็ช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้และมอบประโยชน์กับ SMEs ให้ก้าวสู่ความสำเร็จ พร้อมยังช่วยสนับสนุนการเปิดธุรกิจในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ผ่านเครือข่ายของธนาคารที่แข็งแกร่งได้อีกด้วย"

คุณคุณากร กล่าวว่า "ในส่วนของห่านคู่นั้น เราต้องการเน้นไปที่ e-commerce, social commerce รวมทั้งการมีระบบจัดการหลังบ้านที่แข็งแกร่ง โดยเราได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของ The FinLab และได้ติดตั้ง ERP เพื่อเชื่อมต่อกับระบบ supply chain เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในให้ดีขึ้นได้มาก การมีเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้เรามองภาพได้ชัดขึ้น เห็น segment กลุ่มลูกค้าต่าง ๆ ได้ชัดเจน สามารถที่จะรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการประเมินได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุมมากขึ้น จากการประเมินด้วยข้อมูลที่เคยเป็น mass ก็มาสู่ประเมินได้อย่างเรียลไทม์เหมาะสำหรับปรับตัวให้สามารถรองรับลูกค้าได้มากขึ้น"

คุณศิพิมพ์ กล่าวว่า "โครงการ SBTP ช่วยให้เราสามารถสร้างแบรนด์ของตัวเองได้ ซึ่งสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์เราได้ ทำให้เรามีศักยภาพสามารถทำอะไรได้มากกว่าเดิม และยังขยายธุรกิจไปที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก นอกจากนี้ เรายังได้รู้จักกับพันธมิตรรายอื่นๆ ที่เข้าร่วมโครงการ และได้เข้ามาร่วมให้การสนับสนุนเราตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของการทำการตลาด เช่นการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ของเราซึ่งเป็นเสื้อผ้า การที่เราได้รับความช่วยเหลือในด้านองค์ความรู้ของการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ จะช่วยให้เราสามารถนำเสนอสินค้าของเราออกมาได้อย่างชัดเจนในทุกองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ของเรา"

ต้องกล้าถ้าไม่อยากหายไปจากตลาด

เพราะ Digital Transformation คือการลงทุนกับเทคโนโลยีและสิ่งใหม่ๆ ขณะที่ SMEs ก็ต้องพิจารณาประเมินความเสี่ยงและความคุ้มค่าต่อการลงทุน จึงทำให้ผู้ประกอบการบางรายยังมีความลังเลอยู่ ในประเด็นดังกล่าว SMEs ทั้ง 3 รายที่มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ ก็ให้ข้อคิดที่น่าสนใจไว้ดังนี้

"ผู้ประกอบการต้องตระหนักเสมอว่าทุกวันนี้เต็มไปด้วยความเสี่ยง คิดแล้วต้องลงมือทำ ประเมินความเสี่ยง แล้วเดินหน้า และมองไปยังตลาดดิจิทัล อย่าคิดว่าสายแล้วเลยจะทำ เพราะถ้าเราไม่ทำ เราก็จะหายไปเลย" คุณคุณากร กล่าว

"ตอนที่เริ่มลงมาทำธุรกิจด้านเสื้อผ้าเราเคยได้รับคำเตือนว่าตลาดเสื้อผ้าอยู่ในช่วงขาลงแต่นั่นไม่ใช่ความจริงเลย เพราะเราเห็นแล้วว่าตลาดนี้มีโอกาสเกิดใหม่ สามารถสร้างโอกาสใหม่ได้มากมาย ผู้บริหารต้องสร้างแบรนด์ให้มีความแปลกใหม่ ต้องหาทางฉีกออกมาจากตลาดที่แข่งขันด้วยราคาให้ได้หันมาสร้างแบรนด์ให้มีคุณค่า เพราะตราบใดที่คนยังต้องใส่เสื้อผ้าออกจากบ้าน ดีมานด์ก็จะเกิดขึ้น ผู้ประกอบการต้องเดินให้ถูกทางกับความต้องการของลูกค้า ดังนั้นการสร้างแบรนด์ที่ตอบโจทย์จึงมีความสำคัญมากๆ" คุณวิศัลย์ กล่าว

"การที่เรากระโดดเข้าในโลกดิจิทัลนั้นเรามองว่า เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีตัวตนที่ชัดเจนขึ้น เราสามารถเข้าหาลูกค้าได้ตรง ลูกค้าก็เข้าหาเราได้โดยตรง การมีตัวตนนั้นไม่ว่าเราจะทำธุรกิจใด หรือเสื้อผ้าประเภทใดก็ตาม ตัวตนของเราจะต้องมีความชัดเจนทั้งในด้านคาแรคเตอร์ของสินค้าและจุดยืนอันเป็นเอกลักษณ์ที่ลูกค้าเห็นแล้วรู้ทันทีว่านี่คือเรา ซึ่ง Digital Transformation เป็นเครื่องมือที่จะเสริมให้ตัวตนของเราบนโลกออนไลน์นี้มีความเด่นชัดยิ่งขึ้น อีกทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันก็หันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เราจึงมองว่าการเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ ไม่มีคำว่าช้าไป เพราะเทคโนโลยียังมีอะไรใหม่ ๆ ที่พัฒนาออกมาช่วยเสริมในด้านธุรกิจอีกมากมาย" คุณศิพิมพ์ กล่าว

นางสาวสิรินันท์ จิรดิลก ผู้อำนวยการอาวุโส Digital Engagement & FinTech Innovation ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า เพราะSMEs เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจประเทศ หาก SMEs มีความแข็งแกร่ง เศรษฐกิจของชาติก็จะเข้มแข็งตามไปด้วย ด้วยจุดแข็งจากการที่เราเป็นธนาคารระดับภูมิภาค เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถสนับสนุนการปรับธุรกิจสู่ดิจิทัลและเติบโตของลูกค้าอย่างยั่งยืนได้ทั้งภายในและต่างประเทศโครงการ Smart Business Transformation หรือ SBTP ดำเนินการโดยธนาคารยูโอบี ประเทศไทยจับมือกับ The FinLab หน่วยงานบ่มเพาะนวัตกรรม (Innovation Accelerator) พร้อมด้วยความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลากหลายองค์กรพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) องค์กรพันธมิตรภาคเอกชน รวมถึงผู้ให้บริการดิจิทัลโซลูชันต่างๆ เพื่อสนับสนุนและพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทยให้สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ

SMEs ที่มีความต้องการและความพร้อมปรับธุรกิจสู่ดิจิทัล สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ Smart Business Transformation ได้จนถึงวันที่ 18 เม.ย. 2565 ได้ทาง https://go.uob.com/34u5f60 ดูข้อมูลโครงการเพิ่มเติมหรือติดตามข่าวสารได้ทาง www.Thefinlab.com/Thailand

ที่มา: พีอาร์ วัน เน็ทเวิร์ค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม
๑๖:๒๙ เพลิดเพลินไปกับหลากหลายซุ้มอาหารรสเด็ดจากร้านดัง กับ ร้านดัง รสเด็ด บุฟเฟ่ต์ สตรีทฟู้ด รสเลิศใต้แสงดาว @พูลไซด์ ครั้งที่
๑๖:๑๕ กรมโยธาธิการและผังเมือง จับมือ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ลงนามความร่วมมือ (MOU) ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
๑๖:๔๖ LINE NEXT เปิดตัว Mini Dapps บนแอปพลิเคชัน LINE แล้ววันนี้
๑๖:๕๐ แนวทางสร้างสรรค์นวัตกรรม IoT: AI และอนาคตของการผลิตในภาคอุตสาหกรรม
๑๖:๐๘ สโคป หลังสวน ปล่อยแคมเปญเตรียม SOLD OUT 20% สุดท้าย The Debonair Edition 2 ห้องนอนที่แกรนด์ที่สุด พร้อมข้อเสนอเหนือระดับ
๑๖:๕๗ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จับมือ JAM ส่งอีเวนต์สุดปังตลอดปี 2568 ปลุกตลาดอนิเมะในไทย ประเดิมงานแรกนิทรรศการอนิเมะสุดยิ่งใหญ่ Muse Anime Festival 2025 ชมฟรี!! ชั้น 4 โซน
๑๖:๒๕ สองสถาบันประชุมเตรียมความพร้อม จัดงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครั้งที่ 75
๑๖:๒๙ ภาวะซึมเศร้าซ่อนเร้น Masked Depression ภัยเงียบที่คุณอาจมองไม่เห็น