ตอบโจทย์ยุค EV มาแรง ม.เทคโนโลยีมหานคร เซ็น MOU สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า

พฤหัส ๒๑ เมษายน ๒๐๒๒ ๑๓:๑๑
ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก จากข้อมูลคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30/30 คือการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ.2573 ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) ในอนาคต ซึ่งขณะนี้หลาย ๆ ประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ได้กำหนดเป้าหมายและมาตรการที่ชัดเจนในการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า EV
ตอบโจทย์ยุค EV มาแรง ม.เทคโนโลยีมหานคร เซ็น MOU สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า

ด้านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) ร่วมกับ สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (PVET) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "โครงการพัฒนาระบบนวัตกรรม" เพื่อร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาด้าน 'เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า' (EV) ให้กับวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรในอนาคต ให้มีความล้ำหน้า ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันและอนาคต โดยมี ผศ.ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และ ดร.ประเสริฐ กลิ่นชู นายกสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ และผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (E-TECH) เป็นผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคาร Mahanakorn Institute of Innovation : MIIX มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

ผศ. ดร. ภานวีย์ โภไคยอุดม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กล่าวว่า ความร่วมมือ 'โครงการพัฒนาระบบนวัตกรรม' ในครั้งนี้เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ในการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาโดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการออกแบบและพัฒนารถไฟฟ้า ทั้งรถไฟฟ้าขนาดเล็กและรถไฟฟ้าขนาดกลางเพื่อการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นส่งเสริมศักยภาพให้กับนักเรียนในเครือข่ายสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยทั่วประเทศ ให้มีทักษะในการปฏิบัติงานจริง เมื่อผ่านการฝึกจากชุดฝึกของโครงการ ซึ่งออกแบบให้เหมาะสม มั่นใจ และสามารถยกระดับเยาวชนอาชีวศึกษาให้มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าที่พร้อมก้าวไกลสู่ระดับโลก

ที่ผ่านมาแนวทางการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ ของ ม. เทคโนโลยีมหานคร มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ Problem-based Learning หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า PBL คือ การนำปัญหาที่นักศึกษาอาจจะพบเจอในอนาคตมาฝึกให้นักศึกษาหัดแก้ปัญหาตั้งแต่ยังเรียนอยู่ เสมือนเป็นการเตรียมพร้อมก่อนออกไปสู่การทำงานจริงหลังจากจบการศึกษาแล้ว ดังนั้น ในระหว่างการฝึกหัดแก้ปัญหานี้ นักศึกษาย่อมเกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นได้ด้วยตนเอง อาทิเช่น การทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น การกำหนดประเด็นปัญหา การระดมสมองเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา การช่วยกันออกแบบ การทำต้นแบบ การนำต้นแบบมาทดสอบเสมือนกับการใช้งานจริง ดังนี้ การวิจัยและพัฒนาออกแบบชุดฝึกครั้งนี้ทางทีมนักวิจัยได้พัฒนาทั้งด้าน Hardware (ฮาร์ดแวร์) และ ซอฟต์แวร์ (software) รวมถึงวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีด้านยานยนต์ไฟฟ้าให้กับบุคลากร อาจารย์ผู้สอนให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของเด็กในยุคปัจจุบันมากที่สุด

ด้าน ดร. ประเสริฐ กลิ่นชู นายกสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ด้วยความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาคม และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครที่มีมาอย่างยาวนาน และความเชื่อมั่นในศักยภาพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครที่เป็น ม.เอกชนอันดับหนึ่งด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ จึงเป็นแนวทางความร่วมมือที่เข้มแข็งและการร่วมดำเนินการที่ชัดเจนตามวัตถุประสงค์ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้กับนักเรียนนักศึกษาในเครือข่ายสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ที่มีมากกว่า 400 แห่งทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาทักษะบุคลากรของทั้งสองฝ่ายอีกด้วย

ด้วยความพร้อมของ ม.เทคโนโลยีมหานคร ทั้งในเรื่องของสถานที่ อุปกรณ์ คณาจารย์และบุคลากรที่ความเชี่ยวชาญ ทางสมาคมเล็งเห็นว่านี่เป็นโอกาสอันดีอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาช่างยนต์จะได้พัฒนาความรู้และทักษะด้านยานยนต์ไฟฟ้า ให้เกิดความมั่นใจและสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปต่อยอดและใช้งานได้จริงในทางปฏิบัติ

จากนโยบายรัฐบาลที่มีความชัดเจนในการขับเคลื่อนและส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) มากขึ้น จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี มีการลงทุนจากต่างประเทศในไทยมากขึ้นทั้งด้านผลิตรถยนต์ ผลิตแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้ายานยนต์ของไทยและช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ดังนั้น นักเรียน นักศึกษา ที่จบระดับม. 3 หรือ ม. 6 ที่อยากจะเรียนต่อสายอาชีพ และนักเรียนที่จบการศึกษาสายอาชีพ ระดับ ปวช. หรือ ปวส. รวมถึงผู้ปกครอง สามารถมั่นใจได้ว่าการเลือกเรียนสายอาชีวศึกษาในสาขายานยนต์ไฟฟ้านี้ จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เมื่อเรียนจบมาแล้วมีงานรองรับเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตอย่างแน่นอน

ในขณะเดียวกันเมื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้านยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลก หลายประเทศหันมาให้ความสำคัญในการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ทั้ง ม. เทคโนโลยีมหานครและสมาคมเอง นอกจากจะมุ่งเน้นพัฒนาด้านการศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว เรายังตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแน่นอนว่า การสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนนักศึกษาและการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งในทางตรงและทางอ้อม รวมถึงการที่ผู้คนหันมาใช้รถพลังงานสะอาดมากขึ้น นอกจากช่วยลดปัญหามลภาวะเป็นพิษทางอากาศแล้ว จะช่วยให้เกิดความสมดุลแห่งชีวิตของคนในสังคมเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

ที่มา: แพมพลัสพลัส

ตอบโจทย์ยุค EV มาแรง ม.เทคโนโลยีมหานคร เซ็น MOU สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version