ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จับมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโครงการ Go Green มุ่งวางรากฐานธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เยาวชนไทย

อังคาร ๒๖ เมษายน ๒๐๒๒ ๑๔:๒๑
ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย หรือ HPT เผยถึงความร่วมมือกับคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางทะเล พร้อมทั้งโอกาสในการฝึกงาน รวมถึงความร่วมมือในด้านงานวิจัยและออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสมต่อการเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างศักยภาพแก่นักศึกษาให้มีโอกาสได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงและต่อยอดสู่การเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต
ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จับมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโครงการ Go Green มุ่งวางรากฐานธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เยาวชนไทย

Go Green เป็นอีกหนึ่งโครงการของ ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ภายใต้แผนงาน "อนาคตแห่งความยั่งยืนของเรา (Our Sustainable Future)" ที่จัดทำขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก รวมถึงสภาพสังคมและบรรทัดฐานในการดำเนินธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนไปในปัจจุบัน แผนงานดังกล่าวครอบคลุมสามแกนหลักที่สำคัญขององค์กร ได้แก่ สิ่งแวดล้อม บุคลากร และธุรกิจ โดยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือทางวิชาการของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย ที่ต้องการสนับสนุนให้สถาบันระดับอุดมศึกษาได้มอบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงสุด ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาสู่ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการขนส่งทางทะเลอีกด้วย

มร. สตีเฟ้นท์ อาร์ชเวิรท (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ฮัทชิสัน พอร์ท ประจำประเทศไทย และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "การทำงานร่วมกับชุมชนของเราเพื่อสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เราทำ มีความสำคัญต่อฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย และการพัฒนาความร่วมมือกับคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย เรามีความพร้อมที่จะต้อนรับนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยสู่ท่าเทียบเรือของเรา เพื่อแบ่งปันความรู้แก่พวกเขาอันจะเป็นการเสริมความเข้าใจในเนื้อหาของหลักสูตรที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่ และยังเป็นการเสริมความเข้าใจในหน้าที่การงานและธุรกิจของเรามากยิ่งขึ้นอีกด้วย"

ผศ.ดร. ศรินยา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คณบดีคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา กล่าวว่า "เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการท่าเทียบเรือระดับโลกอย่าง ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย เพราะนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์ การทำงานในชีวิตจริง เพื่อเติมเต็มในสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัย ขณะที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้กระตุ้นให้ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือเปลี่ยนวิธีการดำเนินงาน ซึ่งจากโครงการนี้นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์ตรงจากผู้นำในอุตสาหกรรมว่าได้ริเริ่มและดำเนินการอย่างไรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ สิ่งนี้นับเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าสำหรับนักศึกษาและบุคลากรของเราเป็นอย่างมาก"

ความร่วมมือในโครงการ Go Green 2022 ระหว่าง ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเริ่มด้วย 2 กิจกรรมหลัก คือ

  1. การปลูกต้นไม้
  2. การรีไซเคิลหรือการมอบชีวิตใหม่ให้กับวัสดุที่เหลือใช้แล้ว

ทั้งนี้ ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานด้านการริเริ่มพัฒนาทั้งหมดของคณะกรรมการด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัทฮัทชิสัน ที่มีเป้าหมายในการแบ่งปันความรู้เพื่อให้เกิดการดำเนินแนวปฏิบัติที่ดีต่อโลกอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ที่มา: สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์

ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย จับมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโครงการ Go Green มุ่งวางรากฐานธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เยาวชนไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ