โดยศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงนามความร่วมมือพร้อมด้วยผู้แทนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 8 แห่ง เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัย และการส่งเสริมขับเคลื่อนโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ภายใต้กรอบการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ สนับสนุนงานวิชาการที่นำไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ของชาติ เชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ต่อยอดไปสู่นวัตกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายอย่างเป็นรูปธรรมนำไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา สร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าของคนในท้องถิ่น ณ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ในโอกาสนี้ อธิการบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบอย่างยั่งยืน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิเชษ ทิพย์ประเสริฐ ผู้ช่วยอธิการบดี เชียงราย เข้าร่วมการประชุมสัมมนา เพื่อรับมอบนโยบาย การขับเคลื่อนการพัฒนาวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts: TASSHA) หรือ "ธัชชา" และเรื่องการยกระดับคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา การผลิตและการพัฒนาครู โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมของประเทศ หรือ "ธัชชา" เป็นการขับเคลื่อนโครงการโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการบูรณาการ การเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรมของประเทศ ด้วยสหวิทยาการ ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ โดยมีวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts: TASSHA) หรือ "ธัชชา" เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ธัชชาจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการวิจัยพัฒนาสาขาสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ และ การบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ มีความสำคัญ อย่างยิ่งต่อระบบการวิจัย และ นวัตกรรมของประเทศ ซึ่งจะนำมาสู่การแก้ปัญหา แบบองค์รวม การสร้างเทคนิค องค์ความรู้ การพัฒนางานวิจัยใหม่ๆ ที่เชื่อมโยง สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน และอนาคต โดยจะขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และ ศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศ ไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ของชาติ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการเชื่อมโยงประเทศไทยเข้ากับภูมิภาคและโลกต่อไป