วว. ผนึกกำลังพันธมิตรจังหวัดลำปาง สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตรไม้ดอก ไม้ประดับ พืชอัตลักษณ์

อังคาร ๑๐ พฤษภาคม ๒๐๒๒ ๑๔:๐๙
ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง รศ.ดร.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดี มหาวิทยาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และ ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในรูปแบบเสมือนจริงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในโครงการใช้เทคโนโลยีผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตรไม้ดอกไม้ประดับและพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปาง
วว. ผนึกกำลังพันธมิตรจังหวัดลำปาง สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตรไม้ดอก ไม้ประดับ พืชอัตลักษณ์

เพื่อเสริมสร้างความร่วมมืออย่างบูรณาการตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของกระทรวง อว. สนับสนุน ส่งเสริมความเข้มแข็งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชน และสังคมสู่ความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นในการวิจัยและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดลำปาง โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 2 ปี โอกาสนี้ นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. นางสาวรตนพร กิติกาศ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปาง รศ.ธิติมา คุณยศยิ่ง ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผศ.วรวุธ ชัยเนตร ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมเป็นสักขีพยาน ในการนี้ผู้บริหาร บุคลากรทั้ง 4 หน่วยงานร่วมเป็นเกียรติด้วย ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2565

"...การผนึกกำลังของ วว. และพันธมิตรจังหวัดลำปางครั้งนี้  มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรไม้ดอกไม้ประดับและชีวภาพ อาหาร เวชสำอางไทย และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ  พัฒนาวิธีการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่จังหวัดลำปางให้มีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและรักษาเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติของจังหวัดลำปาง   ร่วมกันผลักดันผู้ประกอบการ ผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ของจังหวัดให้มีความสามารถด้านพัฒนาตนเองด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้ตอบสนองและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นวัตกรรม และตลาดในอนาคต  รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการนำรายได้คืนสู่การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชน ท้องถิ่น ที่เป็นฐานรากของทรัพยากรนั้นไว้ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและทั่วถึงต่อไป..." ผู้ว่าการ วว. กล่าว

นอกจากนี้ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ทั้ง 4 หน่วยงานยังมุ่งเน้นการบริหารจัดการองค์ความรู้และพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างด้านศักยภาพ  องค์ความรู้ และทักษะ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดลำปางที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมนิสิต/นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การใช้ห้องปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้ ทำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืช ไม้ดอกไม้ประดับ เครื่องสำอาง  อาหารเสริม หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอื่นๆ รวมทั้งการฝึกงานระดับบัณฑิตและมหาบัณฑิตศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับคำแนะนำปรึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันจาก วว. ติดต่อได้ที่ โทร. 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 E-mail : [email protected] Line@TISTR IG : tistr_ig

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

วว. ผนึกกำลังพันธมิตรจังหวัดลำปาง สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตรไม้ดอก ไม้ประดับ พืชอัตลักษณ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ