PACO โชว์กำไรไตรมาสนี้ 16.9 ล้านบาท เตรียมขยายธุรกิจ REM & OEM เต็มสูบ มั่นใจได้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมผลิตรถ EV บูมแรง และเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง

อังคาร ๑๐ พฤษภาคม ๒๐๒๒ ๑๖:๒๕
"PACO" หรือ บมจ.เพรสซิเด้นท์ ออโตโมบิล อินดัสทรีส์ เผยผลประกอบการไตรมาส 1/2565 มีรายได้รวม 181 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 16.9 ล้านบาท ลุยขยายธุรกิจ OEM & REM คาดตลาดรถยนต์ EV บูม มั่นใจตลาดรถยนต์โลกฟื้นตัวดี หนุนรายได้เติบโต
PACO โชว์กำไรไตรมาสนี้ 16.9 ล้านบาท เตรียมขยายธุรกิจ REM OEM เต็มสูบ มั่นใจได้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมผลิตรถ EV บูมแรง และเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่อเนื่อง

นายสมชาย เลิศขจรกิตติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพรสซิเด้นท์ ออโตโมบิล อินดัสทรีส์ จำกัด (มหาชน) ("PACO") กล่าวว่า บริษัทฯ มีความยินดีที่จะรายงานผลประกอบการไตรมาส1/2565 ซึ่งบริษัทฯ มีรายได้รวม 181 ล้านบาท ลดลง 0.6 % จากรายได้รวม 182 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2564 มีกำไรขั้นต้น 30.8 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 16.9 ล้านบาท ลดลง 41% เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ 28.7 ล้านบาทในไตรมาส 1/2564 ซึ่งรายได้รวมของ PACO ปรับลดลงสาเหตุมาจากการระบาดสถานการณ์โควิด 19 ซึ่งในปี้ บริษัทคาดว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ตามอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง ตามสภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะฟื้นตัวและกลับสู่การเติบโตอีกครั้ง

PACO มีอัตรากำไรสุทธิ (Net Margin) ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1 ปีนี้ เรามีอัตรากำไรสุทธิที่ 9.3% สูงกว่าอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยของผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ OEM ที่ประมาณ 5-10% เนื่องจาก PACO เน้นตลาดอะไหล่ทดแทน (Aftermarket Parts) จึงสามารถกำหนดราคาขายสินค้าได้เอง และมีการแข่งขันด้านราคาที่น้อยกว่า โดยอัตรากำไรสุทธิของบริษัทฯ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 12% ในปีก่อน"

นายสมชายกล่าวเสริมว่า "สำหรับแผนการขยายธุรกิจในปีนี้ PACO มุ่งมั่นที่จะขยายทั้งตลาดส่งออก และตลาดในประเทศซึ่งจะใช้กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายร้านอะไหล่แอร์รถยนต์ครบวงจร ภายใต้แบรนด์ PACO Auto Hub (พาโก้ ออโต้ ฮับ) เพื่อสร้างแบรนด์ PACO ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ในประเทศ เพื่อเพิ่มยอดขายในประเทศและเสริมความแข็งแกร่งด้านช่องทางการจำหน่ายสินค้า และสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ แบรนด์ของคนไทย โดยเราตั้งเป้าหมายที่ จะมีร้าน PACO Auto Hub จำนวน 300 สาขาภายในปีนี้ จากปัจจุบันได้เปิดไปแล้วกว่า 150 สาขา ทั่วประเทศ โดยภายในร้านจะจำหน่ายผลิตภัณฑ์ คอยล์ร้อนและคอยล์เย็นแบรนด์ PACO เป็นหลัก และมีสินค้าอื่นๆ อาทิเช่น ท่อน้ำยาแอร์ น้ำยาแอร์ เพื่อเป็นการให้บริการลูกค้าแบบครบวงจรในที่เดียว (One-Stop Solutin)

นอกจากนี้ PACO เตรียมขยายตลาดส่งออก ซึ่งปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้ดี ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกซึ่งนำโดย สหรัฐอเมริกา และ จีน จากความสามารถในการควบคุมโรคโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคกลับมา อีกทั้ง ปัญหาเรื่องการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ได้คลี่คลายลงอย่างมาก ทำให้บริษัทฯ สามารถส่งออกเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ PACO คาดว่าจะได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ในครึ่งปีหลังอีกด้วย โดยบริษัทฯ มุ่งเน้น ตลาดตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกา และอาเซียน โดยในครึ่งปีหลัง PACO เตรียมจะจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับประเทศไทย เพื่อเจาะตลาด และเพิ่มยอดขายในมาเลเซียอย่างมีประสิทธิภาพ "

PACO เชื่อมั่นว่า บริษัทฯจะได้รับประโยชน์จากนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของรัฐบาล ที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็น 1 ในศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV Hub) ของเอเชีย เนื่องจาก PACO เป็นผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนแอร์รถยนต์ (OEM Manufacturer) ที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี และมีประสบการณ์ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า คือ Battery cooler และ ชิ้นส่วนแอร์รถยนต์สำหรับรถไฟฟ้า (EV) แบบ BEV (Battery EV) และ PHEV (Plug-in Hybrid) ในรูปแบบอะไหล่ทดแทน (REM) เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ"

PACO ประสบความสำเร็จในการเข้าสู่ธุรกิจ OEM หรือ รับจ้างผลิตชิ้นส่วนแอร์รถยนต์ให้ผู้ผลิตรถยนต์ โดยได้เซ็นต์สัญญากับลูกค้าใหญ่รายแรกคือ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่มุ่งเน้นรถยนต์ไฟฟ้า EV และ Plug-in Hybrid (PHEV) ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ของโลกที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง PACO ได้รับออเดอร์มูลค่าถึง 1,200 ล้านบาท ทำให้มีรายได้ที่มั่นคงรองรับกว่า 5 ปี สำหรับธุรกิจ OEM และ รองรับรายได้ 10 ปีสำหรับธุรกิจรับจ้างผลิตอะไหล่ (OES) ยิ่งกว่านั้น บริษัทฯ ได้รับการติดต่อจากผู้ผลิตหลายแห่ง เพื่อนำเสนองานรับจ้างผลิตชิ้นส่วนแอร์รถยนต์และชิ้นส่วนอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทฯมองเห็นศักยภาพการเติบโตของธุรกิจ OEM ที่ชัดเจน มีโอกาสเติบโตสูง เนื่องจากอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวอีกครั้งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงนโยบายรัฐบาลสนับสนุนให้ค่ายรถยนต์ประกอบรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจำนวนมาก อีกทั้งการทยอยเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ จำนวนมากของค่ายรถยนต์เข้าสู่ตลาด และPACO มีไลน์การผลิต อุปกรณ์เครื่องจักรมาตรฐานสากล พร้อมผลิตสินค้าให้ลูกค้าได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม อีกทั้งมีคู่แข่งน้อยรายในธุรกิจ จึงเชื่อมั่นว่า PACO มีโอกาสรับงานรับจ้างผลิต OEM ได้อีกจำนวนมาก" นายสมชายกล่าวปิดท้าย

บริษัท เพรสซิเด้นท์ ออโตโมบิล อินดัสทรีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PACO มีทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท ก่อตั้งมาแล้วกว่า 30 ปี เป็น 1 ในผู้บุกเบิกการผลิตชิ้นส่วนแอร์รถยนต์ของไทย และได้พัฒนาผลิตภัณฑ์อะไหล่แอร์รถยนต์แบบครบวงจร ทั้ง คอยล์ร้อน และคอยล์เย็น สำหรับรถที่มียอดจำหน่ายปานกลางถึงสูง ทั้งรถญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกัน รวมมากถึง 2,600 รุ่น โดยบริษัทฯ มี โรงงานผลิต 3 แห่ง ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร และศูนย์กระจายสินค้า 1 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO 9001:2015 และได้จำหน่ายสินค้าภายในประเทศ และ ส่งออกไปทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป อเมริกาใต้ เอเชียและออสเตรเลีย"

ที่มา: แบรนด์ เวลท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ