"วรุณา" เวิร์คชอปใช้งานฐานข้อมูลเชิงลึก โมเดลต้นแบบ "คุ้งบางกะเจ้า"

ศุกร์ ๑๓ พฤษภาคม ๒๐๒๒ ๑๔:๒๑
นางสาวพณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ (กลาง) ผู้บริหารด้านธุรกิจและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ พร้อมด้วย นายธราณิศ ประเสริฐศรี (ขวา) หัวหน้าทีมพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด จัดเวิร์คชอปอบรมผู้ใช้งานระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาพื้นที่สีเขียว เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจการใช้งานฐานข้อมูลเชิงลึก เครื่องมือเทคโนโลยีด้านการสำรวจพื้นที่และวิเคราะห์ด้วย AI ที่นำมาบูรณาการร่วมกัน ในโครงการ OUR Khung BangKachao โมเดลต้นแบบฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สามารถนำไปพัฒนาในภาคเกษตร เอื้อประโยชน์ในการวางแผนทำงานของภาคเอกชนและการมีส่วนร่วมของชุมชน ณ อาคารอเนกประสงค์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ จ.สมุทรปราการ
วรุณา เวิร์คชอปใช้งานฐานข้อมูลเชิงลึก โมเดลต้นแบบ คุ้งบางกะเจ้า

โดยมี นายวีระศักดิ์ ศิริกุล (ซ้าย) ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) นายคมกฤษณ์ ผิวทอง (ที่สองจากซ้าย) ผู้จัดการโครงการรักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักษ์คุ้งบางกะเจ้า

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และเลขานุการคณะทำงานด้านการพัฒนาพื้นที่สีเขียว โครงการ OUR KHUNG BANGKACHAO นางสาวสุรีย์พร เกิดแก่นแก้ว (ที่สามจากซ้าย) นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กองสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่เฉพาะและสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสมชาย ดิษฐศร (ที่สามจากขวา) ที่ปรึกษาศูนย์จัดการพื้นที่สีเขียวเชิงนิเวศนครเขื่อนขันธ์ กรมป่าไม้ และคุณประกิจ รอดเจริญ (ที่สองจากขวา) ตัวแทนชุมชนคุ้งบางกะเจ้า ร่วมงาน

ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท

บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด เป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ เพื่อตอบโจทย์และแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้กับหลากหลายธุรกิจ รวมทั้งภาคเกษตรกรรม กลุ่มธุรกิจก่อสร้างและกลุ่มธุรกิจพลังงาน ประกอบด้วยเทคโนโลยีสำหรับการใช้งานทางอากาศ ทางบก และทางทะเล และครอบคลุมทั้งเทคโนโลยีแบบเดิมไปจนถึงนวัตกรรมที่ล้ำสมัย และเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นตามความต้องการเฉพาะของแต่ละธุรกิจ www.arv.co.th

บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด เริ่มต้นจากเป็นหน่วยธุรกิจภายใต้บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2563 และได้จดทะเบียนเป็นบริษัทในเดือนกันยายน 2564 วรุณาเป็นผู้นำการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคการเกษตรและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โดยผสานเทคโนโลยีดาวเทียม (Satellite) กับการใช้ข้อมูลและภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน (Drone) และนำดาต้ามาวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผ่านแพลตฟอร์ม "Varuna Analytics"

"วรุณา (VARUNA)" Seeding the Sustainable Future ร่วมสร้างรากฐานสู่อนาคตที่ยั่งยืน คือพันธกิจหลักในการขับเคลื่อนและยกระดับภาคสิ่งแวดล้อม และการเกษตรของประเทศไทยอย่างครบวงจร ตั้งแต่ภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม และระดับประเทศ ผ่านการใช้เทคโนโลยีเก็บข้อมูลภูมิศาสตร์ด้วยโดรนสำรวจ ดาวเทียม และประมวลผลบิ๊กดาต้าของภาคสิ่งแวดล้อมและการเกษตรด้วยปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ - AI) เพื่อช่วยวางแผนบริหารพื้นที่ลดต้นทุนการผลิต วางแผนการเพาะปลูกอย่างแม่นยำ ติดตามและแจ้งเตือน รวมทั้งประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับการเกษตรของประเทศไทย

ทำความรู้จักวรุณามากขึ้นได้ทาง https://www.varunatech.co/ หรือ https://www.facebook.com/varunatech/

ที่มา: ดิจิตัล แจม (ไทยแลนด์)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ