TNR สวนกระแส Q1/65 ทำรายได้นิวไฮ 519 ล้านบาท เติบโต 20% ปรับกลยุทธ์มุ่งเพิ่มยอดขาย OEM และ Tender เตรียมส่งถุงยางแบรนด์ใหม่ทำตลาดอเมริกา

ศุกร์ ๑๓ พฤษภาคม ๒๐๒๒ ๑๕:๕๘
บมจ.ไทยนิปปอนรับเบอร์อินดัสตรี้ หรือ TNR ทำรายได้ไตรมาส 1/2565 นิวไฮที่ 519 ล้านบาท เติบโต 20% ตอกย้ำความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวและการปรับกลยุทธ์อย่างรวดเร็ว หลังถูกบอกยกเลิกสัญญาภายใต้แบรนด์ Playboy คาดไตรมาส 2 เติบโตอย่างต่อเนื่องจากออเดอร์ที่รอส่งมอบและการส่งออกสินค้าได้รับประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า เร่งปั้นแบรนด์ใหม่วางขายออนไลน์และทำตลาดในอเมริกา มั่นใจปีนี้ทำรายได้จากการขายและบริการตามเป้าหมาย
TNR สวนกระแส Q1/65 ทำรายได้นิวไฮ 519 ล้านบาท เติบโต 20% ปรับกลยุทธ์มุ่งเพิ่มยอดขาย OEM และ Tender เตรียมส่งถุงยางแบรนด์ใหม่ทำตลาดอเมริกา

นายสุเมธ มาสิลีรังสี ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท ไทยนิปปอนรับเบอร์อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ TNR เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2565 ตามงบการเงินรวม สามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่งท่ามกลางความกังวลจากภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว โดยบริษัทฯ ทำรายได้จากการขายและบริการ 519 ล้านบาท เติบโต 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จากการขายและบริการ 434 ล้านบาท ถือเป็นสถิติสูงสุดใหม่ของรายได้ต่อไตรมาสนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทฯ และมีกำไรสุทธิ 68 ล้านบาท ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 70 ล้านบาท เนื่องจากรับรู้ผลขาดทุนจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัท ทีเอ็นอาร์ ไบโอไซเอินซ์ จำกัด ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมาเพื่อเตรียมดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายพืชสมุนไพร อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจากงบการเงินเฉพาะกิจการของ TNR (ไม่รวมบริษัทย่อย) สามารถทำกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2565 ได้ถึง 80 ล้านบาท ถือเป็นสถิติสูงสุดรายไตรมาสนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทฯ

การที่ผลดำเนินงานเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แม้ในเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมาได้ถูกบอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ใช้ผลิตภัณฑ์ (Product License Agreement) ภายใต้แบรนด์ Playboy เนื่องจากบริษัทฯ ได้ปรับกลยุทธ์อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ยอดขายจากกลุ่มธุรกิจรับจ้างผลิต (OEM) และกลุ่มธุรกิจงานประมูล (Tender) เติบโตดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 9% และ 300% ตามลำดับ ประกอบกับบริษัทฯ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการขายและการตลาดจากแบรนด์ Playboy อีกต่อไป

ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2565 คาดว่าจะรักษาการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีออเดอร์ส่งออกถุงยางอนามัยที่รอส่งมอบอย่างต่อเนื่องและจะได้รับปัจจัยบวกจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่อ่อนค่าอยู่ในระดับ 33-35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 30-32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนตลาดในประเทศที่มีแบรนด์ Onetouch เป็นเรือธง ประเมินว่าแนวโน้มตลาดในปีนี้น่าจะกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 หลังรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และเปิดประเทศ

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้วางกลยุทธ์มุ่งเพิ่มยอดขายจากกลุ่มธุรกิจ OEM และอยู่ระหว่างการพัฒนาถุงยางอนามัยแบรนด์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ แบ่งเป็นแบรนด์ที่จะขายและทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์และแบรนด์สินค้าที่จะขายในประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้ง คาดว่าจะส่งออกสินค้าในช่วงปลายไตรมาส 2/2565 และเริ่มวางจำหน่ายสินค้าในไตรมาส 3 นี้ "จากผลการดำเนินงานไตรมาสแรกที่ผ่านมา ตอกย้ำว่าบริษัทฯ สามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่งท่ามกลางปัจจัยความไม่แน่นอนต่าง ๆ และการถูกบอกยกเลิกสัญญาภายใต้แบรนด์ Playboy ก็ไม่ได้ทำให้ยอดขายลดลง เราจึงมีความมั่นใจว่าจะสามารถทำรายได้จากการขายและบริการในปีนี้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้" นายสุเมธ กล่าว

ที่มา: เอ็ม ที มัลติมีเดีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ