ตลอดเส้นทางการจัดการดาต้าเซ็นเตอร์จนมาถึงยุคคลาวด์ในปัจจุบัน ลูกค้าต้องเผชิญกับเทคโนโลยีที่ต่างจากเดิม เช่น การพัฒนาบริการธุรกิจรูปแบบใหม่ นวัตกรรมอย่าง DevOps คอนเทนเนอร์ ไมโครเซอร์วิส ภัยคุกคามไซเบอร์ที่รับมือยากกว่าเดิมซึ่งต้องการระบบสำรองและกู้คืนข้อมูลที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น ขณะที่ประสบการณ์การใช้งานผ่านคลาวด์ หรือ On-Prem ก็ต้องการอินฟราสตรัคเจอร์ในการจัดการทุกข้อมูลแบบองค์รวมรวมไว้ในแพลตฟอร์มเดียว (Unified Data Operation) เพื่อให้การบริการข้อมูลทั้งเก่าและใหม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงมีเอไอและบิซิเนส อินเทลลิเจนซ์ มาช่วยในการวิเคราะห์ ทำนายผล และจัดการการใช้งานข้อมูลบน ระบบที่เป็นอัตโนมัติ มากขึ้น
ประสบการณ์อีกขั้นกับ dHCI
Hyperconverged Infrastructure (HCI) ไม่ใช่ของใหม่ แต่ถูกออกแบบมานานแล้วเพื่อควบรวมการกำกับการทำงานของส่วนประมวลผล สตอเรจ เน็ตเวิร์ค รวมถึงเวอร์ช่วลแมชชีนไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ซึ่งตอบโจทย์ทั้งความง่ายในการจัดการและการลงทุนที่เริ่มต้นจากเล็กและขยายไปหาใหญ่ในอนาคต ทว่า หลักที่ถูกต้องของ HCI คือ เมื่อองค์กรต้องการขยายจำนวนโหนดใหม่ (node) เพื่อรองรับงานที่เพิ่มขึ้น ก็ควรจะมีการใช้ทรัพยากรให้ใกล้เคียงกับโหนดเดิมมากที่สุด แต่ในทางปฏิบัตินั้นยากเพราะความต่างรุ่นต่างยุคของเทคโนโลยีทั้ง ซีพียู หน่วยความจำ เน็ตเวิร์ค ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เป็นต้น คำถามคือ เราจะผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ลงไปในคลัสเตอร์ซึ่งมีทรัพยากรแบบเดิม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเสมือนทำงานบนทรัพยากรเดียวกัน โดยไม่เกิดการทำงานที่ล่าช้า (Delay Time) หรือต้องหยุดระบบชั่วคราว (Timeout) ได้อย่างไร?
Disaggregated Hyperconverged Infrastructure (dHCI) นิยามใหม่จากไอดีซี ที่เข้ามาช่วยเรื่องการจัดการที่ง่ายและพิเศษกว่า HCI แบบเดิมตรงที่ให้ ความยืดหยุ่นในการปรับขยายทรัพยากรของส่วนประมวลผลและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้อย่างอิสระ โดยให้ประสิทธิภาพการทำงานได้ในระดับเอ็นเตอร์ไพรส์ ทั้งยังเปิดกว้างให้ทำงานร่วมกับเซิร์ฟเวอร์เอชพีอีรุ่นก่อนหน้านี้ เช่น ProLiant Gen8 หรือ ProLiant Gen9 ซึ่งช่วยลูกค้าประหยัดการลงทุนแทนการยกเครื่องทั้งระบบให้เป็น dHCI
ครบเครื่อง dHCI ด้วย HPE ALLETRA 6000 Storage
HPE ALLETRA 6000 หรือเดิม HPE Nimble สตอเรจภายใต้แนวคิด dHCI ซึ่งเติมเต็มการจัดการอินฟราสตรัคเจอร์ของข้อมูลบนคลาวด์-เนทีฟในแบบ As-a-Service เมื่อทำงานร่วมกับ HPE GreenLake Platform โดย HPE ALLETRA 6000 เน้นการรองรับกิจกรรมสำคัญทางธุรกิจ (Business Critical Workload) มีความเก่งในการทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันใหม่ ๆ เช่น คอนเทนเนอร์ และขจัดปัญหาการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน (Data Deduplication) โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการให้บริการ (High Performance)
โดย 3 หัวใจสำคัญสตอเรจ HPE ALLETRA 6000 เน้นตอบโจทย์องค์กรธุรกิจในการ...
- สนับสนุนความเป็นอัตโนมัติในการขับเคลื่อนนโยบายและการรวมศูนย์ข้อมูล (Data-Centric & Policies Automation) ที่ทำงานได้ทั้งบนสภาพแวดล้อมเดิม เช่น เวอร์ช่วลไลเซชัน ดาต้าเบส อีอาร์พี ไปจนถึงแอปพลิเคชันบนคลาวด์-เนทีฟ อาทิ คอนเทนเนอร์ NON SQL แมชชีนเลิร์นนิ่ง
- เพิ่มประสบการณ์ในการใช้งานคลาวด์ที่ดี (Cloud-Native) ที่รองรับทั้งเอดจ์ ระบบหลัก (Core) ในดาต้าเซ็นเตอร์ของลูกค้าแบบ On-prem และบนคลาวด์ โดยทำการสำรองข้อมูลได้สะดวกจากทุกที่
- เติมเต็มประสิทธิภาพด้วย AI (AI-Driven) มาช่วยบริหารจัดการอินฟราสตรัคเจอร์ที่มีความซับซ้อนให้มีความมั่นคงปลอดภัย เพิ่มการตัดสินใจที่ถูกต้องและแม่นยำ ตลอดจนชูความสามารถของเทคโนโลยี (S.P.R.E.A.D) ซึ่งออกแบบมาให้โดดเด่นและเข้ากันได้กับทุกภาระงาน (Workload)
ถอดรหัส S.P.R.E.A.D กับการจัดการข้อมูลที่ดีกว่า
Scale เน้นการปรับขยายที่ง่ายและไร้ข้อจำกัดด้วย HCI 2.0 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวที่ใช้ได้กับทุกการทำงาน อาทิ เวอร์ช่วลแมชชีน แอปพลิเคชันสมัยใหม่ (Modern App) เช่น คอนเทนเนอร์ คูเบอร์เนเตส ไมโครเซฮร์วิส หรือเซิร์ฟเวอร์รุ่นเก่าในลักษณะ Physical Host (ประกอบด้วยส่วนประมวลผล สตอเรจ และเน็ตเวิร์ค) ให้สามารถทำงานภายใต้ dHCI ชุดเดียวกัน แม้กระทั่งการแชร์ทรัพยากรของ dHCI ร่วมกับไฮเปอร์-วี, ออราเคิลดาต้าเบส, SAP HANA หรือเวอร์ช่วลเดสก์ท็อปก็ทำได้
Simple เน้นการบริหารจัดการที่ง่ายจากจุดเดียว (Single Management UI) สำหรับผู้ใช้งานวีเอ็มแวร์ (VMWare)
Performance ระบบ dHCI ถูกออกแบบให้มีความแตกต่างจาก ระบบ HCI ดั่งเดิม เพิ่มความสามารถในการรองรับ ปริมาณ Workload ขนาดใหญ่ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพการทำงาน (Guarantee Performance) สามารถทำงานร่วมกับ Unified API เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบริการต่าง ๆ ผ่าน DevOps ได้เป็นเอกภาพบนมาตรฐานเดียวกัน เพื่อการส่งต่อการทำงานที่ราบรื่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต
Reliability ความน่าเชื่อถือด้านการให้บริการระดับ Enterprise สูงสุด 99.9999% (การันตี Uptime 99.9999%) โดยหยุดการให้บริการไม่เกิน 32 วินาทีต่อปี (Downtime <32 วินาที/ปี)
Effective Capacity ประสิทธิภาพในการบีบอัดและลดทอนความซ้ำซ้อนของข้อมูล เพื่อการันตีพื้นที่การใช้งานสตอเรจได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด
AI เพิ่มการชี้แนะภาระงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยแมชชีนเลิร์นนิ่ง พร้อมแจงถึงต้นตอของปัญหา (Root Cause) ช่วยให้องค์กรสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ครบถ้วนทั้งในส่วนประมวลผล สตอเรจ ลงลึกถึงระดับเวอร์ช่วลแมชชีน ซึ่งรวมถึงเรื่องของเอสคิวแอล (SQL) ต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ ยังเพิ่มมุมมองการวิเคราะห์ข้อมูลชนิดเต็มรูปแบบร่วมกับเอไอ (Full Stack Analytics and Al-Ops) โดยใช้ฐานความรู้ (knowledge base) ที่สะสม IOT Sensor จากผลิตภัณฑ์ทั่วโลก ร่วมกับบิสซิเนสอินเทลลิเจ้นซ์ (Business Intelligence) มาเสริมรูปแบบการวิเคราะห์ให้แม่นยำยิ่งขึ้น
Data Protection ที่ฝังมากับตัวสตอเรจให้พร้อมป้องกับภัยคุกคามจากแรนซั่มแวร์ต่าง ๆ (Built in Anti-Ransomware) ผ่านเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูลขั้นสูง สามารถสร้าง Snapshot ได้ในปริมาณรวมกันมากกว่า 100,000 session (1000 session/Volume) ซึ่งนำมาใช้เป็นข้อมูลในการสร้างระบบปกป้องข้อมูลเพื่อป้องกันแรนซัมแวร์ได้เป็นอย่างดี
ด้วยเทคโนโลยีสตอเรจ HPE ALLETRA 6000 พร้อมแนวคิด dHCI ของเอชพีอีนี้เอง จะช่วยให้ทุกองค์กรสามารถพัฒนาระบบจัดการข้อมูลบนคลาวด์-เนทีฟที่มีประสิทธิภาพพร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลงภายใต้ลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด
ที่มา: มายด์ พีอาร์