อีโคบลู จัดการปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย

พุธ ๑๘ พฤษภาคม ๒๐๒๒ ๑๔:๒๒
อีโคบลู (EcoBlue) บริษัทในกลุ่มโพลีเพล็กซ์ (Polyplex) เปิดโรงงานรีไซเคิลระดับโลกแห่งใหม่อย่างเป็นทางการในจังหวัดระยอง ประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 โดยการเปิดโรงงานแห่งนี้ เป็นโอกาสสำคัญในการรวบรวมบริษัทที่อยู่ในระบบนิเวศการกำจัดขยะ ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต่างมีภาระผูกพันด้านการกำจัดขยะพลาสติกให้มาร่วมกันจัดการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่ร้ายแรงในภูมิภาค
อีโคบลู จัดการปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ที่ก่อปัญหารายใหญ่เรื่องขยะพลาสติกทางทะเล แม้ไทยเป็นผู้ร่วมลงนามในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ แต่ก็ยังไม่มีมาตรการในการจัดการและแก้ไขปัญหาขยะ สำหรับโรงงานแห่งใหม่ของอีโคบลู ที่ระยองเป็นโรงงานแห่งแรกในเอเชีย สามารถรีไซเคิลวัสดุที่เป็นพลาสติกได้หลากหลายชนิด เช่น ขวดน้ำ PET ถ้วยพลาสติกPP ขวดนมพลาสติก HDPE ให้กลับมาเป็นเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง ที่เหมาะสำหรับนำไปใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์เกรดอาหาร ด้วยกำลังการผลิต PET ที่ 31,000 ตันต่อปี โดยโรงงานแห่งนี้จะสามารถผลิตขวดใหม่ PET จำนวน 2.7 พันล้านขวด พร้อมกันนี้ ยังมีความสามารถในการรีไซเคิลขยะโพลิโอเลฟินได้ถึง 10,000 ตันต่อปี ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกนำไปฝังกลบหรือเผา โดยจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศได้ประมาณ 64,000 ตันต่อปี โดยโรงงานแห่งนี้ใช้เงินลงทุน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดและระบบบำบัดน้ำเสียขั้นสูง เพื่อส่งเสริมการรีไซเคิลอย่างมีความรับผิดชอบในประเทศ

เม็ดพลาสติกรีไซเคิลจาก อีโคบลู ถูกนำไปใช้โดยแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อผลิตขวดเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลและสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อช่วยให้แบรนด์ต่างๆ สามารถบรรลุพันธกิจด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมพิเศษสำหรับการเก็บรวบรวมและรีไซเคิลพลาสติกที่ถูกทิ้งลงในทะเล เพื่อตอบสนองต่อปัญหาขยะในทะเลที่เพิ่มมากขึ้น

"ในฐานะผู้ผลิตฟิล์มบรรจุภัณฑ์พลาสติกชั้นนำ โพลีเพล็กซ์ มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าต่อความยั่งยืน โดยวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ยืดหยุ่นได้ ให้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับวัสดุบรรจุหีบห่อทางเลือกอื่นทั้งหมด ความท้าทายหลักยังคงเป็นการรวบรวมและรีไซเคิลขยะพลาสติกเหล่านี้ อีโคบลูได้รับการจัดตั้งในปี 2555 เพื่อตอบสนองความต้องการนี้ ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการเปิดตัวโรงงานรีไซเคิลขยะพลาสติกแห่งใหม่นี้ของ อีโคบลู เนื่องจากเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เราเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น" นายซันจีฟ ซาราฟ (Sanjiv Saraf) รองประธานกรรมการของกลุ่มบริษัท โพลีเพล็กซ์ กล่าว

นาย ปราเนย์ เจน (Pranay Jain) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ อีโคบลู กล่าวเสริมว่า "อีโคบลู มุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก และพลาสติกในทะเลในประเทศไทยในฐานะที่เป็นโรงงานแห่งแรกในประเทศไทย ที่ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลสำหรับบรรจุภัณฑ์เกรดอาหารที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) เรามีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนเป้าหมายเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย เมื่อกฎข้อบังคับการสัมผัสอาหารสำหรับวัสดุรีไซเคิลได้รับการอนุมัติจาก อย.ของไทย ส่วนในระดับโลกนั้น กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะพลาสติก กำลังพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยมาตรการเฉพาะด้าน เช่น เป้าหมายสัดส่วนการใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลและความรับผิดชอบของผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้น เราหวังว่าจะมีพัฒนาการและการดำเนินการที่สอดคล้องกันในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการลงทุนให้เพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมรีไซเคิลพลาสติก"

ที่มา: เอ็ม ที มัลติมีเดีย

อีโคบลู จัดการปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ