กยท. เร่งเครื่อง มาตรการ ZERO CARBON ผนึก อ.อ.ป. ลงนาม MOU ลดก๊าซเลือนกระจก เสริมรายได้ชาวสวนยาง

ศุกร์ ๒๐ พฤษภาคม ๒๐๒๒ ๑๕:๕๔
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย และ นายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การส่งเสริมการทำสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล และการบริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพารา ระหว่าง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ณ ห้องประชุมราชไมตรี (ชั้น 4) อาคาร 50 ปี การยางแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ
กยท. เร่งเครื่อง มาตรการ ZERO CARBON ผนึก อ.อ.ป. ลงนาม MOU ลดก๊าซเลือนกระจก เสริมรายได้ชาวสวนยาง

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกต่างให้ความสำคัญด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการลดก๊าซเลือนกระจก หรือ มาตรการ ZERO CARBON กยท. เริ่มเดินหน้า มาตรการ ZERO CARBON เพื่อเพิ่มโอกาสทางการเกษตรภาคยางพารา พร้อมวิเคราะห์ถึงข้อดีข้อเสียที่จะเกิดขึ้นกับภาคเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่ง กยท. เล็งเห็นว่า โครงการนี้เป็นโอกาสใหม่ของเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ที่ได้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อม

ผู้ว่าการ กยท. กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตในสวนยางพารา จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วนให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม วันนี้ถือเป็นโอกาสดีที่ การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการทำสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล และการบริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพารา เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านการจัดทำโครงการ การฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ นวัตกรรมให้แก่ บุคลากรทั้ง 2 หน่วยงาน และเกษตรกรชาวสวนยาง พัฒนาความรู้ความเข้าใจ นำไปสู่การทำสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล บริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจก
พร้อมสร้างรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตจากสวนยางพาราได้อย่างยั่งยืน

ด้าน นายสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ผอ.อ.อ.ป.) เปิดเผยว่า การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการทำสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล และการบริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพารา เป็นความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ ที่มุ่งเน้นดำเนินตามพันธกิจของรัฐวิสาหกิจ ของ อ.อ.ป. และ กยท. ซึ่งการลงนามในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน เป็นการแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ นวัตกรรม และพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล ให้ได้ตามมาตรฐาน FSCTM, PEFCTM ตลอดจนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรมและพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพารา และสร้างโอกาสในธุรกิจคาร์บอนเครดิตจากสวนยางพารา

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ อ.อ.ป. และ กยท. จะให้การสนับสนุน และให้ความร่วมมือ ในรูปแบบการจัดทำโครงการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ นวัตกรรม ให้แก่บุคลากร เกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อพัฒนาความรู้ สร้างความเข้าใจ ในเรื่องการทำสวนยางให้เกิดความอย่างยั่งยืน และให้เป็นไปตามมาตรฐานในระดับสากล รวมทั้งการบริหารจัดการการลดก๊าซเรือนกระจกจากสวนยางพาราที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง นอกจากแล้วนี้ ทั้ง 2 หน่วยงาน จะมีการแลกเปลี่ยนบุคลากร มีการศึกษาดูงาน และฝึกงาน บุคลากรของทั้ง 2 หน่วยงาน เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์และพัฒนาศักยภาพ เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเผยแพร่ความรู้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง รวมถึงเสริมสร้างและสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ นวัตกรรม ในเรื่องการจัดการสวนยางให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร ชาวสวนยางอย่างสูงที่สุด

ผอ.อ.อ.ป. กล่าวปิดท้ายว่า อ.อ.ป. และ กยท. มุ่งหวังไว้ว่า การร่วมลงนามความร่วมมือฯ ในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวสวนยาง และจะสามารถพัฒนาศักยภาพของสวนยางให้เกิดความยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล ตลอดจนสามารถขับเคลื่อนงานของรัฐบาล เรื่อง ลดก๊าซเรือนกระจกให้กับประเทศไทยอีกทางหนึ่ง

ที่มา: การยางแห่งประเทศไทย

กยท. เร่งเครื่อง มาตรการ ZERO CARBON ผนึก อ.อ.ป. ลงนาม MOU ลดก๊าซเลือนกระจก เสริมรายได้ชาวสวนยาง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ