สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเท็กซัสแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด เตรียมจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเชิงซ้อน

อังคาร ๒๔ พฤษภาคม ๒๐๒๒ ๐๘:๐๐
การประชุมอีพีไลฟ์ ประจำปี 2565 ระยะเวลาสองวัน จะดึงดูดผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจระดับแนวหน้าจากทั่วโลก

ในวันที่ 2-3 มิถุนายน 2565 สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเท็กซัสแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด (Texas Cardiac Arrhythmia Institute (TCAI) at St. David's Medical Center) เตรียมจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเชิงซ้อน (Complex Arrhythmias) ครั้งที่ 6 หรือการประชุมอีพีไลฟ์ ประจำปี 2565 (EPLive 2022)

อีพีไลฟ์เป็นการประชุมเชิงวิชาการอย่างเข้มข้นระยะเวลาสองวัน สำหรับนักสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ และแพทย์โรคหัวใจทั่วไปที่สนใจเรื่องการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเชิงซ้อน ซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอหรือผิดปกติ โดยการประชุมจะถ่ายทอดสดจากศูนย์สรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด (Electrophysiology Center at St. David's Medical Center) ที่เพิ่งเปิดใหม่ และมีการบรรยายของผู้เชี่ยวชาญเป็นเครื่องมือหลักในการให้ความรู้

นายแพทย์อันเดรอา นาตาเล (Andrea Natale, M.D., F.H.R.S., F.A.C.C., F.E.S.C.) นักสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการแพทย์ประจำสถาบัน TCAI และผู้อำนวยการการประชุมอีพีไลฟ์ กล่าวว่า "เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้จัดการประชุมเป็นครั้งแรกที่ศูนย์สรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจระดับโลกแห่งใหม่ ซึ่งมีห้องปฏิบัติการด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจจำนวน 6 ห้องที่เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด การแบ่งปันเคสผู้ป่วยแบบสด ๆ จะช่วยให้เราสามารถสร้างความก้าวหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในส่วนของการทำหัตถการและเทคโนโลยีการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเชิงซ้อน ซึ่งจะช่วยยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยทั่วโลกต่อไป" 

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีสาเหตุมาจากปัญหาของระบบไฟฟ้าในหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยมากสามารถรักษาได้ด้วยวิธีการจี้ไฟฟ้าหัวใจสมัยใหม่ ซึ่งมีการจี้แบบร้อน จี้แบบเย็นจัด หรือทำให้ส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจที่มีสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติกลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้ การประชุมอีพีไลฟ์จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมการประชุมมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้รักษาภาวะหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ การทำหัตถการเพื่อฝังอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อน และการนำอุปกรณ์ที่ทำงานผิดปกติออก

การประชุมอีพีไลฟ์ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ การจี้ไฟฟ้าเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation หรือ A Fib), การจี้ไฟฟ้าเพื่อรักษาหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะ (Ventricular Tachycardia หรือ VT), อุปกรณ์ต่าง ๆ และเทคโนโลยีใหม่ โดยแต่ละหัวข้อประกอบด้วยการนำเสนอเคสสด ๆ และเคสที่บันทึกไว้โดยสถาบัน TCAI และศูนย์การแพทย์ระดับโลกหลายแห่ง ได้แก่ ศูนย์โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะแห่งมูลนิธิคาร์ดิโออินแฟนทิล (Arrhythmia Center CardioInfantil Foundation) (โคลอมเบีย), สถาบันจากบังคาลอร์ (อินเดีย), คลีฟแลนด์ คลินิก (Cleveland Clinic), สถาบันหัวใจแคนซัสซิตี (Kansas City Heart Rhythm Institute), โรงพยาบาลแมสเจเนอรัล (Mass General Hospital), สถาบันโรคหัวใจและหลอดเลือดเมดสตาร์ (MedStar Heart & Vascular Institute) (เท็กซัส), โรงพยาบาลเมธอดิสท์ (Methodist Hospital) (ฮิวสตัน, เท็กซัส), ศูนย์โรคหัวใจมอนซิโน (Monzino Cardiology Center) (อิตาลี), โรงพยาบาลเมาท์ซีนาย (Mt. Sinai Hospital) (นิวยอร์ก), นอร์ทเวลล์ เฮลท์ (Northwell Health) (นิวยอร์ก), แปซิฟิก ฮาร์ท (Pacific Heart) (แคลิฟอร์เนีย), ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดเพนน์ (Penn Heart and Vascular Center), มหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ (UCLA), ศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยอาร์คันซอ (University of Arkansas Medical Center), คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago Medicine), วิทยาลัยแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยโคโลราโด (University of Colorado School of Medicine), มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania), ศูนย์การแพทย์เซาท์เวสเทิร์นแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส (University of Texas Southwestern Medical Center), มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ (Vanderbilt University) และศูนย์การแพทย์เวสต์ไซด์รีเจียนัล (Westside Regional Medical Center) (ฟลอริดา)

เคสที่นำเสนอประกอบด้วยการทำหัตถการต่าง ๆ เช่น การจี้ไฟฟ้าเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว และการจี้ไฟฟ้าเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะหลังเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว, การจี้ไฟฟ้าเพื่อรักษาหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะ (เยื่อบุหัวใจชั้นในและเยื่อบุหัวใจชั้นนอก), การทำบอลลูน (แบบใช้ความเย็น เลเซอร์ และระบบ Apama), การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า CRT, การใส่ท่อระบายทรวงอก SQ ICD, การถอดสายกระตุ้นหัวใจเส้นเดิมออก และการขยายหลอดเลือดด้วยการสวนหัวใจ นอกจากนี้ การประชุมอีพีไลฟ์ยังเตรียมนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ที่บุกเบิกโดยคณะแพทย์จากสถาบัน TCAI ซึ่งรวมถึงเทคนิคอิเล็กโทรโพเรชัน (Electroporation) และการกระตุ้นหัวใจสองห้องแบบไร้สาย เป็นต้น    

การประชุมมีวัตถุประสงค์หลายข้อดังต่อไปนี้

  • สรุปสาระสำคัญและการประยุกต์ใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการจี้ไฟฟ้าเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ
  • นำเสนอกระบวนการในการลดภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมมาตรการที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยในขณะทำการจี้ไฟฟ้าเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
  • ทำความเข้าใจแนวทางและหลักฐานใหม่ล่าสุดในการจัดการภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและการรักษาด้วยเทคโนโลยีใหม่
  • ประยุกต์ใช้แนวทางที่สามารถดึงศักยภาพของเทคโนโลยีใหม่ออกมาได้มากที่สุด เพื่อผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีที่สุด
  • นำเสนอกระบวนการที่ได้รับประโยชน์จากการบูรณาการเทคโนโลยีใหม่ และส่งเสริมการทำหัตถการที่ปลอดภัยมากขึ้นสำหรับผู้ป่วย
  • นำเสนอกระบวนการในการลดภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมมาตรการที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยระหว่างการถอดสายกระตุ้นหัวใจเส้นเดิมออก

นอกเหนือจากการสาธิตโดยนายแพทย์นาตาเลแล้ว การประชุมอีพีไลฟ์ยังมีการนำเสนอของคณะแพทย์จากสถาบัน TCAI ได้แก่ นายแพทย์อามิน อัล-อาหมัด (Amin Al-Ahmad) ผู้อำนวยการร่วมของการประชุมอีพีไลฟ์, นายแพทย์เชน เบลลีย์ (Shane Bailey), นายแพทย์โมฮาเหม็ด บาสสิอูนี (Mohamed Bassiouny), นายแพทย์เดวิด เบิร์กฮาร์ดท์ (David Burkhardt), นายแพทย์เดวิด เบิร์กแลนด์ (David Burkland), นายแพทย์โรเบิร์ต แคนดี (Robert Canby), นายแพทย์โจเซฟ แกลลิงเฮาส์ (Joseph Gallinghouse), นายแพทย์ไบรอัน กรีท (Brian Greet), นายแพทย์เอริก เอ็ม. โฮนิก (Eric M. Hoenicke), นายแพทย์ร็อดนีย์ ฮอร์ตัน (Rodney Horton), นายแพทย์แพทริก ฮรานิตสกี (Patrick Hranitzky), นายแพทย์ฮาเวียร์ ซานเชซ (Javier Sanchez), แพทย์หญิงกมลา ทามิริสา (Kamala Tamirisa), นายแพทย์เซนทิล ทัมบิโดไร (Senthil Thambidorai), นายแพทย์เดวิด ชอปป์ (David Tschopp) และนายแพทย์เจสัน ซากรอดสกี (Jason Zagrodzky)

แพทย์ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้จะได้รับชั่วโมงเครดิตประเภท 1 สำหรับชิงรางวัลแพทย์ดีเด่น (Physician's Recognition Award (PRA) Category 1 Credit(TM)) จากสมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association หรือ AMA) สูงสุด 14 ชั่วโมง

นอกจากนี้ การประชุมอีพีไลฟ์ยังเปิดหลักสูตรพิเศษสำหรับแพทย์ประจำบ้านต่อยอด นั่นคือ อีพี ฟินิชชิง สคูล (EP Finishing School) ในวันที่ 4-5 มิถุนายน โดยคอร์สปฏิบัติจริงแบบสด ๆ จะนำเสนอทุกแง่มุมที่สำคัญของหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (Fellowship Training Program) ทั้งการลงมือปฏิบัติ โอกาสในการทำวิจัย และสื่อการเรียนการสอนทางคลินิก พร้อมเปิดโอกาสให้แพทย์ประจำบ้านต่อยอดที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ โดยแพทย์ประจำบ้านต่อยอดด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจจะได้ศึกษาเคสต่าง ๆ มากถึง 40 เคสจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับโลก พร้อมรับฟังข้อคิดเห็นที่อ้างอิงจากหลักฐานในปัจจุบัน อีกทั้งยังได้มีโอกาสนำเสนอเคสและอภิปรายกับคณะผู้เชี่ยวชาญด้วย

สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเท็กซัสแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด คือหนึ่งในศูนย์การแพทย์ชั้นนำระดับโลกที่อุทิศตนให้กับการพัฒนาความก้าวหน้าในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้บริหารศูนย์แห่งนี้คือนายแพทย์นาตาเล ซึ่งเป็นผู้นำในการยกระดับการรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ผู้นำการทดลองทางคลินิกมากมาย อีกทั้งยังร่วมพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ ๆ ด้วย

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ EP-Live.com

สื่อมวลชนติดต่อ
แมตต์ กริลลี (Matt Grilli) หรือ แคท กริฟฟิท (Kat Griffith) จากบริษัทอีซีพีอาร์ (ECPR)
อีเมล: [email protected] หรือ [email protected] 
โทร: 630.800.9533 หรือ มือถือ: 512.797.4002   



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ