- สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ด้วยการศึกษาและสำรวจศักยภาพการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงแพลตฟอร์มคลาวด์เพื่อเร่งการสร้างมูลค่าและนวัตกรรมทางธุรกิจ เช่น การจัดการพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) การจัดเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System) และการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Grid Modernization) ไปจนถึงการดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage) เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์
- ปฏิรูปกระบวนการดำเนินงานของ กฟผ. ให้ทันสมัย ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานในองค์การให้เป็นดิจิทัล นำองค์ความรู้ด้านดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ และ AI เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการองค์การ รวมถึงระบบภายในโรงไฟฟ้า การวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านการปล่อยคาร์บอนของทั้งองค์การ และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- เสริมแกร่งโครงสร้างพื้นฐานของ กฟผ. ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ด้วยการจัดทำข้อมูลให้ทันสมัย ใช้งานนวัตกรรมและคลาวด์ ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและพัฒนาธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการทำงานภายในองค์การ รวมถึงพลิกโฉมโครงสร้างด้านไอที พร้อมพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลให้ได้มาตรฐานระดับโลก
นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า "กฟผ. เล็งเห็นประโยชน์ของการใช้ Digital มา Transformation ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมและธุรกิจสำหรับอนาคตได้ โดยดิจิทัลจะกลายเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญในการบริหารจัดการระบบพลังงานทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนการมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ของประเทศ ตามยุทธศาสตร์ Triple S ของ กฟผ. ตั้งแต่ S-Sources Transformation ด้วยการเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยเทคโนโลยีดิจิทัลจะสนับสนุนการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid Modernization) เพื่อรองรับแหล่งผลิตพลังงานสะอาดที่จะมีเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของการพยากรณ์ การควบคุม และการใช้งานร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage) สำหรับ S ที่สอง S-Sink Co-Creation ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการติดตามข้อมูลเพื่อบริหารจัดการป่าที่ กฟผ. และเครือข่ายพันธมิตรตั้งเป้าร่วมกันปลูก 1 ล้านไร่ ให้คงอยู่เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างยั่งยืน รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage : CCUS) ที่จะทำให้แหล่งผลิตไฟฟ้าไม่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ S-Support Measures Mechanism ที่จะใช้ดิจิทัลมาบริหารจัดการการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในอาคารและในชุมชน ด้วยรูปแบบ Smart Grid รวมไปถึงการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่าน ภาคขนส่งให้มาใช้ไฟฟ้าอย่างเชื่อมโยงกันเป็น E-mobility นอกจากนี้ กฟผ. จะนำดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานภายในองค์การ (EGAT Transformation) ผ่านโครงการต่าง ๆ ที่ทีมงานเสนอ ปรับปรุง ตลอดจนนำมาพัฒนาใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนมากขององค์การ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขับเคลื่อนองค์การสู่อนาคตต่อไป"
"ความร่วมมือครั้งนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนองค์การ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และนำไปสู่การสร้างประโยชน์แก่ทุกภาคส่วนของประเทศ ตามแนวคิดของ กฟผ. "EGAT for All กฟผ. เป็นของทุกคน เพื่อทุกคน"
นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า "ไมโครซอฟท์ มุ่งผลักดันให้ลูกค้าและพันธมิตรนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อก้าวสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านกลไกของการปลดล็อกปัจจัยเชิงโครงสร้างควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะบุคลากร เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในอนาคต ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศอย่างยั่งยืน นอกจากนี้เทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยผลักดันเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนให้เป็นลบของไมโครซอฟท์ในปี ค.ศ. 2030 เป็นจริงได้ ควบคู่ไปกับเป็นแรงผลักดันให้ กฟผ. สามารถบรรลุเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 ได้สำเร็จ"
นายมานิช พากาซ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกลุ่มธุรกิจภาครัฐ ภาคการศึกษา และสาธารณสุข บริษัท ไมโครซอฟท์ เอเชียแปซิฟิก กล่าวเพิ่มเติมว่า "ไมโครซอฟท์ มีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนและเสริมศักยภาพด้านดิจิทัลของ กฟผ. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่คนไทยทุกคน และพร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืน"
ที่มา: ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ ประเทศไทย