"GoTrade เปิดประตูเอสเอ็มอีไทยสู่ตลาดโลก" สร้างแต้มต่อการแข่งขันในการส่งออก ด้วยความร่วมมือระหว่าง DITP และ DHL Express

จันทร์ ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๒๒ ๑๖:๐๗
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ร่วมกับดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย จัดสัมมนาหัวข้อ "GoTrade เปิดประตูเอสเอมอีไทยสู่ตลาดโลก" เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เผยอินไซต์ด้านการส่งออก สินค้าที่ได้รับความนิยม ความท้าทายและโอกาสในการทำตลาดส่งออก เทรนด์การส่งออก พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และข้อควรรู้เกี่ยวกับการส่งออกสินค้าแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในไทย โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
GoTrade เปิดประตูเอสเอ็มอีไทยสู่ตลาดโลก สร้างแต้มต่อการแข่งขันในการส่งออก ด้วยความร่วมมือระหว่าง DITP และ DHL Express

จับตาอุปสงค์-อุปทานโลก สู่โอกาสของตลาดส่งออกไทย

ขณะที่คนไทยเตรียมตัวใช้ชีวิตร่วมกับโควิด-19 ไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมการบริโภคก็เปลี่ยนไปเช่นกัน จากข้อมูลการค้าระหว่างประเทศและเทรนด์การอุปโภค-บริโภครวบรวมโดย DITP ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ การใช้ชีวิตอยู่บนรากฐานของความสุข และความยั่งยืน จนกลายเป็นโอกาสและความท้าทายของธุรกิจที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยการส่งออกช่วงไตรมาสที่ 1 ปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.) พบว่าไทยส่งออกรวมมูลค่า 2,401,444 ล้านบาท ขยายตัว 14.9% [1]

นวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารแห่งอนาคต (Future Food) - อนาคตส่งออกของประเทศไทย

ปัจจุบันผู้บริโภคตื่นตัวกับการดูแลสุขภาพ และยกระดับการใช้ชีวิตมากขึ้น ส่งผลให้กลุ่มสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มแห่งอนาคตเฟื่องฟู ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่ออร์แกนิกฟู้ด ฟังก์ชันฟู้ด อาหารทางการแพทย์ และอาหารนวัตกรรมใหม่ รวมถึงอาหารประเภทอาหารจากพืชหรือ Plant-based ที่มีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 5.7 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ.2570 โดยตลาดใหญ่ที่สุดคืออเมริกา รองลงมาคือสหราชอาณาจักร

  • เกือบครึ่งของชาวสหรัฐฯ ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ทำให้ยอดขายตลาด Plant-based food ปี 2563 พุ่งสูงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 33,000 ล้านบาท 
  • ช่วงปี 2562 - 2564 การบริโภคอาหารจากพืชเติบโตสูงถึง 49% ในทวีปยุโรป  11 ประเทศ มียอดขายรวม 3.6 พันล้านยูโร (ประมาณ 1.39 แสนล้านบาท) ในจำนวนนี้ สินค้านมจากพืชมียอดขายสูงสุด ตามด้วยเนื้อจากพืช ตลาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี[2]
  • ในกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพ ชาวจีนใช้จ่ายกับสินค้าอาหารเสริมคิดเป็นสัดส่วน 10% ของรายได้ ขณะที่ 9 ใน 10 ของคนอังกฤษต้องการผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่สามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน
  • อาหารจากแมลง (Insect food) เป็นอีกหนึ่งจุดแข็งของตลาดไทยที่ต่างชาติต้องการ ในสหรัฐฯ มูลค่าตลาดอยู่ที่ 15.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (465 ล้านบาท) ในปี 2563 และมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวมากกว่า 40% ต่อปี  
  • ช่วงปีที่ผ่านมา เกิดเศรษฐกิจส่งเสริมการนอน หรือ economy of sleep ในประเทศจีน เพื่อแก้ปัญหาการนอนของประชากร สินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่เกี่ยวกับการนอนเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นชาวจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าส่งเสริมการนอนเชิงนวัตกรรมที่คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าถึง 5 ล้านล้านบาท) ในปี 2030 [3] 

อาหารแห่งอนาคตจะเป็นอนาคตของการส่งออกของไทยในการสร้างรายได้เข้าประเทศต่อยอดจากการส่งวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว ตัวเลขส่งออกในกลุ่มสินค้าอาหารแห่งอนาคตของไทยไปยังตลาดโลกปี 2564 เป็นมูลค่า 93,602.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.86% มีตลาดหลักคือ สหรัฐอเมริกา จีน กัมพูชา เมียนมา และเนเธอร์แลนด์ โดยสินค้าที่มีแนวโน้มขยายตัวสูง ได้แก่ ฟังก์ชั่นฟู้ดส์ อาหารทางการแพทย์ และกลุ่มโปรตีนทางเลือก ในปี 2565 คาดการณ์ว่าสินค้ากลุ่มนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 5% เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Home Improvement เติบโตพุ่งแรง

ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยสินค้าเพื่อกิจกรรมภายในบ้านมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดจนถึงปัจจุบัน ทำให้ค้นพบว่าตลาดนี้ไม่ใช่แค่กระแสที่เข้ามาและผ่านไป แต่กลายเป็นไลฟ์สไตล์เกิดใหม่ที่ผู้คนให้ความสำคัญกับพื้นที่หรือสถานที่ โดยใช้เวลาไปกับการปรับปรุงบ้านและสร้างบรรยากาศ Hybrid Work ในที่อยู่อาศัยมากขึ้น และหากแบรนด์แสดงออกถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม ก็จะยิ่งมีผลโน้มน้าวต่อการออเดอร์สินค้าแบรนด์นั้น ๆ เพราะผู้บริโภคต้องการมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านแบรนด์ที่ตนใช้บริการ

บริการขนส่งระหว่างประเทศยังคงมีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้อของ

คุณภาพการขนส่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการสร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่ถูกจัดส่งข้ามประเทศ นอกจากการมีพาร์ทเนอร์ด้านการขนส่งด่วนระหว่างประเทศที่คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อระเบียบศุลกากรในแต่ละประเทศแล้ว ผู้ประกอบการควรจะหลีกเลี่ยง 4 ข้อผิดพลาดสำคัญที่ทำให้การส่งออก-นำเข้าล่าช้าหรือไม่ราบรื่น ได้แก่

1) ส่งสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ของปลอม ของก้อปปี้: ของเหล่านี้จัดเป็นสิ่งผิดกฎหมายในทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่มีประกาศกระทรวงฯ ว่าด้วยการห้ามส่งออกและนำเข้าสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์

2) สำแดงมูลค่าของต่ำกว่าราคาซื้อขายจริง: การแจ้งข้อมูลราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง ผลที่จะตามมาคือ เกิดความล่าช้าในการขนส่ง หากเป็นการนำเข้าของที่ต้องชำระค่าภาษีอากร จะถือเป็นความผิดทางศุลกากรฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรอีกด้วย

3) ไม่ระบุรายละเอียดสินค้าให้ถูกต้อง ครบถ้วน: การกรอกข้อมูลไม่ตรงกับสินค้าจริง หรือใส่รายละเอียดสินค้าไม่ชัดเจน เช่น Gift (ของขวัญ) แทนการระบุรายละเอียดลักษณะ การใช้งานของสินค้าอย่างตรงไปตรงมา ย่อมเพิ่มกระบวนการในการตรวจค้น และเป็นสาเหตุทำให้การขนส่งไปต่างประเทศล่าช้าได้

4) ไม่ระบุชื่อ ข้อมูลของผู้ส่งและผู้รับให้ถูกต้อง: การระบุชื่อ-นามสกุล ตามบัตรประจำตัวประชาชน หรือพาสปอร์ต และที่อยู่ หรือชื่อบริษัทที่ตรงตามเอกสารที่ได้รับการรับรองในประเทศนั้น ๆ ถือเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ การปฎิบัติในด้านความปลอดภัยและการเก็บข้อมูลประกอบการสำแดงด้านศุลกากร

GoTrade: เครื่องมือทรงพลังในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

การช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศกำลังพัฒนาให้เข้าถึงตลาดทั่วโลกเป็นวิธีที่ดีเอชแอลใช้ในการเชื่อมโยงผู้คน และยกระดับคุณภาพชีวิต ความคิดริเริ่มของ GoTrade มาจากการใช้ความเชี่ยวชาญขององค์กรในการช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับเอสเอ็มอีเพื่อให้เข้าถึงตลาดโลกได้ ความท้าทายที่เอสเอ็มอีส่วนใหญ่เผชิญ ได้แก่ กระบวนการนำเข้า/ส่งออกที่ไม่มีประสิทธิภาพ เอกสารที่ใช้เวลานานเพื่อการเข้าถึงตลาดทั่วโลก GoTrade เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าเอสเอ็มอีของดีเอชแอลเข้าใจวิธีหลีกเลี่ยงปัญหาคอขวด ขนส่งสินค้าผ่านด่านศุลกากรได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดีเอชแอลทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนากระบวนการเหล่านี้ เพื่อทำให้เอสเอ็มอีสามารถเติบโต และทำให้การค้าข้ามพรมแดนราบรื่น

นายฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักตลาดพาณิชย์ดิจิทัล กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า "ภาพรวมส่งออกไทยในปี 2565 ยังขยายตัวได้ดี ภายหลังการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 12 เดือนจนถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา[4] สินค้าส่งออกของไทยบางรายการขยายส่วนแบ่งการตลาดในตลาดหลัก เช่น จีน สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศอาเซียน ในขณะที่ตลาดเกิดใหม่ เช่น แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกาใต้เป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับเอสเอ็มอีในการทำตลาด โดยปัจจัยที่สนับสนุนการส่งออกของไทยนอกจากการขยายตัวของภาคการผลิต แล้วยังเป็นอิทธิพลจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าเข้าไปกักตุนไว้ รวมถึงการส่งเสริมของกระทรวงพาณิชย์ ก็มีบทบาทสำคัญในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ อีกทั้งการมีบริษัทที่มีเครือข่ายระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการค้าอย่าง ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ก็ช่วยทำให้เรามั่นใจว่าโครงการต่างๆ ของเราดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จ เอสเอ็มอีสามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพการเติบโตของการค้าข้ามพรมแดนโดยไม่มีอุปสรรคด้านโลจิสติกส์ และทำให้การรับ-ส่งสินค้าเป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น"

เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย และหัวหน้าภาพพื้นอินโดจีน เผยว่า  "หลายประเทศให้ความสำคัญกับการค้าอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนเพื่อเร่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในตลาดการค้าโลก ในโลกของการค้า โครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการลดอุปสรรคคอขวดทางการค้า การค้าข้ามพรมแดนสร้างความเจริญรุ่งเรืองและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ยังคงมีอุปสรรคในหลายภูมิภาค และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ GoTrade ความร่วมมือของเรากับ DITP มีเป้าหมายเพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถขายสินค้าระหว่างประเทศได้ผ่านอีคอมเมิร์ซและเครือข่ายที่แข็งแกร่งของเรา เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุม GoTrade ยังได้ออกแบบมาเพื่อช่วยธุรกิจในการดำเนินการด้านศุลกากร เพิ่มปริมาณการส่งออกและนำเข้า และลดอุปสรรคทางการค้าข้ามพรมแดน"

ปาริชาติ ประมุขกุล รองประธานฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย จำกัด เผยว่า "ปัจจุบันมีโอกาสมากมายสำหรับเอสเอ็มอีไทยในตลาดการค้าโลก ภายใต้สถานการณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการส่งออก เช่น การฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วในหลายประเทศ การผ่อนคลายข้อจำกัดทางการค้า การลงทุนเพิ่มในธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อขยายขีดความสามารถในการขนส่งสินค้า และหลายประเทศหันมาส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้ามากขึ้น อย่างไรก็ตามความท้าทายด้านการบริหาร ด้านเทคนิค และกฎระเบียบทำให้เอสเอ็มอีขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้อย่างล่าช้า GoTrade ได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาเหล่านี้โดยใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมของเรา รวมถึงให้ความรู้และทรัพยากรเพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีก้าวข้ามผ่านอุปสรรคดังกล่าว"

อ่านบทความได้ที่ https://dhltoyou.com/th/blog/detail/124/DITP-DHL-Express-GoTrade-webinar

[1] Q1, 2022 export values, Trade Policy and Strategy Office, Ministry of Commerce

[2] DITP - นมจากพืช (plant-based milks) มาแรงในยุโรป, p.2

[3] DITP - เศรษฐกิจส่งเสริมการนอนในตลาดจีนกำลังเติบโต, p.1

[4] SCB EIC - ส่งออกไทยยังขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12, 25 Mar 2022

ที่มา: พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง

GoTrade เปิดประตูเอสเอ็มอีไทยสู่ตลาดโลก สร้างแต้มต่อการแข่งขันในการส่งออก ด้วยความร่วมมือระหว่าง DITP และ DHL Express

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ