บล.ทิสโก้ชี้หุ้นไทยยัง 'เสี่ยง' หวั่นสหรัฐฯ เดินหน้านโยบายการเงินเข้ม และเงินเฟ้อสูง ฉุดตลาดผันผวน

พฤหัส ๐๒ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๑๔:๐๗
บล.ทิสโก้ห่วงหลากความเสี่ยงกดดันหุ้นไทยผันผวน ทั้งอัตราเงินเฟ้อสูง สหรัฐฯ เดินหน้านโยบายการเงินเข้มงวด ขึ้นดอกเบี้ยเร็ว หนุนเงินทุนเคลื่อนย้าย คงมุมมอง 'ระมัดระวัง' ต่อแนวโน้มการลงทุนในช่วง 1 - 2 เดือนข้างหน้า
บล.ทิสโก้ชี้หุ้นไทยยัง 'เสี่ยง' หวั่นสหรัฐฯ เดินหน้านโยบายการเงินเข้ม และเงินเฟ้อสูง ฉุดตลาดผันผวน

นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า การประชุมธนาคารกลางสำคัญของโลกในเดือนมิถุนายนนี้ ส่วนใหญ่ยังคงดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดต่อเนื่อง โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) คาดว่า จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% (หรือ 50 bps) ต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว สู่ระดับ 1.00 - 1.50% และที่สำคัญ FED จะเริ่มลดขนาดงบดุล (QT) ที่อัตราเดือนละ 4.75 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไป หลังจากนั้น 3 เดือนหรือในเดือนกันยายนจะเพิ่มอัตราการลดขนาดงบดุลเป็นเดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ส่วนธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คาดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องอีก 0.25% (25 bps) สู่ระดับ 1.25% และธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) คาดจะประกาศจุดสิ้นสุดของการทำมาตรการผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ (QE) เพื่อปูทางไปสู่การปรับขึ้นดอกเบี้ย (Deposit Facility Rate) ครั้งแรก 0.25% (25 bps) ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเร็วกว่าเดิมที่เคยคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนกันยายน ขณะที่การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และธนาคารกลางไทย (BOT) คาดยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ -0.10% และ 0.50% ตามลำดับ

ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Yield) กลับเข้าสู่แดนบวกแล้วในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และการเริ่มดึงสภาพคล่องออกจากระบบของ FED ในเดือนมิถุนายนนี้ เป็นต้นไป รวมถึงนโยบายการเงินของสหภาพยุโรปที่กำลังปรับไปในทางที่เข้มงวดขึ้นในระยะข้างหน้า น่าจะทำให้เกิดความผันผวนของกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายและราคาสินทรัพย์เสี่ยงอยู่พอสมควร

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P 500 Index) แกว่งตัวในทิศทางขาลงจนใกล้เข้าสู่ภาวะหมีแล้ว หลังปรับตัวลงใกล้ระดับ -20% จากที่เคยขึ้นสูงสุดในช่วงปลายปีที่แล้ว แต่สำหรับดัชนี NASDAQ ซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะหมีไปแล้วในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ภายใต้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นนาน การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่ยังคงดำเนินต่อไป และความตึงเครียดทางเมืองเชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risks) บล.ทิสโก้เป็นห่วงว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่ช้าก็เร็วจะต้องเข้าสู่ภาวะหมีแบบเต็มตัวในที่สุด

โดยสรุป บล.ทิสโก้ยังคงมุมมอง 'ระมัดระวัง' ต่อแนวโน้มการลงทุนในช่วง 1 - 2 เดือนข้างหน้า จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของสหรัฐฯ ทั้งการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องและการเริ่มดึงสภาพคล่อง ขณะที่ Real Yield ที่กลับมาเป็นบวก น่าจะทำให้เกิดความผันผวนของกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายและราคาสินทรัพย์เสี่ยงอยู่พอสมควร

สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในช่วงนี้ บล.ทิสโก้แนะนำให้ลงทุนหุ้นธีม 'Re-opening' แนะนำ BDMS, BEM, MAJOR และหุ้น 'Value & Dividend' แนะนำ AP, EGCO นอกจากนี้ ยังแนะนำหุ้นที่มีแนวโน้มกำไรเติบโตดีมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว คือ JMT (คาดเข้า SET50) เพราะฉะนั้น หุ้นเด่นในเดือนมิถุนายนที่แนะนำ คือ AP, BDMS, BEM, EGCO, JMT และ MAJOR ด้านแนวรับสำคัญของหุ้นไทยเดือนนี้อยู่ที่ 1,620 - 1,625 จุด และแนวรับต่อไปที่ 1,600 - 1,610 จุด ส่วนแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1,670 จุด และ 1,680 - 1,685 จุด ตามลำดับ

ที่มา: ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๙ ผู้ถือหุ้น READY อนุมัติปันผล อัตรา 0.30 บาทต่อหุ้น ปักธงปี 68 รายได้โต 10% เติบโตตามเทรนด์การตลาดยุคดิจิทัล
๑๗:๐๗ JMART เตรียมเงินพร้อมคืนหุ้นกู้ 1,500 ล้านบาท ตอกย้ำเสถียรภาพการเงินปิดจ๊อบหุ้นกู้ 856.6 ล้านบาท ขอบคุณนักลงทุนที่เชื่อมั่น
๑๗:๓๗ Lorde เซอร์ไพรส์! ส่งเพลงใหม่ในรอบ 4 ปี What Was That พร้อมเอ็มวีแนว Vlog สุดเท่ ซีนยิ่งใหญ่แฟนเพลงรวมตัวกว่า 8,000
๑๗:๐๔ Kenny G คัมแบ็ค!! ชวนแฟน ร่วมดื่มด่ำสุนทรียภาพดนตรีแจซระดับโลกอีกครั้ง ใน Kenny G Live in Bangkok 2025 เปิดแสดง 4 กรกฎาคม
๑๗:๒๓ เปิดประตูสู่อนาคตไอที รำไพพรรณี MOU นครระยองวิทยาคมฯ สร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่
๑๗:๐๘ JGAB 2025 เวทีอัญมณีและเครื่องประดับอาเซียนระดับโลก ดันไทยสู่ศูนย์กลางการค้าและนวัตกรรมเครื่องประดับอย่างยั่งยืน
๑๗:๐๒ อ.อ.ป. ร่วมยินดี อคส. ครบรอบ 70 ปี
๑๗:๓๗ กองทรัสต์อัลไล เดินหน้าขยายพอร์ต เตรียมลงทุน! 2 โครงการใหม่ ทีเท็น บาย วิลเลจ ฮับ และ วิลเลจ ฮับ สายไหม โครงการคอมมูนิตี้มอลล์บนทำเลศักยภาพ
๑๗:๓๕ Bangkok Climate Action Week (BKKCAW) รวมพลังคนกรุง สู้วิกฤตโลกร้อน
๑๗:๓๑ Sherwood Corporation จับมือ Conquest Crop Protection Pty Ltd ขยายช่องทางสู่ตลาดเคมีเกษตรในออสเตรเลีย