วว. /มรภ.เพชรบูรณ์ ร่วมยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน-พึ่งพาตนเองได้

จันทร์ ๐๖ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๑๕:๕๑
ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา   เอี่ยมโชติชวลิต   ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม  (อว.)  และ  ผศ.ดร.ปรีชา  ศรีเรืองฤทธิ์  รักษาราชการแทนอธิการบดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากฯ และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดเพชรบูรณ์ ตามเป้าหมายการดำเนินงานในรูปแบบ Quadruple Helix ของ วว. ในการทำงานเชิงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคเอกชนในพื้นที่  โดยมี  ผศ. ดร.กาญจน์  คุ้มภัย  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  ดร.รจนา  ตั้งกุลบริบูรณ์  ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. ร่วมเป็นสักขีพยาน   โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ  2  ปี  โอกาสนี้  นายชัยสิทธิ์    สัมฤทธิ์ผล  นายอำเภอเมืองเพชรบูรณ์  ศ.ดร. เภสัชกรหญิงมาลิน   อังสุรังสี  กรรมการ บริษัท S & J International Enterprises Public Company Limited  ร่วมเป็นเกียรติ   ในวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ณ สำนักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์                                           
วว. /มรภ.เพชรบูรณ์ ร่วมยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน-พึ่งพาตนเองได้

ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า หนึ่งในยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนโยบายของรัฐบาลที่สำคัญ คือ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นกลไกหลักในการทำงาน  ทั้งนี้ วว. และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  จะร่วมบูรณาการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อใช้เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากร เกษตรและชีวภาพ ชีวภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง และเวชสำอางไทย รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรในรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) เพื่อตอบสนองตามนโยบายของรัฐบาล ให้ทรัพยากรของจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ลดของเสีย นำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ เพื่อสร้างและรักษาเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติของจังหวัดเพชรบูรณ์ไว้  รวมทั้งจะร่วมกันพัฒนาความร่วมมือด้านพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนาห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบ ระบบมาตรฐานห้องปฏิบัติการ และโครงสร้างพื้นฐาน โดยใช้ผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาจังหวัดและพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ วว. และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในพื้นที่ จะร่วมทำงานในเครือข่ายพื้นที่ผ่านกิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) การปรับปรุงกระบวนการผลิต เช่น พัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตโดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม มาใช้ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  2) การส่งเสริมการจัดทำสารสกัด เช่น พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูป เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบ หรือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยให้แก่กลุ่มเป้าหมายในจังหวัด โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ได้แก่ มะขาม ขิง และอะโวคาโด โดยมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานพร้อมชุดสกัดสารสมุนไพร ซึ่งถือเป็น Highlight ของชุดโครงการ ได้แก่  การพัฒนาเครื่องมือชุดสกัดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ที่สำคัญ  ประกอบด้วย ชุดสกัดและระเหยแห้งสารสกัดสมุนไพรแบบครบวงจร ที่สามารถรองรับการผลิตสารสกัดได้อย่างสมบูรณ์แบบ เทียบเท่าการผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรม ให้การบริการกับผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ในการนำสินค้าเกษตรจากสิ่งเหลือทิ้งนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบสารสกัด เพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและอาหารเสริม นอกจากนี้ บริษัท S & J International Enterprises Public Company Limited ซึ่งเป็นพันธมิตรภาคเอกชนร่วมสนับสนุนโครงการ โดยได้บริจาคเครื่อง Screw Oil Pressing Machine เพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ นำไปพัฒนาผู้ประกอบการในชุมชนและพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์

"...วว. คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะก่อให้เกิดผลกระทบในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ สร้างความรู้ความเข้าใจ และทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการยกระดับผลิตภัณฑ์ อีกทั้งจังหวัดเพชรบูรณ์จะมีโครงสร้างพื้นฐานในลักษณะของชุดสกัดเพื่อสนับสนุนการแปรรูปให้กับผู้ประกอบการ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถและเชี่ยวชาญของบุคลากรในมหาวิทยาลัยร่วมด้วย และยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของจังหวัด การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบทางการเกษตรจากพืชสดไปเป็นสารสกัดหรือน้ำมันหอมระเหย จากขิงสดกิโลกรัมละ 10 บาท สกัดเป็นน้ำมันขิงบริสุทธิ์มีมูลค่ากิโลกรัมละ 50,000 บาท เป็นต้น รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการการลงทุนด้านนวัตกรรมและยกระดับผลิตภัณฑ์ในพื้นที่..." ผู้ว่าการการ วว. กล่าว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับคำแนะนำปรึกษาด้าน  วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จาก  วว.   ติดต่อได้ที่  โทร.  0 2577  9000  โทรสาร  0 2577   9009  E-mail : [email protected]   Line@TISTR   IG : tistr_ig

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version