เสริมภูมิคุ้มด้วยอาหารการกิน เพื่อให้สุขภาพที่ดีของเพื่อนรักสี่ขา

อังคาร ๐๗ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๐๙:๓๘
ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย หลายๆ คนได้หันมาใส่ใจภูมิคุ้มกันของตนเอง และครอบครัวรวมถึงสมาชิกสี่ขาอย่างน้องหมา ทำให้เขาหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการเสริมภูมิคุ้มกันน้องหมาเช่นกัน ดังนั้นเราจึงเชิญอ.น.สพ.ชัยยศ ธารรัตนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพูดคุยเรื่องการดูแลรักษาสุนัขในกรณีที่เขามีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 และวิธีการป้องกันเบื้องต้นผ่านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของสุนัขผ่านอาหารการกิน
เสริมภูมิคุ้มด้วยอาหารการกิน เพื่อให้สุขภาพที่ดีของเพื่อนรักสี่ขา

ที่ผ่านมาในต่างประเทศมีรายงานว่าสุนัขสามารถติดโควิด-19 ซึ่งรายงานดังกล่าวได้สร้างความตื่นตระหนกให้แก่หลายๆ ครอบครัวที่มีสุนัขอาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน ที่ผ่านมาทีมวิจัยของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พบว่าประเทศไทยมีการพบสุนัขติดโควิด-19 เป็นจำนวน 3 ตัว ในจำนวนสุนัขทั้งหมดที่ได้รับการยืนยันว่าติดโควิด-19 นั้น มีสุนัขเพียง 1 ตัวเท่านั้นมีที่แสดงอาการอ่อนๆ เนื่องจากหมาตัวนั้นมีการรักษามะเร็งด้วยวิธีคีโมบำบัดทำให้ภูมิคุ้มกันของน้องต่ำลง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โควิด-19 โรคทางภูมิคุ้มกัน โรคไต โรคตับ โรคต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

สำหรับการติดเชื้อโควิด-19 ในน้องหมานั้น คุณหมอชัยยศกล่าวว่า "มีเปอร์เซนต์สูงที่สารคัดหลั่งนั้นจะมาจากเจ้าของที่อยุ่ใกล้ชิดกับน้อง อุ้มน้อง หรือเล่นกับน้อง แล้วเกิดไปหรือจามจนส่งสารคัดหลั่งไปถึงสัตว์เลี้ยงได้ จากน้องหมาทั้ง 3 ตัวที่ได้รับตรวจพบว่ามีผลเป็นบวกนั้นล้วนได้รับเชื้อมากจากเจ้าของ" เหตุการณ์นี้จึงทำให้อาจารย์หมอชัยยศกำชับความคิดที่ว่าโควิดสามารถแพร่จากเจ้าของสู่สุนัขได้ ถ้าเจ้าของมีความเสี่ยงที่จะมีผลเป็นบวก แต่ในขณะเดียวกันโควิดก็ยังไม่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ จนถึงปัจจุบันทางทีมสัตวแพทย์ยังคงติดตามการติดเชื้อโควิดในสุนัขอย่างใกล้ชิดเพื่อติดตามว่ามีโอกาสที่เชื้อจะกลายพันธุ์หรือมีความรุนแรงในสัตว์เลี้ยงมากขึ้นหรือไม่

สำหรับเจ้าของที่ติดโควิด-19 นั้น คุณหมอชัยยศแนะนำว่าเจ้าของสุนัขควรแยกตนเองจากน้องหมา ในกรณีที่เลี้ยงสุนัขหลายๆ ตัว เจ้าของควรแยกน้องๆ ตัวอื่นออกจากกันด้วย เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีข้อระบุชัดเจนว่าเชื้อจะแพร่ไปยังสุนัขด้วยกันเองได้ไหมหรือแม้กระทั่งมาสู่คน ดังนั้น ผู้เลี้ยงหรือคนที่ดูแลน้องควรใช้อุปกรณ์แยกเฉพาะสำหรับสุนัขที่ป่วยรายนั้นๆ และในทางเดียวกันเจ้าของก็ควรใส่ใจในการดูแลสุขภาพเขาทั้งในน้องหมาที่ติดเชื้อแล้วหรือยังไม่ได้ติดเชื้อก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่าย

"ไม่ว่าจะเป็นการให้อาหารเบื้องต้นที่มีโภชนาการที่ดีสมดุล เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพที่แข็งแรงของเขา การจัดการสุขภาพทั่วไปทางด้านอื่นๆ อย่างการทำวัคซีนควบคุมเห็บหมัด หลีกเลี่ยงในการออกไปสัมผัสกับบริเวณที่มีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อแบบนี้เป็นต้น" อ.น.สพ.ชัยยศ ธารรัตนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะวิธีการดูแลเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในสัตว์เลี้ยง

คุณหมอชัยยศยังเสริมอีกว่า สำหรับผู้เลี้ยงที่ต้องการสังเกตว่าสุนัขมีอาการที่สุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ไหม จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ตอบได้ยากมาก เพราะสุนัขส่วนใหญ่ไม่ได้มีอาการอะไรเลยที่บ่งบอกว่าเขามีความเสี่ยง ทั้งนี้ หาสุนัขมีอาการไอหรือจามก็ต้องดูหรือไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจว่าอาการนั้นมีความเกี่ยวข้องกับโควิดจริงไหม หรือมันเป็นอาการของโรคอื่นๆ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจจากแบคทีเรียตัวอื่น เพื่อรับรักษาตามอาการหรือผลการวินิจฉัยโรคนั้นๆ และส่งเสริมสุขภาพที่ดีของเค้าก็เพียงพอ ในปัจจุบันเรายังไม่มียาที่แนะนำในการใช้การรักษาโควิด-19 ในสุนัขอย่างชัดเจนเหมือนกับที่เรามีแนะนำในคน

แม้ว่าสุนัขจะไม่มีอาการอะไรที่บ่งบอกว่าติดเชื้อโควิด-19 นั้น เจ้าของก็ยังคงต้องให้ความสำคัญของระบบภุมิคุ้มกันในสุนัข ซึ่งเป็นตัวแปรหลักที่สำคัญที่สุดในการลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ รวมไปถึงเชื้อโควิด-19 และป่วยเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง และรักษาแล้วไม่หาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวกับการติดเชื้อ

ดังนั้นสิ่งที่เจ้าของสามารถทำได้ดีที่สุดคือการดูแลสุขภาพของสุนัขของเราให้มีสุขภาพที่ดี และแข็งแรงที่สุด ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านการเลี้ยงดูที่ดี และอาหารที่ดีซึ่งเป็นอาหารที่มีสัดส่วนทางโภชนาการที่ครบถ้วน สมดุล ถูกต้องและเหมาะสมกับสุนัขหรือสัตว์แต่ละขนาดและช่วงวัย เพราะอาหารเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่สำคัญในการเจริญเติบโต สร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ลดการเจ็บป่วย และการดูแลที่ดีคือการป้องกันโรคอื่นๆ ผ่านการ ทำวัคซีน ควบคุมเห็บหมัด ป้องกันพยาธิหัวใจ พยาธิทางเดินอาหารอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวมทั้งระมัดระวังไลฟ์สไตล์ของเขาไม่ให้ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือได้รับเห็บหมัด เป็นสิ่งพื้นฐานที่เข้าของควรดูแลน้องเพื่อลดภาวะเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ ซึ่งรวมการพาน้องไปตรวจสุขภาพสม่ำเสมอโดยสำหรับสุนัขที่อายุน้องกว่า 6 ปี คุณหมอแนะนำให้ตรวจทุกปี อย่างน้อยปีละครั้ง หากอายุเกิน 6 ปีขึ้นไปแนะนำให้ตรวจทุก 6 เดือน การตรวจอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยให้เราสามารถตรวจเจอความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้ลดความรุนแรงของโรคและอาการดีขึ้นได้

คุณหมอชัยยศได้ทิ้งท้ายว่า "เจ้าของสุนัขหลายๆ ท่านอาจเลือกปรุงอาหารให้กับน้องๆ ด้วยตนเองซึ่งข้อดีของอาหารปรุงเอง ได้แก่กลิ่นอาหารที่หอม และมีความน่ากิน แต่การให้ปรุงอาหารเองหรือ Home cooked ต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญสูง เนื่องจากสุนัขมีความต้องการทางโภชนาการที่ต่างจากคน หากไม่มีความรู้มากพออาจส่งผลให้สุนัขไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารที่เพียงพอ ครบถ้วน สมดุล การให้อาหารสำเร็จรูปจึงเป็นตัวเลือกง่ายที่สุด เพราะอาหารสำเร็จรูปเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการในการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยมาหมดแล้วว่ามันได้มีการผลิตอาหารตามสัดส่วนที่เหมาะสม ใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมเพื่อช่วยทำให้สุนัขมีสุขภาพที่ดีตามความต้องการพื้นฐานของร่างกายอยู่แล้ว นอกจากนั้น ในปัจจุบัน อาหารแต่ละชนิดก็ยังคงมีการเติมสารอาหารต่างๆ เข้าไปเพื่อหวังในประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะเช่น มีการเติมสารอาหารเพื่อทำให้ผิวหนังแข็งแรงมีสุขภาพที่ดี การเติมสารอาหารบางชนิดที่ช่วยทำให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สุนัขมีภูมิคุ้มกันของร่ายกายที่แข็งแรง ลดโอกาสในการเจ็บป่วยและเกิดโรคติดเชื้อได้ ทั้งนี้สำหรับสุนัขที่มีโรคประจำตัวก็ควรจะปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อโภชนาการที่ดีและเหมาะสมต่อไป"

สพ.ญ.วธุวรรณ พฤกษนันต์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารวิชาการสัตว์เลี้ยง มาร์ส ไทยแลนด์ อิงค์ กล่าวเสริมอีกว่า "การให้อาหารสุนัขตามหลักโภชนาการที่มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุลควรคำนึงถึงความต้องการของแต่ละตัวด้วย เนื่องจากสุนัขแต่ละตัวจะมีความความต้องการของสารอาหารที่ต่างกันจากสายพันธุ์และช่วงวัย ด้วยเหตุนี้ สถาบันวิจัยโภชนาการและการดูแลสัตว์เลี้ยงชั้นนำวอลแธม (Waltham Research) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยภายใต้มาร์ส เพ็ทแคร์คิดค้นสูตรอาหาร Pedigree(R) (เพดดิกรี) อาหารสุนัขชนิดแห้งและเปียก ที่มีคุณค่าทางโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับสุนัขในแต่ละวัย เพราะอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนและสมดุลไม่เพียงช่วยให้สุนัขนำสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ แต่ยังเสริมความแข็งแรงให้กับระบบภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโต และพอเหมาะกับพลังงานสำหรับกิจวัตรประจำวัน ลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ อีกด้วย"

ที่มา: แอปโก้ เวิร์ลด์ไวด์

เสริมภูมิคุ้มด้วยอาหารการกิน เพื่อให้สุขภาพที่ดีของเพื่อนรักสี่ขา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท โรงแรมที่เป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของคุณ
๑๗:๑๔ คอนติเนนทอล เปิดตัวเทคโนโลยี Ac2ated Sound เมื่อหน้าจอแสดงผลสามารถส่งเสียงได้ !
๑๗ เม.ย. ออปโป้ชวนสัมผัสความงามประเพณีไทย ผ่านภาพพอร์ตเทรต จากวิดีโอสารคดี สีสันใหม่ ในวันสงกรานต์
๑๗ เม.ย. ล้ำไปอีกขั้น. ไฟน์ไลน์ซักผ้าเข้มข้น ดีลักซ์ เพอร์ฟูม คริสตัล บูเก้ มาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ Charming Booster
๑๗ เม.ย. Phytomer Thailand เปิดตัวทรีทเม้นท์สำหรับผิวคนในเมืองที่จะต้องเผชิญภาวะฝุ่นละออง PM 2.5
๑๗ เม.ย. เตรียมล็อคคิว หลิง-ออม ชวนแฟน ๆ ร่วมเบิร์ดเดย์ LINGORM BIRTHDAY CHARITY 2025 กดบัตร 20 เม.ย. นี้
๑๗ เม.ย. โก โฮลเซลล์ ลุยเคาะรั้วมหาวิทยาลัย ชี้ช่องตำแหน่งงาน นำร่อง ม.มหาสารคาม เจาะนิสิตเฉพาะทาง เพิ่มผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ ตอกย้ำ Brand Core
๑๗ เม.ย. กรมการท่องเที่ยว ชวนผู้ประกอบการไทยอบรมออนไลน์ รู้ลึก เกณฑ์คุณภาพที่พักนักเดินทาง Home Lodge
๑๗ เม.ย. MOTHER ส่งซิกผลงาน Q1/68 เริ่ด!
๑๗ เม.ย. บี.กริม เพาเวอร์ ร่วมงาน Sustainability Week Asia 2025 ครั้งที่ 4 ฉายวิสัยทัศน์ ตอกย้ำผู้นำพลังงานสะอาด ก้าวสู่เป้าหมาย Net