องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) หัวเว่ย (Huawei) และพันธมิตรในโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติ ได้มารวมตัวกันวันนี้เพื่อเชิญชวนให้ทั่วโลกหันมาพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้ปกป้องโลกของเราได้ดีกว่าเดิม
พันธมิตรทั้งสองรายนี้ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดทางออนไลน์อย่าง "เทค ฟอร์ อะ เบทเทอร์ แพลนเน็ต" (Tech for a Better Planet) หรือเทคโนโลยีเพื่อโลกที่ดีกว่า เพื่อแสดงให้เห็นบทบาทของเทคโนโลยีในการยกระดับผลลัพธ์ในการอนุรักษ์ธรรมชาติ พร้อมโชว์เทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ปกป้องธรรมชาติของเรา
หนทางรับมือกับภัยคุกคามสิ่งแวดล้อมได้เข้ามาเพิ่มความตระหนักว่า เทคโนโลยีช่วยสร้างความแตกต่างในการอนุรักษ์ธรรมชาติได้
"เราเชื่อว่า เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นปัจจัยสำคัญในการปกป้องสิ่งแวดล้อม" เต๋า จิงเหวิน (Tao Jingwen) กรรมการบริษัท และกรรมการฝ่ายพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนของหัวเว่ย กล่าว "ทุกภาคส่วนของสังคมควรร่วมมือกันภายในตลาดที่เปิดกว้างและเอื้อต่อการประสานงาน เพื่อนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และพลิกโฉมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้เป็นโซลูชันและบริการที่ช่วยสร้างโลกสีเขียวได้"
หัวเว่ยส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำนวัตกรรมไอซีทีมาใช้ส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์ทั่วโลก ซึ่งในด้านการจัดหาพลังงานนั้น หัวเว่ยนำอิเล็กทรอนิกส์กำลังมาผสานรวมกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเร่งการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ส่วนในแง่ของการใช้พลังงานนั้น หัวเว่ยจะเดินหน้าคิดค้นเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของโครงสร้างพื้นฐานไอซีที ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานและลดการปล่อยมลพิษในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้สร้างความร่วมมือในระยะยาว เพื่อพัฒนาผลลัพธ์ในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้วยการพัฒนาโซลูชันเทคโนโลยีที่เข้าใจธรรมชาติมากขึ้น และมอบแนวทางที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศต่าง ๆ ได้ดีกว่าเดิม โดยในปี 2563 นั้น องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและหัวเว่ยได้เปิดตัวโครงการเทคฟอร์เนเจอร์ (Tech4Nature) ขึ้นทั่วโลก และจากนั้นก็ได้ริเริ่มโครงการนำร่องต่าง ๆ ตามมาตรฐานบัญชีเขียว (Green List) ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติในสวิตเซอร์แลนด์ สเปน จีน เม็กซิโก และมอริเชียส
ที่นอกชายฝั่งประเทศมอริเชียสนั้น องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หัวเว่ย และอีโคโหมด โซไซตี (Ecomode Society) ได้วางระบบเฝ้าระวังระบบนิเวศแนวปะการังใต้น้ำแบบเรียลไทม์ระบบแรกในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศแนวปะการังที่ถูกคุกคามอย่างรุนแรง ด้วยการเลี้ยงปะการังในเรือนเพาะชำ ย้ายปลูกปะการัง และเฝ้าดูการเติบโต สภาพน้ำ และภัยคุกคามต่าง ๆ เช่น สาหร่าย โซลูชันดังกล่าวประกอบด้วยกล้องใต้น้ำ พร้อมเลนส์พิเศษ เซ็นเซอร์ เครือข่าย 4G สำหรับใช้รับส่งข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ไว้ใช้วิเคราะห์ผลค้นพบ ซึ่งนับจนถึงปัจจุบัน ได้มีการย้ายเศษปะการังเกือบ 10,000 ชิ้นไปปลูกกับปะการังที่เสื่อมสภาพ โดยมีแผนที่จะปลูกให้ได้ 25,000 ชิ้นนับจนถึงปลายปี 2565
สจ๊วต มากินนิส (Stewart Maginnis) รองอธิบดีฝ่ายโครงการ ประจำองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ กล่าวว่า "โครงการเทคฟอร์เนเจอร์จากความร่วมมือระหว่าง IUCN กับหัวเว่ย เป็นตัวอย่างที่ดีของการร่วมทำโปรเจกต์ระหว่างภาคอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและภาคไอซีที เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้อนุรักษ์ธรรมชาติได้อย่างเต็มศักยภาพในส่วนต่าง ๆ"
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติยกให้การผสานรวม "เทคโนโลยี ข้อมูล และนวัตกรรม" เป็นแกนกลางสำคัญในการบรรลุเป้าหมายในโครงการเนเจอร์ 2030 (Nature 2030) ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ทางองค์การฯ ยังเชื่อด้วยว่า นวัตกรรมต่าง ๆ ในด้านการสำรวจข้อมูล บิ๊กดาต้า การเรียนรู้ของเครื่อง และปัญญาประดิษฐ์ ช่วยเพิ่มความรู้และข้อมูลเชิงลึกในส่วนต่าง ๆ ที่มีความสำคัญได้ ทั้งดิน น้ำ มหาสมุทร และสภาพอากาศ สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียออกแบบโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและระบบเฝ้าระวังชนิดพันธุ์และระบบนิเวศต่าง ๆ ได้โดยมีข้อมูลรองรับมากขึ้น
ในการประชุมสุดยอดนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญและนักอนุรักษ์จากภาคสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์ร่วมงานด้วย ทั้งจากอีโคโหมด โซไซตี, องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สาขาอิตาลี, สมาคมล่าสัตว์และการประมงแห่งแบร์เลแวค (Berlev?g jeger og fiskeforening), ศูนย์อนุรักษ์ธรรมชาติฉานสุ่ย (Shan Shui Nature Conservation Center) และแผนกพลังงานดิจิทัลของหัวเว่ย ซึ่งได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและแนวปฏิบัติระดับโลกในการรับมือภัยโลกร้อนและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ประจำการประชุมสุดยอด เทค ฟอร์ อะ เบทเทอร์ แพลนเน็ต
เกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) เป็นการรวมกันขององค์กรภาครัฐและประชาสังคม โดยเปิดโอกาสให้องค์กรภาครัฐ เอกชน และองค์การนอกภาครัฐ ได้รับความรู้และเครื่องมือส่งเสริมความก้าวหน้าของมนุษย์ พร้อมพัฒนาเศรษฐกิจและอนุรักษ์ธรรมชาติในคราวเดียวกัน
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2491 จนก้าวขึ้นเป็นเครือข่ายสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่และหลากหลายที่สุดในโลก ทางองค์การฯ เพียบพร้อมทั้งประสบการณ์ ทรัพยากร และอิทธิพลขององค์กรที่เป็นสมาชิกกว่า 1,400 ราย รวมถึงผู้เชี่ยวชาญราว 18,000 ราย องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาตินับเป็นกระบอกเสียงระดับโลก ที่สะท้อนถึงสถานะของโลกธรรมชาติและมาตรการที่จำเป็นในการปกป้องธรรมชาติ โดยแบ่งผู้เชี่ยวชาญของเราเป็นคณะกรรมการ 6 ชุด เพื่อดูแลความอยู่รอดของสายพันธุ์ต่าง ๆ รวมถึงดูแลเรื่องกฎหมายสิ่งแวดล้อม พื้นที่คุ้มครอง นโยบายสังคมและเศรษฐกิจ การบริหารจัดการระบบนิเวศ ไปจนถึงการศึกษาและการสื่อสาร
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ได้ที่ www.iucn.org
เกี่ยวกับเทคฟอร์ออล
เทคฟอร์ออล (TECH4ALL) เป็นโครงการริเริ่มและแผนปฏิบัติการระยะยาวที่หัวเว่ยเปิดตัวขึ้นเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางดิจิทัล โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อทำให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครถูกทอดทิ้งในโลกดิจิทัลนี้ หัวเว่ยทำงานกับลูกค้าและพันธมิตรเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การศึกษา สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการพัฒนา
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์เทคฟอร์ออล https://www.huawei.com/en/tech4all และติดตามเราทาง https://twitter.com/HUAWEI_TECH4ALL
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1834079/image_1.jpg
คำบรรยายภาพ - เต๋า จิงเหวิน กรรมการบริษัท และกรรมการฝ่ายพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนของหัวเว่ย
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1834080/image_2.jpg
คำบรรยายภาพ - สจ๊วต มากินนิส รองอธิบดีฝ่ายโครงการ ประจำองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1834081/image_3.jpg
คำบรรยายภาพ - ดร. นาดีม นาซูราลลี ประธานอีโคโหมด โซไซตี