วช. ส่งเสริมการปลูกไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเลย เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ ด้วย "มาลัยวิทยสถาน"

อังคาร ๐๗ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๑๖:๓๓
เมื่อวันที่ 1-2 มิถุนายน 2565 คณะผู้ทรงคุณวุฒินำโดย ดร.จันทรวิภา ธนะโสภณ และ รศ.ดร.อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ พร้อมด้วย นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
วช. ส่งเสริมการปลูกไม้ดอกไม้ประดับจังหวัดเลย เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ ด้วย มาลัยวิทยสถาน

เพื่อติดตามโครงการและเยี่ยมชมการพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานไม้ดอกไม้ประดับอัตลักษณ์ประจำถิ่นเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ ด้วยแนวทางมาลัยวิทยสถาน โดยมีนายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมด้วยคณะนักวิจัย จาก วว. ที่ดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีโครงการแผนการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับด้วยนวัตกรรมเกษตร ด้วยแนวทางมาลัยวิทยสถาน อว. ประกอบด้วย 4 กิจกรรมย่อย คือ 1. การพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานไม้ดอกไม้ประดับอัตลักษณ์ประจำถิ่นเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ 2. การพัฒนาปัจจัยการผลิตในการทำเกษตรปลอดภัยสำหรับไม้ดอกไม้ประดับ 3. การยกระดับระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับที่ดีด้วยเกษตรแม่นยำ และ 4. การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์ไม้ตัดดอกและไม้ประดับกระถางส่งตรงผู้บริโภค

จากการดำเนินงานโครงการดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดเลย มีรายได้เพิ่มขึ้น มากกว่าหกสิบเปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีการลดต้นทุนการผลิตโดยมีการพัฒนาชุดอบไอน้ำสำหรับวัสดุปลูก และการพัฒนาต้นพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับปลอดโรค ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและเกิดความเข้มแข็งกับชุมชน สำหรับโครงการนี้ยังช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์และข้อมูลการผลิตไม้ดอกไม้ประดับไปยังพื้นที่อื่นๆ ส่งต่อข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ไปยังผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีช่วยยืดอายุผลผลิตไม้ตัดดอกและไม้กระถางส่งตรงถึงผู้บริโภคทำให้ผู้บริโภคและเกษตรกรสามารถซื้อขายกันได้

สำหรับจังหวัดเลยเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงเมืองหนึ่ง เนื่องจากมีวัฒนธรรมที่โดดเด่น และมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งมีภูมิอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี เหมาะแก่การเพาะปลูกพรรณไม้เมืองหนาวหลากหลายสายพันธุ์ ส่งผลให้มีกลุ่มเกษตรกรที่ทำการเพาะเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอำเภอภูเรือและอำเภอด่านซ้าย เป็นแหล่งผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญ และขนาดใหญ่สุดของประเทศ มีไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายชนิดและสายพันธุ์ พรรณไม้ดอกไม้ประดับที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเลยมีอยู่มากมายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นต้นคริสต์มาส ดอกเบญจมาศ สับปะรดสี และพรรณไม้อวบน้ำ จึงเป็นพื้นที่ต้นแบบสู่การเรียนรู้เชื่อมโยงไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ต่อไป

นางสาวณัฐริกา ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนท้ายบ้านแก่งไฮ อำเภอภูเรือ กล่าวว่า ปัจจุบัน วช. และ วว. ได้ร่วมกันเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องโรคในดิน เรื่องแมลงศัตรูพืช ขณะนี้ได้มีการพัฒนาเรื่องการอบดิน เพื่อไม่ให้ต้นคริสต์มาสเกิดโรคและเสียหาย จะได้อัตราการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตอนนี้มีการวิจัยอยู่ คาดว่าผลที่จะได้รับคือ ไม้ดอกจะไม่เสียหาย และมีผลผลิตเพิ่มขึ้น มีคุณภาพที่ดีขึ้น รวมถึงการมีดอกใบที่สวยพร้อมส่งออกไปทั่วประเทศ เป็นที่ภูมิใจของศูนย์ฯ ที่ วว. และ วช. เข้ามาสนับสนุน

ที่มา: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ