นอกจากนี้ยังได้ร่วมรณรงค์และผลักดันการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์รีไซเคิล แบบอัพไซคลิ่ง หรือ การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือของที่จะถูกทิ้งเป็นขยะมาแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าและยืดอายุการใช้งานของทรัพยากรให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ ลดปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมคุณภาพชีวิต และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
ดร. ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้เชี่ยวชาญนโยบายอาวุโส กลุ่มนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน สอวช. ซึ่งเป็นผู้แทนในการร่วมลงนามในครั้งนี้ กล่าวว่า ในส่วนของ สอวช. นั้น ได้จัดทำการศึกษาเชิงระบบ (System Research) ส่งเสริมนโยบายที่เกี่ยวข้องเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงพื้นที่บูรณาการผ่านนวัตกกรรมแพลตฟอร์มทางนโยบาย (CE Innovation Policy Forum and Circular Design Platform) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนของประเทศต่อไป
ที่มา: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)