คิวเอส ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ประจำปี 2566

พฤหัส ๐๙ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๑๗:๒๕
เผยรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก
คิวเอส ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ประจำปี 2566

คิวเอส ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส (QS Quacquarelli Symonds) สถาบันวิเคราะห์อุดมศึกษาระดับโลก เปิดเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก หรือ QS World University Rankings ครั้งที่ 19 ซึ่งประกอบด้วยสถาบัน 1,418 แห่งครอบคลุม 100 ประเทศ ผลลัพธ์คิดจากเอกสารทางวิชาการ 16.4 ล้านชิ้น และการอ้างอิงจากเอกสารดังกล่าว 117.8 ล้านครั้ง และผลลัพธ์นี้ยังสะท้อนถึงความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญโดยคณาจารย์ 151,000 ราย และนายจ้าง 99,000 ราย โดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) เฉลิมฉลองปีที่ 11 ในฐานะมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก ส่วนมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (อันดับ 4) ลดลง 2 อันดับ ขณะที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (อันดับ 2) เพิ่มขึ้น 1 อันดับ

ไฮไลท์

  • สหรัฐ: มหาวิทยาลัย 103 แห่งจาก 201 แห่งอันดับลดลง มี 29 แห่งอันดับดีขึ้น ขณะที่อีก 25 แห่งติดอันดับเป็นครั้งแรก
  • สหราชอาณาจักร: มหาวิทยาลัย 48 แห่งจาก 90 แห่งอันดับลดลง มี 10 แห่งอันดับดีขึ้น โดยมีการทำงานร่วมกันอย่างเข้มข้น: 55% ของงานวิจัยก่อให้เกิดความร่วมมือระดับโลก เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 20%
  • แคนาดา: มหาวิทยาลัย 20 แห่งจาก 31 แห่งอันดับลดลง มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ (McGill University) (อันดับที่ 31) ก้าวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยระดับชาติที่ติดอันดับสูงสุดแห่งใหม่
  • ออสเตรเลียยังคงมีมหาวิทยาลัย 5 แห่งที่ติด 50 อันดับแรก แต่ยังคงซบเซา โดยมีจำนวนมหาวิทยาลัยที่อันดับดีขึ้นพอ ๆ กับที่อันดับลดลง
  • จีน (แผ่นดินใหญ่) ขึ้นแท่นประเทศที่มีระบบอุดมศึกษาติดอันดับมากที่สุดเป็นอันดับ 3 (มหาวิทยาลัย 71 แห่ง) และยังมีมหาวิทยาลัย 2 แห่งที่ติด 15 อันดับแรกของโลกเป็นครั้งแรก ได้แก่ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (อันดับ 12) และมหาวิทยาลัยชิงหัว (อันดับ 14)
  • อินเดีย: มีจำนวนสถาบันที่อันดับดีขึ้นมากกว่าที่อันดับลดลง โดยสถาบันชั้นนำทั้ง 9 แห่งอันดับดีขึ้น
  • มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของเอเชียคือ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (อันดับ 11)
  • มาเลเซีย, เกาหลีใต้ และอินโดนีเซียอันดับดีขึ้น ขณะที่ญี่ปุ่นและไทยอันดับลดลง
  • อีทีเอช ซูริก (ETH Zurich) ยังคงเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของทวีปยุโรปเป็นเวลา 15 ปีติดต่อกัน
  • มหาวิทยาลัยที่ควบรวมกันของฝรั่งเศสติดอันดับในตาราง โดยมหาวิทยาลัยพีเอสแอล (Universite PSL) (อันดับ 26) ก้าวขึ้นสู่ 30 อันดับแรก
  • มหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส (Universidad de Buenos Aires) (อันดับ 67) กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในละตินอเมริกา ขณะที่มหาวิทยาลัยในละตินอเมริกาส่วนใหญ่อันดับลดลงมากกว่าดีขึ้น เนื่องจากได้คะแนนผลกระทบจากงานวิจัยต่ำ
  • มหาวิทยาลัยคิง อับดุลอาซิส (King Abdulaziz University) อันดับ 106 ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของภูมิภาคอาหรับ ไต่อันดับขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์
  • มหาวิทยาลัยชั้นนำของแอฟริกาคือมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ (University of Cape Town) (อันดับ 237) มีมหาวิทยาลัยในแอฟริกาเพียง 5 แห่งเท่านั้นที่อยู่ในกลุ่ม 500 อันดับแรก

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1503777/QS_World_University_Rankings_Logo.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ