การศึกษาสองรายการนี้ได้ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการใช้แอมโมเนีย[ ไฮโดรเจนสีฟ้า ซึ่งไม่ส่งผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจกได้มาจากการแยกก๊าซธรรมชาติหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกันออกเป็นไฮโดรเจน (H2) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไม่ว่าจะโดยการเปลี่ยนสภาพมีเทนด้วยไอน้ำ (SMR) หรือการเปลี่ยนสภาพด้วยไอน้ำกับออกซิเดชันบางส่วน (ATR) ซึ่งดักจับและจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้แทนที่จะปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อรวมเข้ากับไนโตรเจน (N2) จะทำให้เกิดแอมโมเนียสีฟ้า (NH3) ซึ่งไม่ส่งผลต่อปรากฏการณ์เรือนกระจกเช่นกัน และแอมโมเนียสีฟ้านี้จะนำไปใช้ในทั้งสองโครงการ] ณ โรงไฟฟ้าถ่านหินสุราลายา ประเทศอินโดนีเซียและในโรงไฟฟ้าปัจจุบันที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในประเทศ ซึ่งมาจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมากที่ผลิตในอินโดนีเซีย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าแอมโมเนียแบบบูรณาการ ซึ่งครอบคลุมการผลิต การขนส่ง การใช้เชื้อเพลิง รวมถึงการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์
ข้อเสนอสองรายการที่ได้รับเลือกจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ในการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานคุณภาพสูงในต่างประเทศ (โครงการสำรวจการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศโดยบริษัทญี่ปุ่น) ได้แก่ การสำรวจความเป็นไปได้ในการเผาไหม้เชื้อเพลิงผสมแอมโมเนีย ณ โรงไฟฟ้าสุราลายาในอินโดนีเซีย และการประเมินห่วงโซ่คุณค่าโดยรวม (โครงการสุราลายา) และ การสำรวจความเป็นไปได้ในการปรับปรุงโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ปัจจุบันที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในอินโดนีเซีย เพื่อให้ริเริ่มการผลิตพลังงานโดยใช้แอมโมเนียและการสร้างห่วงโซ่คุณค่า ณ โรงไฟฟ้าปัจจุบันที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (โรงไฟฟ้าปัจจุบันที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง) ข้อเสนอทั้งสองรายการนี้จะตรวจสอบศักยภาพในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการผลิตพลังงานและผลกระทบจากการผลิต ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั่วโลก และสาธารณูปโภคระดับสูง และนวัตกรรมของการศึกษาความเป็นไปได้เหล่านี้ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลญี่ปุ่น
โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการสุราลายาฯ ประกอบไปด้วย การคำนวณประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของกระบวนการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับการขนส่งแอมโมเนียที่ผลิตในอินโดนีเซียไปยังโรงไฟฟ้าและใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงาน โครงการนี้จะดำเนินงานร่วมกับมิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และบริษัท นิปปอน โคเอะ จำกัด โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการประมาณปี 2573
ในขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าปัจจุบันที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงฯ มีวัตถุประสงค์ในการคำนวณประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของการขนส่งแอมโมเนียและไฮโดรเจนที่ผลิตในอินโดนีเซียไปยังโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในบริเวณใกล้เคียงเพื่อใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงาน โครงการนี้จะดำเนินงานร่วมกับบริษัท โตเกียว อิเล็คทริค เพาเวอร์ เซอร์วิส จำกัด (TEPSCO) โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษนี้
ทั้งสองโครงการฯ จะมีการตรวจสอบประสิทธิภาพของการลดคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่า โดยบริษัทฯ จะมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ของการริเริ่มเทคโนโลยีการผลิตพลังงานด้วยแอมโมเนียเป็นหลัก นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้วางแผนที่จะดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ตามมาตรการสนับสนุนของสถาบัน เช่น การสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น และความพยายามในการกำจัดคาร์บอนและการกำหนดราคาคาร์บอนโดยอินโดนีเซีย จากการดำเนินโครงการเหล่านี้ มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ หวังว่าจะได้มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายการส่งออกโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานจากประเทศญี่ปุ่น
ประเทศอินโดนีเซียได้มีการประกาศนโยบายที่จะใช้แหล่งพลังงานที่มาจากพลังงานหมุนเวียน 23% ภายในปี 2568 และ 28% ภายในปี 2578 ทางมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ และ มิตซูบิชิ พาวเวอร์ จะใช้ความพยายามร่วมกันในฐานะกลุ่มบริษัท โดยร่วมมือกับกลุ่มบริษัทพลังงานที่รัฐบาลอินโดนีเซียเป็นเจ้าของและสถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) เพื่อสนับสนุนแนวทางที่จะช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมาย
ด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ที่อนุมัติการศึกษาความเป็นไปได้เหล่านี้ ในอนาคต มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ และ มิตซูบิชิ พาวเวอร์ จะมีส่วนช่วยในการกำจัดคาร์บอนในอินโดนีเซียมากขึ้น และสร้างแรงผลักดันในการนำนโยบายการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของบริษัทไปปรับใช้ทั่วโลกผ่านโครงการต่าง ๆ
ที่มา: เอเดลแมน (ประเทศไทย)