สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเท็กซัสแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเชิงซ้อน

ศุกร์ ๑๗ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๐๘:๐๕
เมื่อวันที่ 2-3 มิถุนายน 2565 สถาบันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเท็กซัสแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด (Texas Cardiac Arrhythmia Institute (TCAI) at St. David's Medical Center) ได้จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเชิงซ้อน (Complex Arrhythmias) ครั้งที่ 6 หรือการประชุมอีพีไลฟ์ ประจำปี 2565 (EPLive 2022) โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมกว่า 1,250 คน ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีผู้เข้าร่วมงานในสถานที่จริงกว่า 150 คน โดยผู้เข้าร่วมการประชุมมาจากหลายประเทศทั่วโลก เช่น สิงคโปร์ ไทย ตูนิเซีย เยอรมนี เกาหลี และกรีซ เป็นต้น

ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยนักสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ และแพทย์โรคหัวใจทั่วไปที่สนใจเรื่องการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเชิงซ้อน ซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอหรือผิดปกติ สำหรับสื่อการสอนหลักประกอบด้วยเคสสด ๆ ซึ่งถ่ายทอดจากศูนย์สรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจแห่งศูนย์การแพทย์เซนต์เดวิด (Electrophysiology Center at St. David's Medical Center) ที่เพิ่งเปิดใหม่ พร้อมการบรรยายของผู้เชี่ยวชาญ

เคสการรักษาสด ๆ ในระหว่างการประชุมอีพีไลฟ์ ประจำปี 2565 มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่บุกเบิกโดยคณะแพทย์จากสถาบัน TCAI เช่น การจี้ด้วยไฟฟ้าความต่างศักย์สูง (Irreversible Electroporation) ซึ่งเป็นการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการใช้สนามไฟฟ้าสร้างแผลเป็นขนาดเล็กในหัวใจ เพื่อสกัดการส่งสัญญาณไฟฟ้าที่ผิดปกติ โดยช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อหลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง หรือเส้นประสาทได้อย่างมาก

นายแพทย์อันเดรอา นาตาเล (Andrea Natale, M.D., F.H.R.S., F.A.C.C., F.E.S.C.) นักสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการแพทย์ประจำสถาบัน TCAI และผู้อำนวยการการประชุมอีพีไลฟ์ กล่าวว่า "ตั้งแต่เทคโนโลยีล้ำสมัยที่นำเสนอในการประชุม ไปจนถึงจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมมากเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้การประชุมอีพีไลฟ์ครั้งนี้มีความสำคัญมากที่สุดเท่าที่เคยจัดมา การประชุมอีพีไลฟ์มีบทบาทสำคัญในการขยายความครอบคลุมของตัวเลือกการรักษาทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเราหวังว่าจะสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชีวิตของผู้ป่วยทั่วโลก"

การประชุมอีพีไลฟ์ประกอบด้วย 4 หัวข้อ โดยแต่ละหัวข้อมีการนำเสนอเคสสด ๆ และเคสที่บันทึกไว้โดยสถาบัน TCAI และศูนย์การแพทย์ระดับโลกหลายแห่ง ได้แก่ ศูนย์โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะแห่งมูลนิธิคาร์ดิโออินแฟนทิล (Arrhythmia Center CardioInfantil Foundation) (โคลอมเบีย), ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดบรัสเซลส์ (Cardiovascular Center Brussels), คลีฟแลนด์ คลินิก (Cleveland Clinic), สถาบันหัวใจแคนซัสซิตี (Kansas City Heart Rhythm Institute), โรงพยาบาลหัวใจและทรวงอกลิเวอร์พูล (Liverpool Heart and Chest Hospital) (สหราชอาณาจักร), โรงพยาบาลแมสเจเนอรัล (Mass General Hospital), โรงพยาบาลเมธอดิสท์ (Methodist Hospital) (ฮิวสตัน, เท็กซัส), โรงพยาบาลมอนเตฟิออร์ (Montefiore Hospital) (นิวยอร์ก), ศูนย์โรคหัวใจมอนซิโน (Monzino Cardiology Center) (อิตาลี), โรงพยาบาลเมาท์ซีนาย (Mt. Sinai Hospital) (นิวยอร์ก), แปซิฟิก ฮาร์ท (Pacific Heart) (แคลิฟอร์เนีย), ศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยอาร์คันซอ (University of Arkansas Medical Center), มหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ (UCLA), คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago Medicine), วิทยาลัยแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยโคโลราโด (University of Colorado School of Medicine), โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ (University Hospital of Brussels), มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania), ศูนย์การแพทย์เซาท์เวสเทิร์นแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส (University of Texas Southwestern Medical Center), มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ (Vanderbilt University), ศูนย์การแพทย์เวสต์ไซด์รีเจียนัล (Westside Regional Medical Center) (ฟลอริดา) และมหาวิทยาลัยเยดิเทเป (Yeditepe University) (ตุรเคีย)  

นอกเหนือจากการสาธิตโดยนายแพทย์นาตาเลแล้ว การประชุมอีพีไลฟ์ ประจำปี 2565 ยังมีการนำเสนอของคณะแพทย์จากสถาบัน TCAI ได้แก่ นายแพทย์อามิน อัล-อาหมัด (Amin Al-Ahmad) ผู้อำนวยการร่วมของการประชุมอีพีไลฟ์, นายแพทย์เชน เบลลีย์ (Shane Bailey), นายแพทย์โมฮาเหม็ด บาสสิอูนี (Mohamed Bassiouny), นายแพทย์เดวิด เบิร์กฮาร์ดท์ (David Burkhardt), นายแพทย์เดวิด เบิร์กแลนด์ (David Burkland), นายแพทย์โรเบิร์ต แคนดี (Robert Canby), นายแพทย์พอล คอฟฟีน (Paul Coffeen), นายแพทย์โจเซฟ แกลลิงเฮาส์ (Joseph Gallinghouse), นายแพทย์ไบรอัน กรีท (Brian Greet), นายแพทย์เอริก เอ็ม. โฮนิก (Eric M. Hoenicke), นายแพทย์ร็อดนีย์ ฮอร์ตัน (Rodney Horton), นายแพทย์แพทริก ฮรานิตสกี (Patrick Hranitzky), นายแพทย์เดวิด เคสส์เลอร์ (David Kessler), นายแพทย์ฮาเวียร์ ซานเชซ (Javier Sanchez), แพทย์หญิงกมลา ทามิริสา (Kamala Tamirisa), นายแพทย์เซนทิล ทัมบิโดไร (Senthil Thambidorai), นายแพทย์เดวิด ชอปป์ (David Tschopp) และนายแพทย์เจสัน ซากรอดสกี (Jason Zagrodsky)

แพทย์ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้จะได้รับชั่วโมงเครดิตประเภท 1 สำหรับชิงรางวัลแพทย์ดีเด่น (Physician's Recognition Award (PRA) Category 1 Credit(TM)) จากสมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association หรือ AMA) สูงสุด 14 ชั่วโมง

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ EP-Live.com

สื่อมวลชนติดต่อ
แมตต์ กริลลี (Matt Grilli) หรือ แคท กริฟฟิท (Kat Griffith) จากบริษัทอีซีพีอาร์ (ECPR)
อีเมล: [email protected] หรือ [email protected]
โทร: 630.800.9533 หรือ 512.797.4002



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ