กทม.เน้นย้ำกลุ่มเสี่ยงเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดความรุนแรงของโรค

จันทร์ ๒๐ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๐๙:๒๗
นายสุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กทม. กล่าวกรณีแพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ เตือนให้คนไทยรีบไปรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หลังเริ่มมีผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการแพทย์ ได้รับการจัดสรรวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำหรับให้บริการประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) และโรคอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัม/ตารางเมตร) เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงจากโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ทุกสิทธิการรักษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ครอบคลุมการป้องกันเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ คือ (an A/ Victoria/2570/2019 (H1N1) pdm09-like virus, an A/Darwin/9/2021 (H3N2)-like virus; และ a B/ Austria/1359417/2021 (B/ictoria lineage)-like virus.) ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. - 31 ส.ค.65 หรือจนกว่าวัคซีนจะหมด สามารถไปรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ที่โรงพยาบาล (รพ.) สังกัด กทม. ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ทั้ง 69 แห่ง และ รพ.ของรัฐทั่วประเทศ หรือลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" รวมทั้งขอย้ำเตือนประชาชนระมัดระวังดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย และครบ 5 หมู่ สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ดื่มน้ำมาก ๆ ล้างมือให้สะอาด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้ป่วยควรพักผ่อนอยู่บ้าน ไม่ควรเข้าไปที่ชุมชน หากจำเป็นให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ พร้อมเชิญชวนมารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
กทม.เน้นย้ำกลุ่มเสี่ยงเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดความรุนแรงของโรค

อย่างไรก็ตาม กทม.ได้เตรียมความพร้อมระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขใน รพ.ในสังกัด เพื่อรองรับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ โดยการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อแยกประเภทของกลุ่มโรคตามอาการ และเตรียมความพร้อมระบบเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ด้วยการตรวจค้นพบโรคและวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว ตามแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรค เพื่อลดความรุนแรงของโรค ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

ที่มา: สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version