สอวช. ร่วมกับ SCG จัดทำแผนที่นำทางนวัตกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสร้างความร่วมมือกับ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission

จันทร์ ๒๐ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๐๙:๕๓
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ "Innovation Roadmap for Industrial Decarbonization" ครั้งที่ 1 เพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนที่นำทางนวัตกรรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 ณ Hall 1 ชั้น 10 อาคารอเนกประสงค์ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ โดย ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. เป็นผู้กล่าวเปิดงาน
สอวช. ร่วมกับ SCG จัดทำแผนที่นำทางนวัตกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสร้างความร่วมมือกับ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission

ดร. กิติพงค์ กล่าวถึงการเข้าร่วมการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ที่เมืองบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP27 ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งบทบาทของ สอวช. ในฐานะที่เป็น National Designated Entity (NDE) ด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ The Climate Technology Centre and Network (CTCN) ภายใต้อนุสัญญา UNFCCC รับผิดชอบในการเจรจาเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยได้มีการพูดคุยกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะการหารือถึงแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero Emission) มีการพูดคุยกันถึงประเด็นใหญ่ๆ ทั้งในด้านการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation) ที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยตัวอย่างที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในประเทศไทย เช่น การจัดทำกลไกในการซื้อขายพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy: RE) และคาร์บอนเครดิตของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีการเตรียมการจนใกล้จะสามารถซื้อขายได้จริง ทั้งการทำระบบ และแพลตฟอร์มรองรับ

อีกประเด็นสำคัญคือการพัฒนาบุคลากรในสายงานที่เกี่ยวข้อง ที่ในอนาคตจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงการแลกเปลี่ยนหรือการซื้อขายคาร์บอน ที่ต้องคำนึงถึงมาตรฐาน Carbon Verification การจะพัฒนาศักยภาพของไทยให้ทัดเทียมกับสากลได้ จึงต้องพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับงานในด้านนี้ ซึ่ง สอวช. และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ได้ร่วมกันวางแนวทางริเริ่มผลิตคนกลุ่มนี้ขึ้นมา โดยในช่วงแรกให้เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่จะทำเรื่องมาตรฐาน Carbon Verification ได้

ในปัจจุบันยังมีแนวโน้มที่เริ่มทำกันเยอะขึ้นคือ เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS) เป็นสิ่งที่เริ่มมีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งประเทศไทยต้องมองถึงการทำงานร่วมกับสถาบันที่มีเทคโนโลยีเหล่านี้ เข้าไปดูว่าในทางเทคโนโลยีเราควรดำเนินการอย่างไรจึงจะพอดีกับความต้องการ และเตรียมพร้อมการวางเส้นทางในการเดินหน้าต่อในอนาคต และอีกเทรนด์ที่มีการพูดถึงกันพอสมควรคือการมุ่งสู่เศรษฐกิจไฮโดรเจน หรือ Hydrogen Economy ที่หลายคนบอกว่าในอนาคตการกักเก็บพลังงานในรูปไฮโดรเจน ไม่ว่าเป็นแก๊ส หรือของเหลว อาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ

"การระดมความเห็นร่วมกัน เพื่อให้ได้แผนที่นำทางออกมานั้น จะช่วยให้เราก้าวไปข้างหน้าได้ และเห็นภาพการทำงานในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งกับภาครัฐ ในการนำไปทำนโยบายเพื่อสอดรับกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชนในการสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง และทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะมีส่วนช่วยกันในการไปเจรจา สร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติ การประชุมครั้งแรกจะเป็นจุดเริ่มต้นในการนำความเห็นและแนวทางไปขับเคลื่อน สร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกันต่อไป" ดร. กิติพงค์ กล่าว

การประชุมในครั้งนี้ ยังได้มีการแบ่งกลุ่มระดมความเห็นตามกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4 ด้าน ได้แก่ 1) Fuel Switching ตัวอย่างเช่น การปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงฟอสซิลของระบบผลิตพลังงานร่วม 2) Electrification ตัวอย่างเช่น การจัดการพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ 3) Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS) เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน และ 4) Hydrogen พลังงานทางเลือกไฮโดรเจน โดยวิเคราะห์ความต้องการนวัตกรรม และวิเคราะห์ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรม

ผลจากการระดมความเห็นจากบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และภาคการศึกษาและวิจัย ได้ให้ความเห็นที่หลากหลาย เช่น การมองถึงโอกาสในการปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงเดิมในอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพ ให้เป็นพลังงานชีวภาพ (Biogas) หรือพลังงานชีวมวล (Biomass) เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน และในระยะยาวมองถึงการเข้าสู่เศรษฐกิจไฮโดรเจนอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ยังมีการเสนอแนวทางซื้อนวัตกรรมที่มีขายอยู่แล้วมาต่อยอด หรือการใช้วัสดุทางเลือกอื่นๆ มาทดแทน ในส่วนการสนับสนุนด้านนโยบายในภาพรวมให้ความเห็นว่า ต้องการนโยบาย ระเบียบหรือกลไกที่ช่วยสนับสนุน ทั้งในด้านการเงิน การพัฒนากำลังคน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจให้ภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคเอกชนและนักลงทุน หันมาให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องนี้มากขึ้น เกิดการปรับเปลี่ยน และการนำไปปฏิบัติจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม

ที่มา: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

สอวช. ร่วมกับ SCG จัดทำแผนที่นำทางนวัตกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสร้างความร่วมมือกับ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๓๑ SCBX โชว์ความสำเร็จขับเคลื่อนองค์กรสู่ AI-first Organization คว้ารางวัล CIO100 ASEAN Award จากเวทีชั้นนำระดับสากล
๑๓:๓๕ ร้านอาหารไทย จิม ทอมป์สัน คว้ารางวัล Thai Dining Experience จาก Lifestyle Travel Awards 2024 ขึ้นแท่นสุดยอดร้านอาหารที่มอบประสบการณ์รับประทานอาหารอันน่าจดจำ
๑๓:๓๑ แรบบิท ประกันชีวิต Leve Up ความคุ้มส่งท้ายปีให้ ผู้ใช้แรงเงิน จัดการเงินก่อนที่เงินจัดการเรา กับ 4 ประกันลดหย่อนภาษีรับโค้งสุดท้าย ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่
๑๓:๐๕ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการอาหารและเครื่องดื่ม ในเครือ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ประสบความสำเร็จคว้ารางวัลเหรียญทอง จากงาน TAIPEI INTERNATIONAL CULINARY CHALLENGE จากสาธารณรัฐจีน
๑๓:๕๗ 4 องค์กรรัฐและเอกชน ร่วมลงนาม MOU ผนึกกำลังยกระดับความรู้ทางการเงินให้ผู้ส่งต่อความรู้ในระบบการศึกษา
๑๓:๔๕ BDMS Wellness Clinic และ BDMS Wellness Resort คว้ารางวัลเกียรติยศ สาขาองค์กรนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล จาก Friendly Design Award
๑๓:๕๙ คาร์เทียร์เผยคอลเลคชั่นกำไลข้อมือ LOVE เครื่องประดับไอคอนิค เพิ่มความหลากหลายให้ดีไซน์คลาสสิกเหนือกาลเวลา
๑๓:๕๕ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัล Sustainability Rising Star จากเวที Asia Corporate Excellence Sustainability Awards
๑๓:๐๐ หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และนวัตกรรม มจพ. (หลักสูตรใหม่) เปิดรับสมัครนักศึกษา ป.โท ภาคการศึกษาที่
๑๓:๕๔ รับเทศกาลความสุข! คาลพิส-เบบี้มายด์ แท็กทีม น้องเนย จัดหนัก Limited Giftset และของสะสมสุดน่ารัก เอาใจมัมหมี-พ่อหมี