นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีดิจิทัล อาทิ 4G 5G คลาวด์ และ AI ต่างได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านนวัตกรรมและประโยชน์ได้รับจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัล อย่างไรก็ตาม เมื่อเราเปิดรับโลกใบกว้างซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เราจะต้องตระหนักว่าบนเส้นทางนี้ไม่ได้มีความสมดุลเสมอไป จากรายงานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกยังเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างจำกัด และตามรายงานจากบุคคลที่สามระบุว่า ในขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การพัฒนา 5G และเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างน่าประทับใจภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างแรงงานดิจิทัลมากถึง 400,000 ตำแหน่ง"
"จวบจนวันนี้ หัวเว่ย ได้มีส่วนสนับสนุนประเทศไทยในการบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัลกว่า 50,000 คน ภายใต้โครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Huawei ASEAN Academy ประเทศไทย และโครงการ Seeds For The Future และเพื่อไม่ให้มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังในโลกดิจิทัล โครงการ "รถดิจิทัล" จึงจัดขึ้นเพื่อมอบความรู้ภาคปฏิบัติและพื้นฐานแก่นักเรียนกว่า 1,500 คนในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย โดยโครงการดังกล่าวยังเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อสังคมของปีนี้ และมีส่วนสำคัญในการเข้าถึงคนรุ่นใหม่ตามแผนการดำเนินงานประจำปีของเราอีกด้วย" นายไซมอน หลิน กล่าวเสริม
นางสาวสุกัญญา เหลือชั่ง อาจารย์รักษาการ โรงเรียนวัดใหม่ต้านทาน ได้กล่าวขอบขอบคุณบริษัทหัวเว่ยว่า "นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนทุกคนตื่นเต้นกับกิจกรรมครั้งนี้มาก เพราะโรงเรียนเราเป็นเพียงโรงเรียนขนาดเล็กจิ๋ว มีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 เพียง 38 คน ทั้งยังอยู่ในพื้นที่ห่างไกล จึงเป็นโอกาสยากที่จะมีการจัดกิจกรรมใหญ่ๆ ที่โรงเรียน การที่หัวเว่ยมาจัดกิจกรรมรถดิจิทัลที่โรงเรียนวัดใหม่ต้านทานในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่ดีมากๆ สำหรับนักเรียนของเรา รวมถึงครูอาจารย์ทุกท่าน เด็กๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในฐานะตัวแทนของครูและนักเรียน ขอขอบพระคุณบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นอย่างยิ่งสำหรับกิจกรรมรถดิจิทัล รวมถึงสนับสนุนด้านอุปกรณ์การเรียนและกีฬาให้แก่นักเรียนของเราอีกด้วย"
เด็กหญิงอริณลดา พวงทอง และเด็กชายปภังกร กิจชนม์ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดใหม่ต้านทาน แสดงความรู้สึกจากการได้เรียนรู้เทคโนโลยีบนรถดิจิทัลว่า "ดีใจมากที่มีรถดิจิทัลของหัวเว่ยมาที่โรงเรียน ทำให้พวกเราได้ทั้งความรู้ ความสนุก และตื่นเต้นที่ได้เรียนจากทั้งแท็บเล็ตและจอทีวีใหญ่ๆ ที่สำคัญ พี่ที่มาสอนบอกว่ารถดิจิทัลนี้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงบนหลังคา ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า คงเป็นเรื่องดีมากๆ ถ้ารถคันนี้จอดที่โรงเรียนนานๆ เลย"
ทั้งนี้ รถดิจิทัลดังกล่าวได้นำเทคโนโลยีของ Huawei Fusion Solar Residential Smart PV มาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อน โดยเป็นเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ที่นำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือน ซึ่งทางหัวเว่ยได้เปิดตัวไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา โดยนอกจากโครงการนี้จะช่วยส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้แก่เยาวชนในประเทศไทยแล้ว ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานสะอาดจากพลังงานแสงอาทิตย์
โครงการรถดิจิทัลนี้เป็นการให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อร่วมยกระดับการศึกษาในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของ หัวเว่ย ประเทศไทย ในการขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของประเทศไทย ควบคู่ไปกับการสนับสนุนเรื่องการใช้พลังงานดิจิทัล อีกทั้งช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านทักษะดิจิทัลในประเทศไทย ตอบรับกับการเติบโตด้านเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล และมุ่งพัฒนาประเทศไทยให้เป็นดิจิทัลฮับแห่งภูมิภาคอาเซียนได้อย่างยั่งยืน
ที่มา: คาร์ลบายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์