สอวช. เผยอันดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ปี 2022 พบปัจจัยด้านการศึกษาขยับขึ้น 3 อันดับ ด้านค่าใช้จ่าย R&D ทั้งประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ

พฤหัส ๒๓ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๑๑:๓๕
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เผยผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดย IMD World Competitiveness Center ประจำปี 2022
สอวช. เผยอันดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ปี 2022 พบปัจจัยด้านการศึกษาขยับขึ้น 3 อันดับ ด้านค่าใช้จ่าย RD ทั้งประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ

ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. เปิดเผยว่า การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในปี 2022 พบว่า ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยในปี 2022 อยู่ในอันดับที่ 38 คงที่เท่ากับปี 2021 แต่ในขณะเดียวกัน มีหลายตัวชี้วัดที่มีการพัฒนาดีขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของทั้งประเทศ ที่เพิ่มขึ้นจาก 6,219 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2021 เป็น 6,647 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2022 ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของทั้งประเทศต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.14 ในปี 2021 เป็นร้อยละ 1.33 ในปี 2022 จำนวนนักวิจัยที่ทำงานเต็มเวลา (Full-time equivalent: FTE) ต่อประชากร 1,000 คน จากเดิม 1.9 FTE เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 FTE จำนวนผลงานตีพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นเกือบ 1,000 รายการ และเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจำนวนสิทธิบัตรที่ให้กับคนในประเทศที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 367 รายการ ในปี 2021 เป็น 473 รายการในปี 2022

สำหรับปัจจัยด้านการศึกษา ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา จากอันดับที่ 56 ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 53 ขยับขึ้น 3 อันดับ มีหลายตัวชี้วัดที่พัฒนาดีขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของทั้งประเทศต่อจีดีพี จากเดิมร้อยละ 3.00 ในปี 2021 จัดอยู่ในอันดับที่ 59 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.70 ในปี 2022 ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 49 เพิ่มขึ้น 10 อันดับ ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของทั้งประเทศต่อจำนวนนักเรียน ในทุกระดับชั้น เพิ่มขึ้นจาก 986 เหรียญสหรัฐต่อคน ในปี 2021 เป็น 1,294 เหรียญสหรัฐต่อคนในปี 2022 นอกจากนี้ อัตราส่วนประชากรที่สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษายังมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นด้วย จากเดิมร้อยละ 32 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 34

อย่างไรก็ตาม อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในปี 2022 ในภาพรวม ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 33 ขยับลงจากปี 2021 มา 5 อันดับ จากผลการจัดอันดับรวม 63 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศ/เขตเศรษฐกิจ 5 อันดับแรก ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุด ได้แก่ เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ สวีเดน ฮ่องกง ตามลำดับ และเมื่อจัดอันดับเทียบกับประเทศในอาเซียน ภาพรวมประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย

ที่มา: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี
๑๔:๓๙ MOSHI ผู้นำธุรกิจค้าปลีกไลฟ์สไตล์รายใหญ่ของไทย ทุบสถิติไตรมาส 4 โชว์ SSSG พุ่งทะยานกว่า 20% รับความสำเร็จกลยุทธ์ Collaboration Project ตลอดปี 2567 มั่นใจกวาดรายได้ทะลุเป้าโต
๑๔:๒๑ Zentry เตรียมเปิดตัว Ragnarok Landverse บน Ronin เกม MMORPG ระดับตำนานที่มีผู้เล่นกว่า 100 ล้านคน เตรียมเปิดตัวในไตรมาสแรกของปี
๑๔:๔๕ การประชุมข้าวยั่งยืนระดับโลกเรียกร้องสู่การเปลี่ยนแปลงวงการข้าว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๑๔:๓๔ LPN คาดอสังหาฯ EEC ส่งสัญญาณบวกรับดีมานด์นักลงทุนจีนขยายฐานการผลิตชลบุรี-ระยอง ดัน EARN Condo by LPN รับอานิสงส์ปล่อยเช่า Yield ดีสูงสุด
๑๔:๕๐ โอเพ่นสเปซ กองทุนชั้นนำระดับภูมิภาค พร้อมผลักดันสตาร์ทอัพไทย เดินหน้าเพิ่มการลงทุนร่วมเสริมแกร่งอนาคตเทคโนโลยีไทย
๑๔:๓๘ เอเชี่ยน เคมิคัล ฝึกซ้อมแผนภาวะฉุกเฉินสารคลอรีนรั่วไหล ประจำปี 2567
๑๓:๒๗ กสิกรไทยสำรองเงินสด 35,900 ล้านบาท รับเทศกาลปีใหม่