เดือนพฤษภาคม 2565 ผลิตรถยนต์ 129,231 คัน ลดลงร้อยละ 7.80 ขาย 64,735 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.71 ส่งออก 76,937 คัน ลดลงร้อยละ 3.20

พฤหัส ๒๓ มิถุนายน ๒๐๒๒ ๑๕:๕๔
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนพฤษภาคม 2565 ดังต่อไปนี้
เดือนพฤษภาคม 2565 ผลิตรถยนต์ 129,231 คัน ลดลงร้อยละ 7.80 ขาย 64,735 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.71 ส่งออก 76,937 คัน ลดลงร้อยละ 3.20

การผลิต

จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนพฤษภาคม 2565 มีทั้งสิ้น 129,231 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 7.80 ลดลงจากการผลิตเพื่อส่งออกรถยนต์นั่งและรถกระบะลดลงร้อยละ 23.05 และ 17.84 ตามลำพัง รวมทั้งผลิตรถยนต์นั่งขายในประเทศลดลงร้อยละ 0.31 จากการขาดแคลนชิ้นส่วนและเซมิคอนดักเตอร์ในบางรุ่น แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2565 ร้อยละ 9.72

จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 727,095 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 2.36

รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2565 ผลิตได้ 40,147 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 9.58

ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 มีจำนวน 213,127 คัน เท่ากับร้อยละ 29.31 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 13.81

รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนพฤษภาคม 2565 ผลิตได้ 0 คัน ซึ่งเดือนพฤษภาคม 2564 ยังไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 ผลิตได้ 0 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 100

รถยนต์บรรทุก เดือนพฤษภาคม 2565 ผลิตได้ทั้งหมด 89,084 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 6.98 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 ผลิตได้ทั้งสิ้น 513,968 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 10.99

รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2565 ผลิตได้ทั้งหมด 85,736 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 7.62 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 ผลิตได้ทั้งสิ้น 497,913 คัน เท่ากับร้อยละ 68.48 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 10.57 โดยแบ่งเป็น

  • รถกระบะบรรทุก 132,104 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 22.70
  • รถกระบะดับเบิลแค็บ 305,358 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 6.48
  • รถกระบะ PPV 60,451 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 8.23

รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน - มากกว่า 10 ตัน เดือนพฤษภาคม 2565 ผลิตได้ 3,348 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 13.22 รวมเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 ผลิตได้ 16,055 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 25.85

ผลิตเพื่อส่งออก

เดือนพฤษภาคม 2565 ผลิตได้ 65,839 คัน เท่ากับร้อยละ 50.95 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 19 ส่วนเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 369,660 คัน เท่ากับร้อยละ 50.84 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2564 ระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 10.20

รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2565 ผลิตเพื่อการส่งออก 13,925 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ -23.05 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 72,527 คัน เท่ากับร้อยละ 34.03 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 40.15

รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2565 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 51,914 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 17.84 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 297,133 คัน เท่ากับร้อยละ 59.68 ของยอดการผลิตรถกระบะ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 2.29 โดยแบ่งเป็น

  • รถกระบะบรรทุก 36,024 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 1.13
  • รถกระบะดับเบิลแค็บ 227,870 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 0.59
  • รถกระบะ PPV 33,239 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 17.35

ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ

เดือนพฤษภาคม 2565 ผลิตได้ 63,392 คัน เท่ากับร้อยละ 49.05 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 7.66 และเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 ผลิตได้ 357,435 คัน เท่ากับร้อยละ 49.16 ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 19.67

รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2565 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 26,222 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 0.31 ยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 ผลิตได้ 140,600 คัน เท่ากับร้อยละ 65.97 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.52

รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2565 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 33,822 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 14.17 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 ผลิตได้ทั้งสิ้น 200,780 คัน เท่ากับร้อยละ 40.32 ของยอดการผลิตรถกระบะ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 25.62 ซึ่งแบ่งเป็น

  • รถกระบะบรรทุก 96,080 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 33.36
  • รถกระบะดับเบิลแค็บ 77,488 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 28.59
  • รถกระบะ PPV 27,212 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 1.15

รถจักรยานยนต์

เดือนพฤษภาคม 2565 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 215,220 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 2.82 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 157,940 คัน ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 14.05 ลดลงจากการขาดแคลนชิ้นส่วนและเซมิคอนดักเตอร์ แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 57,280 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 124.19

ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,034,593 คัน ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 0.95 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 777,915 คัน ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ -6.45 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 256,678 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 20.56

ยอดขาย

ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนพฤษภาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 64,735 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2565 ร้อยละ 2.06 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 15.71 เพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายการ ล็อกดาวน์มากขึ้นของรัฐบาล ทำให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการผ่อนคลายความเข้มงวดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน การประกันรายได้เกษตรกร การส่งออกยังคงเติบโตดี ทำให้ประชาชนหลายภาคส่วนมีรายได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่สูงขึ้นมากจนอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมากรวมทั้งหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นสูงจะทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลง

ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 162,352 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 14.13 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2565 ร้อยละ 33.24

ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 รถยนต์มียอดขาย 359,351 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 16.59 ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 732,344 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 2.98

การส่งออก

รถยนต์สำเร็จรูป

เดือนพฤษภาคม 2565 ส่งออกได้ 76,937 คัน โดยลดลงจากเดือนที่แล้ว ร้อยละ 48.78 และลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 3.20 ลดลงจากการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อส่งออกลดลงร้อยละ 23.05 จึงส่งออกไปตลาดรถยนต์นั่งลดลง เช่น ตลาดเอเชียและตลาดยุโรป มูลค่าการส่งออก 46,226.52 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 4.52 โดยเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า ดังนี้

  • เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,836.84 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 23.02
  • ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆมีมูลค่าการส่งออก 16,947.15 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 4.33%
  • อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,362.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 13.32

รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2565 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 68,373.05 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม2564 ร้อยละ 4.91

เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 375,757 คัน โดยลดลงจากปี 2564 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 3.77 แต่มีมูลค่าการส่งออก 223,872.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 1.10

  • เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 18,158.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 15.42
  • ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 89,353.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 3.82
  • อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 10,368.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 7.04

รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 341,753.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 2.66

รถจักรยานยนต์

เดือนพฤษภาคม 2565 มีจำนวนส่งออก 85,809 คัน (รวม CBU + CKD) โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 36.11 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2565 ร้อยละ 22.10 โดยมีมูลค่า 5,480.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 3.50

  • ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 201.92 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 0.97
  • อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 201.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 95.40

รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนพฤษภาคม 2565 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ 5,883.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 5.03

เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 422,185 คัน (รวม CBU + CKD) เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 7.69 โดยมีมูลค่า 28,845.83 ล้านบาท ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 16.50

  • ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 824.37 ล้านบาท ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 20.37
  • อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,012.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 21.76

รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 30,682.98 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 15.74

เดือนพฤษภาคม 2565 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 74,256.32 ล้านบาท ลดลงจากปี 2564 ร้อยละ 4.19

เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 372,436.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 0.84

ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนพฤษภาคม 2565

เดือนพฤษภาคม 2565 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 1,567 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 189.65 โดยแบ่งเป็น

- รถยนต์นั่งและรถกระบะมีทั้งสิ้น 519 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 234.84

  • รถยนต์นั่งจำนวน 509 คัน
  • รถกระบะ รถแวนจำนวน 2 คัน
  • รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน 7 คัน
  • รถยนต์บริการธุรกิจ 1 คัน

- รถยนต์สามล้อรับจ้างมีทั้งสิ้น 64 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 6300

  • รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลจำนวน 11 คัน
  • รถยนต์รับจ้างสามล้อจำนวน 53 คัน

- รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 953 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 147.53

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 953 คัน

- รถโดยสารมีทั้งสิ้น 30 คัน ซึ่งเดือนพฤษภาคม 2564 ยังไม่มีการจดทะเบียน

- รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 1 คัน ซึ่งเดือนพฤษภาคม 2564 ยังไม่มีการจดทะเบียน

เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 5,702 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 156.15 โดยแบ่งเป็น

- รถยนต์นั่งและรถกระบะมีทั้งสิ้น 2,164 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 191.25

  • รถยนต์นั่งจำนวน 2,134 คัน
  • รถกระบะและรถแวนจำนวน 4 คัน
  • รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน 22 คัน
  • รถยนต์บริการธุรกิจ 4 คัน

- รถยนต์สามล้อรับจ้างมีทั้งสิ้น 103 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 232.26

  • รถยนต์รับจ้างสามล้อจำนวน 90 คัน
  • รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลจำนวน 13 คัน

- รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 3,381 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 133.01

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 3,379 คัน
  • รถจักรยานยนต์สาธารณะจำนวน 2 คัน

- รถโดยสารมีทั้งสิ้น 49 คัน ซึ่งเดือนมกราคม -พฤษภาคม 2564 ยังไม่มีการจดทะเบียน

- รถโดยสารมีทั้งสิ้น 5 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม -พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 400

ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนพฤษภาคม 2565

เดือนพฤษภาคม 2565 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 5,362 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 67.77 โดยแบ่งเป็น

- รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 5,334 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 75.40

  • รถยนต์นั่งจำนวน 5,328 คัน
  • รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน 5 คัน
  • รถยนต์บริการทัศนาจร 1 คัน

- รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 28 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 81.94

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 28 คัน

เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 27,093 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 46.80 โดยแบ่งเป็น

- รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 26,946 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม2564 ร้อยละ 54.92

  • รถยนต์นั่งจำนวน 26,934 คัน
  • รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน 8 คัน
  • รถยนต์บริการธุรกิจ 1 คัน
  • รถยนต์บริการทัศนาจร 3 คัน

- รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 147 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 86.16

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 147 คัน

ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนพฤษภาคม 2565

เดือนพฤษภาคม 2565 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 1,056 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 50 โดยแบ่งเป็น

- รถยนต์นั่งมีทั้งสิ้น 837 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 ร้อยละ 50

  • รถยนต์นั่งจำนวน 1,056 คัน

เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 4,862 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 55.09 โดยแบ่งเป็น

- รถยนต์นั่งมีทั้งสิ้น 3,806 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2564 ร้อยละ 55.09

  • รถยนต์นั่งจำนวน 4,862 คัน

ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565

ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 17,026 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 118.79 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้

- รถยนต์นั่งและต่างๆ มีทั้งสิ้น 6,298 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 115.39

  • รถยนต์นั่งมีจำนวน 6,127 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 118.59
  • รถกระบะและรถแวนมีจำนวน 41 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 95.24
  • รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 5 คัน ซึ่งวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ยังไม่มีการจดทะเบียน
  • รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 125 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 25

- รถยนต์ 3 ล้อมีจำนวนทั้งสิ้น 365 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 45.42

  • รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลมีจำนวน 45 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 73.08
  • รถยนต์รับจ้างสามล้อมีจำนวน 320 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 42.22

- รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 10,071 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 124.60

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวน 9,999 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 123.99
  • - รถจักรยานยนต์สาธารณะมีจำนวน 72 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 260

- อื่นๆ

  • รถยนต์โดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 285 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 133.61
  • รถยนต์โดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 7 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 600

ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565

ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 223,378 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 24.43 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้

- รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 214,640 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 25.32

  • รถยนต์นั่งมีจำนวน 213,989 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 25.46
  • รถกระบะและรถแวนมีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2564
  • รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 549 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ -7.73
  • รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 24 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 13.79
  • รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 75 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 8.54
  • รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 2 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 33.33

- รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 8,736 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 6.06

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวน 8,736 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 6.06

- อื่นๆ

  • รถยนต์โดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2564
  • รถบรรทุกมีจำนวนทั้งสิ้น 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2564

ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565

ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 35,993 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 32.17 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้

- รถยนต์นั่งมีทั้งสิ้น 35,993 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 32.17

  • รถยนต์นั่งมีจำนวน 35,931 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 32.27
  • รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 40 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 2.44
  • รถยนต์บริการทัศนาจรมีจำนวน 21 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2564 ร้อยละ 19.23
  • รถยนต์บริการให้เช่ามีจำนวน 1 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2564

ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้