นายกวิน พันธ์ประสิทธิเวช กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง Finn School of Business and Tourism กล่าวถึงการสร้างหลักสูตร "5 Game Changing" ว่า ทุกวันนี้พื้นฐานความรู้ทางเทคโนโลยีนับเป็นโครงสร้างสำคัญในการยกระดับผู้คนไปสู่โอกาส อาชีพ รวมถึงอนาคตที่ดีกว่าเดิม ฉะนั้นแล้วเพื่อให้ผู้คนได้ก้าวไปในจุดที่สามารถนำเทคโนโลยีมาต่อยอดในการประกอบอาชีพหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ เราจึงต้องปูพื้นความรู้ที่ถูกต้องและแข็งแรงเสียก่อน หลักสูตร 5 Game Changing จึงได้ถูกจัดทำขึ้นมาเป็นเสมือนวิชาพื้นฐานทางเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนได้ผลักดันตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและโลกยุคใหม่
ด้าน ดร.ปริญญ์ ศุกรีเขตร ผู้อำนวยการวิชาการและผู้ก่อตั้ง Finn School of Business and Tourism ให้ข้อมูลว่า 5 Game Changing คือ เป็นหลักสูตรไทยที่มีมาตรฐานระดับโลก ออกแบบมาสำหรับคนทุกกลุ่มทุกเพศวัย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ อย่าง นักเรียนมัธยมปลาย นักศึกษา หรือคนทำงานที่ต้องการ reskill และ upskill ให้ทันกับ Digital Transformation ที่เทคโนโลยีต่าง ๆ โดยสอนตั้งแต่ประวัติความเป็นมา การทำงานที่เชื่อมโยงกันของแต่ละเทคโนโลยี จนถึงวิธีการคิดต่อยอดเพื่อนำเทคโนโลยีไปใช้อย่างสร้างสรรค์ หรือการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้กับ Soft Skills ในการเรียนและการทำงาน หรือกระทั่งประเด็นทางกฎหมายและวิธีใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง โดยไม่เกิดการทำผิดหรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
นายกวิน เสริมต่อว่า การร่วมจัดทำหลักสูตรนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของ Finn ในฐานะสถาบันการศึกษา โดยเราต้องการมุ่งพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีของคนทั้งประเทศ ซึ่งจะกลายเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แน่นอนว่าการจะสร้างหลักสูตรที่ตอบโจทย์เป้าหมายนี้ได้ จำเป็นต้องร่วมกับ Third Party ด้านการศึกษาที่มีศักยภาพระดับโลก สถาบัน Finn จึงได้ใช้ความสัมพันธ์ที่มีร่วมกับมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษและเข้าไปนำเสนอเนื้อหาหลักสูตรกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จนได้รับการตอบรับที่ดีและกลายมาเป็น 5 Game Changing อีกทั้งเรายังได้รับเกียรติแสดงความยินดีจากตัวแทนสถานเอกอัครราชทูตฯ ถึงความสำเร็จนี้อีกด้วย
หลักสูตร 5 Game Changing ถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่ สถาบันโมลเลอร์แห่งวิทยาลัยเชอร์ชิล (M?ller Institute at Churchill College) หน่วยงานภายใต้มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) จะเข้ามาให้ความร่วมมือในการทำหลักสูตรออนไลน์ด้านเทคโนโลยียุคใหม่ พร้อมร่วมทำการสอนในหลักสูตร Case Study เพื่อเป็นการกระจายความรู้ระดับ World Class ที่เข้าถึงง่ายให้กับคนไทย อีกทั้ง สถาบันโมลเลอร์ ยังมีพันธกิจที่มีความโดดเด่นคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการ นวัตกรรม และความเป็นผู้นำ ซึ่งมีทำหน้าที่สร้างหลักสูตรให้ความรู้และพัฒนาคนสู่การเป็นผู้นำ ทั้งในภาคเอกชน ภาครัฐ นักวิชาการต่าง ๆ ทั่วยุโรป ตรงตามแนวคิดของ Bitkub World Tech ที่ต้องการออกแบบหลักสูตรด้านการสร้างและพัฒนาคน
นอกจากนี้หลักสูตรยังมีความโดดเด่นในเรื่องของผู้สอน โดยจะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีที่ได้รับการการันตีจากสถาบันระดับโลก นำโดย ท็อป - จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา CEO of Bitkub Capital Group Holdings, ดร.ปริญญ์ ศุกรีเขตร ผู้เชี่ยวชาญด้าน Blockchain, Cryptocurrency, NFT และ Metaverse จาก Blockchain Council ประเทศสหรัฐอเมริกาคนแรกของประเทศไทย และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Transformation จาก Imperial College ประเทศอังกฤษ, ปลื้ม - ปิติภูมิ รักษ์ชูชีพ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Blockchain จากสถาบัน Berkeley X (University of California, Berkeley) ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงทีมผู้เชี่ยวชาญอีกมากมาย
"ความร่วมมือกันของ 4 องค์กร ยังมีจุดประสงค์ที่อยากให้คนไทยได้เข้าถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีในระดับสากล ซึ่งโดยปกติแล้วหลักสูตรที่มีมาตรฐานระดับโลกในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ มักเสียค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 2-3 แสนบาท หรือแม้กับการเรียนออนไลน์ก็มีราคาเริ่มที่หลักหมื่นบาท แต่ในหลักสูตร 5 Game Changing จะมีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ 5,990 บาทเท่านั้น อีกทั้งผู้เรียนแต่ละคนจะได้รับบัตรประจำตัวเป็น NFT ที่มีใบเดียวในโลก รวมถึงได้รับใบประกาศนียบัตร (Certificate) จาก Bitkub World Tech และสถาบันโมลเลอร์แห่งวิทยาลัยเชอร์ชิล มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ นับว่าเป็นหลักสูตรที่คุ้มค่ามากเมื่อเทียบกับความรู้และสิ่งต่าง ๆ ที่ได้รับ" นายกวิน กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลได้ที่ bitkubworldtech.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @bitkubworldtech
*หมายเหตุ 5,990 บาท เป็นค่าใช้จ่ายหลักสูตรเริ่มต้นสำหรับบุคคลทั่วไป หากองค์กรหรือหน่วยงานใดต้องการให้จัดทำหลักสูตรพิเศษ สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่บริษัท บิทคับ เวิลด์เทค จำกัด ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 02-1134555
ที่มา: โฟร์ฮันเดรท